ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{copyvio|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779243 https://mgronline.com/politics/detail/9630000018663|วันที่=24/02/20..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
'''[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ|การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ]]รัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2563''' เป็นการประชุม[[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25|สภาผู้แทนราษฎร]] เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ พล.อ.[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีก 5 คน รวม 6 คน โดยได้เสนอญัตติเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563<ref name=":0">{{Cite web|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864451|title=ยื่นแล้ว! 6 พรรคฝ่ายค้าน ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 6 รัฐมนตรี|author=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|website=www.bangkokbiznews.com|date=31 มกราคม 2563|accessdate=31 มกราคม 2563}}</ref> และสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดกรอบการอภิปรายไว้ 4 วัน คือวันที่ 24, 25, 26 และ 27 กุมภาพันธ์ และลงมติในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ก่อนปิดสมัยประชุมสามัญประจำปี<ref name=":1" />
{{copyvio|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779243 https://mgronline.com/politics/detail/9630000018663|วันที่=24/02/2020|หมายเหตุ=เนื้อหาคัดลอกและแปะ}}
 
== เบื้องหลัง ==
 
=== การยื่นญัตติขอเปิดการอภิปราย ===
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 [[อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด]] โฆษก[[พรรคเพื่อไทย]] ได้เปิดเผยว่า คณะกรรมการกิจการพิเศษของพรรคเพื่อไทยได้จัดเตรียมผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไว้แล้ว 25 คน และได้ทำการจัดหมวดหมู่ แบ่งลักษณะพฤติกรรม และการกระทำที่นำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐมนตรีไว้แล้ว<ref>{{Cite web|url=https://www.khaosod.co.th/politics/news_3295921|title=เพื่อไทย เตรียม 25 ขุนพล อภิปรายไม่ไว้วางใจ 5 รมต. ลุยจัดหนัก จนต้องเปลี่ยนนายกฯ|author=[[ข่าวสด]]|website=www.khaosod.co.th|date=31 ธันวาคม 2562|accessdate=21 มกราคม 2563}}</ref> ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 [[ภูมิธรรม เวชยชัย]] รองประธานกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย ก็ได้เปิดเผยว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านตกลงยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 29 มกราคม โดยจะยื่นอภิปรายนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 7 คน โดยได้มอบหมายให้พรรคฝ่ายค้านแต่ละพรรคไปสรุปให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง<ref name="confi">{{Cite web|url=https://www.posttoday.com/politic/news/612260|title=ชัดแล้ว!ฝ่ายค้านยื่นญัตติเชือดนายกฯและรมต.อีกกว่า 7 คนวันที่ 29 ม.ค.|author=[[โพสต์ทูเดย์]]|website=www.posttoday.com|date=20 มกราคม 2563|accessdate=21 มกราคม 2563}}</ref> แต่เมื่อถึงกำหนด พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เลื่อนเวลายื่นญัตติไปอีก 2 วัน คือวันที่ 31 มกราคม เพื่อเตรียมข้อมูลสำคัญในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณีการเสียบบัตรแทนกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้หารือร่วมกันอีกครั้งในการกำหนดประเด็นเพิ่มและบุคคลที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ<ref>{{Cite web|url=https://thestandard.co/distrust-debate-31jan63/|title=ฝ่ายค้านยื่นซักฟอกรัฐบาล 31 ม.ค. ขออภิปรายก่อนเลือกตั้งซ่อมกำแพงเพชร หวั่นบีบเวลาช่วงปิดสมัยประชุม|author=THE STANDARD|website=thestandard.co|date=29 มกราคม 2563|accessdate=31 มกราคม 2563}}</ref> ในที่สุดเมื่อวันที่ 31 มกราคม [[สมพงษ์ อมรวิวัฒน์]] [[รายนามผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย|ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]] พร้อมด้วยหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านอีก 5 พรรค ก็ได้ยื่นญัตติขออภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวม 6 คน (จาก[[พรรคพลังประชารัฐ]] 4 คน และฝ่ายอิสระอีก 2 คน) ประกอบด้วย<ref name=":0" />
{| class="wikitable"
!ลำดับที่
!ชื่อ / ตำแหน่ง
!ประเด็นการอภิปราย<ref name=":0" />
|-
|1
|พล.อ.[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]
นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
|
* ไม่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ล้มล้างรัฐธรรมนูญ
* บริหารราชการแผ่นดินโดยขาดความรู้ความสามารถ
* ไม่รักษาวินัยการเงินการคลัง
* ล้มเหลวในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
|-
|2
|พล.อ.[[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]]
รองนายกรัฐมนตรี
|
* กระทำการทุจริตต่อหน้าที่
*ร่ำรวยผิดปกติ
|-
|3
|[[วิษณุ เครืองาม]]
รองนายกรัฐมนตรี
|
* ใช้ตำแหน่งก้าวก่ายและแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
*ตีความกฎหมายเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง
|-
|4
|พล.อ.[[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]]
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
|
* ร่วมมือกับบริวารและพวกพ้องกลั่นแกล้งข้าราชการประจำ
*ปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตในกระทรวง
|-
|5
|[[ดอน ปรมัตถ์วินัย]]
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
|
* ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำ
*เอื้อประโยชน์แก่บริษัทข้ามชาติ
|-
|6
|ร.อ.[[ธรรมนัส พรหมเผ่า]]
 
