ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหรียญจักรพรรดิมาลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
''"เหรียญจักรพรรดิมาลานี้มีสัณฐานเปนรูปจักร ด้านน่ามีพระบรมราชสาทิศฉายาลักษณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิไชยมงกุฎ ยอดมีรัศมีแลพวงมาไลใบไชยพฤกษ์วงโดยรอบ ที่ขอบจักรมีอักษร แสดงพระบรมราชนามาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์ บรมราชาธิราช สยามินทร์" ด้านหลังที่ขอบจักร มีอักษรแสดงคุณของผู้ที่จะได้รับพระราชทาน และแสดงศกที่ได้ทรงสร้างเหรียญนี้ว่า "สำหรับปรนนิบัติราชการดี รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒" ที่กลางเหรียญมีอักษรว่า "พระราชทานแก่" แลจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกนามผู้ที่จะได้รับพระราชทานลงในกลางเหรียญที่ใต้พวงมาไล อันมีช่อดอกไม้รับรองอยู่นั้น เหรียญนี้จะได้ห้อยแพรแถบสีเหลืองริมชมภู ห้อยกับเข็มอันมีอักษรจารึกว่า "ราชสุปรีย์" สำหรับติดที่รังดุมเสื้อ ณ อกข้างซ้าย"''
 
{|align="<center">
<gallery widths="320px" heights="200" >
|[[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (1893-1911), Coin Museum, Bangkok (1).jpg|thumb|center|320px|เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 114 สำหรับพระราชทานแก่บุรุษและสำหรับพระราชทานแก่สตรี]]
|[[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (1893-1911), Coin Museum, Bangkok (21).jpg|thumb|center|200px|เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 114 ด้านหน้าสำหรับพระราชทานแก่บุรุษและด้านหลัง]]สตรี
|[[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (1893-1911), Coin Museum, Bangkok (12).jpg|thumb|center|320px|เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 114 สำหรับพระราชทานแก่บุรุษด้านหน้าและสำหรับพระราชทานแก่สตรี]]ด้านหลัง
|}
</gallery>
</center>
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขรูปแบบเหรียญจักรพรรดิมาลาให้มีลักษณะใกล้เคียงกับเหรียญจักรมาลาซึ่งพระราชทานสำหรับข้าราชการฝ่ายทหาร ปรากฏความตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา รัตนโกสินทรศกร.ศ. 130 ว่า
 
''"เหรียญจักรพรรดิมาลาเทียบเหรียญจักรมาลาของทหาร เปนเหรียญเงินมีสัณฐานเปนรูปจักร์ ด้านหน้ามีรูปพระครุฑพาหอยู่ในวงจักร์ ด้านหลังมีรูปช้างอยู่ในวงจักร์ มีอักษรจาฤกรอบวงว่า "บำเหน็จแห่งความยั่งยืนแลมั่นคงในราชการ" ข้างบนเหรียญมีเข็มวชิราวุธห้อยกับแพรแถบสีแดง ขอบสีเหลืองกับสีเขียว มีเข็มเงินเบื้องบนแพรแถบจาฤกอักษร ราชสุปรีย สำหรับติดที่อกเสื้อข้างซ้าย"''
 
ในปี พ.ศ. 2484 ได้มีการปรับปรุงลักษณะของเหรียญจักรพรรดิมาลาอีกครั้ง โดยยังคงลักษณะของเหรียญเดิมที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา รัตนโกสินทรศกร.ศ. 130 เกือบทั้งหมด แต่ไม่มีเข็มคำว่า "ราชสุปรีย" ประดับที่ตอนบนของแพรแถบเหรียญ ตามความบรรยายในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 ดังนี้
 
''"เหรียญจักรพรรดิมาลามีลักษณะเป็นเหรียญเงินกลมรูปจักร ด้านหน้ามีรูปครุฑพ่าห์อยู่ในวงจักร ด้านหลังมีรูปช้างอยู่ในวงจักร จารึกอักษรโดยรอบว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืนและมั่นคงในราชการ” เบื้องบนเหรียญมีเครื่องหมายพระวชิราวุธห้อยกับแพรแถบกว้าง 3 เซนติเมตร สีแดงขอบสีเหลืองกับสีเขียว ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับพระราชทานสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย"''
 
{|align="<center">
<gallery widths="160px" heights="200" >
|[[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (obverse).jpg|thumb|center|200px|เหรียญจักรพรรดิมาลา ด้านหน้า]]
|[[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal in 1911 (reverseno ribbon), Coin Museum, Bangkok.jpg|thumb|center|200px|เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา ร.ศ. 130 ด้านหน้าและด้านหลัง]] (ในที่นี้ไม่แสดงแพรแถบ)
|[[ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (obverse).jpg|thumb|center|200px|เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 ด้านหน้า]]
|}
ไฟล์:Chakrabarti Mala Medal (reverse).jpg|เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 ด้านหลัง
</gallery>
</center>
 
== การพระราชทาน และการส่งคืน/การเรียกคืน ==