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
|
* ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล
*ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
|}
 
=== การเตรียมการ ===
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 [[ชวน หลีกภัย]] [[รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย|ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] เป็นประธานการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน และตัวแทนจากคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดวันประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันถึงแนวทางการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกวันที่ 18–21 กุมภาพันธ์ แล้วลงมติในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ช่วงหลังวันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ และลงมติในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ก่อนปิดสมัยประชุมสามัญประจำปี<ref name=":1">{{Cite web|url=https://news.thaipbs.or.th/content/288664|title=วิป 3 ฝ่ายตกลงวันอภิปรายกันไม่ได้|author=[[ไทยพีบีเอส]]|website=news.thaipbs.or.th|date=5 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=9 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref> ซึ่งรัฐบาลได้เลือกช่วงหลัง และฝ่ายค้านขอเวลาในการอภิปรายมาได้ 55 ชั่วโมง โดยวันที่ 24 กุมภาพันธ์ จะเริ่มการอภิปรายในเวลา 13:30 น. เนื่ิองจากต้องมีการประชุมคณะรัฐมนตรีก่อน และจะประชุมไปจนถึง 24:00 น. ส่วนวันที่ 25 และ 26 กุมภาพันธ์ จะประชุมตั้งแต่เวลา 09:00 น. - 24:00 น. ซึ่งหากอภิปรายไม่เสร็จก็จะประชุมต่อในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ จากนั้นจะลงมติในวันที่ 28 กุมภาพันธ์<ref>{{Cite web|url=https://www.sanook.com/news/8026622/|title=ฝ่ายค้านได้คิว 55 ชั่วโมง ซักฟอกรัฐบาล 24-27 ก.พ. ลงมติ 28 ก.พ.|author=[[สนุก.คอม]]|website=www.sanook.com|date=5 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=9 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
นพ.[[ชลน่าน ศรีแก้ว]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่านจาก[[พรรคเพื่อไทย]] กล่าวว่า การแบ่งหน้าที่ของฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น ได้มีการวางตัวผู้อภิปรายและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบไว้บ้างแล้ว โดยจะให้[[สมพงษ์ อมรวิวัฒน์]] [[รายชื่อผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย|ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]] เป็นผู้ปิดการอภิปราย และ[[สุทิน คลังแสง]] ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นผู้กล่าวปิดการอภิปราย โดยใช้เวลาตามความเหมาะสม
 
21 กุมภาพันธ์ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบ[[พรรคอนาคตใหม่]] ซึ่งถือเป็นการวินิจฉัยก่อนการอภิปรายเพียง 3 วัน
 
24 กุมภาพันธ์ วิปฝ่ายค้านมีการปรับลดเวลาในการอภิปรายลงเหลือ 54 ชั่วโมง และระบุว่าต้องอภิปรายไม่ไว้วางใจให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 21:00 น. ของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ก่อนที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติไม่ไว้วางใจในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 09:30 น.<ref name=":2">{{Cite web|url=https://www.bbc.com/thai/thailand-51609540|author=[[บีบีซี]]|title=อภิปรายไม่ไว้วางใจ : ระดม 42 ส.ส. ฝ่ายค้านร่วมศึกซักฟอก เผย "เกินครึ่ง" จองกฐินประยุทธ์|website=www.bbc.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
=== ผู้อภิปราย ===
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 [[สุทิน คลังแสง]] ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน เปิดเผยถึงการเตรียมพร้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า ในเบื้องต้น วิปฝ่ายค้านได้จัดเตรียมผู้อภิปรายไว้แล้วประมาณ 30 คน และทุกคนจะเน้นการอภิปรายไปที่ตัวนายกรัฐมนตรีทั้งหมด จะมีเพียงบางส่วนที่จะอภิปรายรัฐมนตรีทั้ง 5 คนด้วย ซึ่งจะจัดเป็นคู่ ๆ ไป ทั้งนี้เมื่อ[[พรรคอนาคตใหม่]]ถูกยุบ ผู้อภิปรายของพรรคอนาคตใหม่จะหายไปเพียง 3 คนเท่านั้นคือ [[ปิยบุตร แสงกนกกุล]], [[พรรณิการ์ วานิช]] และ[[เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์]] ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี โดยวิปฝ่ายค้านก็ได้เตรียมผู้อภิปรายสำรองไว้เรียบร้อยแล้ว<ref>{{Cite web|url=https://www.innnews.co.th/politics/news_600747/|title=ฝ่ายค้านเตรียม30คนซักฟอกพร้อมแผน3สส.แทนอนค.หากถูกยุบ|website=www.innnews.co.th|author=สำนักข่าว INN|date=17 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
24 กุมภาพันธ์ วิปฝ่ายค้านได้เปิดเผยสัดส่วนการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคต่าง ๆ ออกมาอย่างเป็นทางการดังนี้ [[พรรคเพื่อไทย]] 18 คน, อดีต[[พรรคอนาคตใหม่]] 16 คน, [[พรรคเสรีรวมไทย]] 3 คน, [[พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)|พรรคประชาชาติ]] 2 คน, [[พรรคเพื่อชาติ]] [[พรรคเศรษฐกิจใหม่]] และ[[พรรคพลังปวงชนไทย]] พรรคละ 1 คน รวม 42 คน และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นเป้าหมายแรกของการเปิดฉากอภิปราย โดยฝ่ายค้านระบุว่าจะใช้เวลา 2 วันเต็ม ๆ ในการอภิปรายนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีผู้ลงชื่ออภิปราย พล.อ.ประยุทธ์แบบเจาะจงไว้ถึง 21 คน
 
ขณะที่วิปรัฐบาลก็ได้เตรียมทีม "องครักษ์พิทักษ์นายกรัฐมนตรี" ไว้ด้วยเช่นกัน โดยมีจำนวน 30 คน เนื่องจากในญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ ได้บรรยายข้อกล่าวหาเอาไว้มากที่สุดถึง 28 บรรทัด รวม 35 ข้อกล่าวหา<ref name=":2" />
 
== การอภิปราย ==
 
=== 24 กุมภาพันธ์ ===
การพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 13:30 น. ของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ โดย[[สมพงษ์ อมรวิวัฒน์]] [[รายชื่อผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย|ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร]] เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล มีข้อกล่าวหา พล.อ.[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] และรัฐมนตรีอีก 5 คน โดยในวันแรกนี้ได้เน้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหลัก กล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ยึดมั่นและศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ล้มล้างรัฐธรรมนูญ กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรมละเมิดหลักนิติธรรมและสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความล้มเหลว 5 ประการ ดังนี้<ref>{{Cite web|url=https://www.sanook.com/news/8039450/|title="สมพงษ์" ประเดิมซักฟอกรัฐบาล ชี้ "ประยุทธ์" ล้มเหลว 5 ประการ ไม่ควรเป็นนายกฯ|author=[[สนุก.คอม]]|website=www.sanook.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
# ล้มเหลวต่อการสร้างความเชื่อมั่นในทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย
# ล้มเหลวต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
# ล้อเหลวในการจัดการด้านเศรษฐกิจ
# ล้มเหลวต่อการปราบทุจริตคอร์รัปชั่น
# ล้มเหลวในเรื่องภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี
 
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้ลุกขึ้นชี้แจงว่ามีหลายเรื่องที่ถูกอภิปราย แต่ไม่เคยโกรธ แม้จะมีการการปล่อยข่าวทั้งการเผชิญศึกในและศึกนอก เพราะถือว่าเป็นกลไกของระบอบประชาธิปไตย การที่ตนเองได้เข้ามาอยู่ในกลไกนี้ก็มาจากรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับทุกคน ดังนั้นจะวิจารณ์ว่าดีหรือไม่ดี ก็มาจากรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ที่ผ่านมาอาจจะไม่ถูกใจใครทั้งหมด แต่เป็นหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติของประชาชนที่คัดเลือกเข้ามา พร้อมถามสมาชิกว่าจำได้หรือไม่การที่ตนเองมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้รับคะแนนเท่าไหร่การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ด้วยจำนวน ส.ส. มากกว่า 250 เสียง และไม่จำเป็นต้องใช้เสียงของ ส.ว.<ref>{{Cite web|url=https://www.sanook.com/news/8039466/|title="ประยุทธ์" ลุกขึ้นโต้ โวชนะโหวตนายกฯ ไม่ต้องพึ่ง ส.ว. เป็นคนใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส|author=[[สนุก.คอม]]|website=www.sanook.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร]] ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ใช้เวลารวมกว่า 2 ชั่วโมงกล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยมีข้อกล่าวหาดังนี้<ref>{{Cite web|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867694|title='ยุทธพงศ์' เปิดหัวซักฟอก 'ประยุทธ์' ร่ำรวยผิดปกติ ขุดบ.ขายที่ตั้งมาแค่7วัน|author=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|website=www.bangkokbiznews.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
# มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ ตามการตรวจสอบรายละเอียดของบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อ[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ป.ป.ช.) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พบความไม่สัมพันธ์ระหว่างรายรับและรายจ่ายอย่างผิดปกติวิสัย โดยมีรายรับตลอดรับราชการทหาร จำนวน 128 ล้านบาท แต่พบรายจ่าย จำนวน 466 ล้านบาท ​แบ่งเป็นค่าดูแลและอุปการะบิดา จ่ายเงินในกองทุนของพ่อให้คนในครอบครัว และจ่ายเงินให้บุตร จากการตรวจสอบพบที่มาของเงินที่นำมาใช้จ่ายคือ มาจากการขายที่ดินของ พ.อ.ประพัฒน์ จันทร์โอชา บิดาของพล.อ.ประยุทธ์ ให้กับบริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ประมาณ 50 ไร่ จำนวน 9 แปลง ที่มีราคาขาย 600 ล้านบาท เมื่อ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค ทั้งนี้ยังพบการโอนเงินจากการขายที่ดินจำนวน 540 ล้านบาท ให้กับลูกสาว ทั้ง ๆ ที่ พล.อ.ประพัฒน์ ระบุให้แบ่งให้พี่น้อง ซึ่งโอนในบัญชีของ พล.อ.ประยุทธ์ โดยสภาพที่ดินที่ซื้อ-ขาย พบว่าเป็นบ่อตกปลาที่บุคคลทั่วไปไม่มีใครต้องการ และราคาขายดังกล่าวสูงกว่าราคาประเมินที่กำหนดไว้ที่ 197 ล้านบาท ตนจึงขอกล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ ว่ามีพฤติกรรมฟอกเงิน และเลี่ยงการตรวจสอบ และยังมีธุรกรรมที่ควรสงสัย คือ ราคาขายแพงเกินไป และสูงกว่าราคาประเมิน, สถานะบริษัทผู้ซื้อ คือ บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ของเจ้าสัวรายใหญ่ ได้จดแจ้งเพื่อก่อตั้งบริษัทก่อนการซื้อขาย เพียง 7 วัน คือ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ดังนั้นเชื่อว่าบริษัทดังกล่าวไม่มีเงินทุนจำนวนมากเพื่อซื้อบ่อตกปลา แต่อาศัยเงินทุนจากบริษัทต่างชาติ ชื่อ วินเทคโพฟิต คอมพานี ที่ตั้งอยู่บนเกาะบริติชเวอร์จิน ซึ่งตนเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีส่วนพัวพันกับเรื่องดังกล่าว เพราะก่อนการซื้อขาย เชื่อว่าผู้ซื้อไม่ได้ตรวจสอบหรือดูที่ดินก่อนการซื้อ-ขาย ซึ่งตนเชื่อว่า พ.อ.ประพัฒน์ ที่อายุมาก ไม่สามารถพาผู้ซื้อคือเจ้าสัวไปดูที่ได้ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ คือบุคคลที่ไปพบ และเจรจากับเจ้าสัวที่จะซื้อที่ดินใช่หรือไม่ และได้ขอให้ชี้แจง เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เคยตอบนักข่าวที่ถามเรื่องการซื้อขายที่ดินที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งกรณีการตรวจสอบบัญชีทรัยพ์สิน ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เขียนให้คนอื่นยอมรับการตรวจสอบ แต่ตัวเองทำตรงข้าม ไม่ทำให้เกิดความโปร่งใสและขาดธรรมาภิบาล ถือว่าเป็นพฤติกรรมเขียนด้วยมือลบด้วยเท้า
# บริหารราชการแผ่นดิน ไม่รอบคอบ ไม่ซื่อสัตย์ ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 164 และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ให้กลุ่มเจ้าสัวเช่าที่ดินระยะยาว ซึ่งขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 โดยต่ออายุการเช่าพื้นที่บริเวณ[[ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์]] กับให้บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเมนท์ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด ของกลุ่มเจ้าสัว จำนวน 50 ปี มูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท ทั้งนี้[[อัยการสูงสุด]]เคยให้ความเห็นไว้ว่าการให้เช่าศูนย์ราชการต้องเปิดให้แข่งขันอย่างเป็นธรรมตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 มาตรา 6 อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องดังกล่าว เพราะเป็นที่ลงนามนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมและเป็นหัวหน้าการประชุม อย่างไรก็ดี จากมติของ ครม. เรื่องต่ออายุฉบับดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ อาทิ ศูนย์ประชุมถูกทุบและรื้อทิ้ง ทั้งนี้การเช่าพื้นที่ของ[[ถนนพระรามที่ 4]] มีค่าเช่าเฉลี่ยปีละ 10 ล้านบาท ใน 3 ปีแรก และปีต่อไปเก็บค่าเช่า 100 ล้านบาท ดังนั้นราคาที่รัฐบาลให้เช่านั้นถือว่าราคาถูกกว่าราคาที่ควรจะเป็น โดยอัยการสูงสุดเคยมีหนังสือเตือนให้[[กรมธนารักษ์]]ก่อนการลงนามสัญญาต่อสัญญาเช่าในหลายประเด็น แต่ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ระมัดระวัง ไม่รอบคอบ ไม่ฟังความเห็นของ[[สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ|คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ]] ที่มีหน้าที่พัฒนาหลักทรัพย์ของรัฐ ในฐานะหัวหน้าผู้บริหารราชการแผ่นดิน จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายร่วมทุน และมีเจตนาพิเศษไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของอัยการสูงสุดและมติ ครม. ว่าด้วยการอนุมัติอย่างมีเงื่อนไข เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าสัว ตั้งแต่ซื้อ-ขายบ่อตกปลา ซึ่งตนก็ได้เตรียมยื่นเรื่องฟ้องร้องทางกฎหมายต่อไป
# ใช้อำนาจอย่างทุจริต ไม่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ว่าด้วยการต่อสัญญาสัมปทานของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] ให้กับ [[บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์|บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)]] ระยะรวม 30 ปี จากเดิมที่สัญญาคงเหลืออีก 10 ปี ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวตนเชื่อว่าเข้าข่ายฮั้วประมูล เพราะไม่เปิดให้เอกชนแข่งขันอย่างเป็นธรรม และละเว้นการใช้เงื่อนไขบางประการ แม้ล่าสุด ครม. จะ​ยังไม่อนุมัติการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่ตนไม่ไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี​ต่อไป
# เอื้อประโยชน์ให้บุคคลที่มีคดีเกี่ยวกับการสังหารลูกเรือชาวจีนที่[[สามเหลี่ยมทองคำ]]เลื่อนตำแหน่งและไม่ถูกดำเนินคดี ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาระหว่างประเทศ
 
พล.อ.ประยุทธ์จึงชี้แจงเรื่องโฉนดที่ดินของบิดาว่า ตนเกิดมาก็เห็นที่ผืนนี้แล้ว ในช่วงที่บิดาขายที่ดินขณะนั้นคือปี พ.ศ. 2556 ตนดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก ตอนนั้นบิดายังไม่แก่ถึงขนาดที่ถูกกล่าวพาดพิง พร้อมบอกว่า “ต้องไปถามพ่ออีกที แต่ก็ไม่อยู่แล้ว” และยังแย้งว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นบ่อตกปลาได้อย่างไร จุดดังกล่าวเรียกว่าคลองหนามแดง เป็นลำรางสาธารณะ เป็นที่ดินติดถนน ไม่รู้ว่าจะผิดตรงไหน และเรื่องการซื้อขายเป็นเรื่องของคนขายกับคนซื้อ มีหลายรายติดต่อมา กระทั่งรายล่าสุดที่บิดามีการซื้อขายด้วย แต่ตนเองไม่รู้ว่าขณะนั้นผู้ซื้อเป็นใคร ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว ไม่รู้ว่าจะไปเอื้อประโยชน์ใครในอนาคต ถามกลับว่า “ผมจะสัญญาไปได้ไหมว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี พูดเกินไปหรือเปล่า” ยืนยันว่าเสียภาษีถูกต้อง แจ้งบัญชีทรัพย์สินถูกต้องตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ทำตามกฎหมาย แต่กลับถูกพูดให้สับสนอลหม่าน อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ตอบโต้กรณีถูกกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีไม่ช่วยภัยแล้งภาคอีสานด้วยว่า รัฐบาลปัจจุบันทำงานมา 7 เดือน เดินทางลงพื้นที่ภาคอีสานมาแล้ว 11 ครั้ง ให้งบทุกจังหวัด<ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779190|title=นายกฯ แจงปมที่ดินบิดา ยืนยันขั้นตอนถูกต้อง ปัดเอื้อประโยชน์ใคร|website=www.thairath.co.th|author=[[ไทยรัฐ]]|date=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
ส่วนกรณีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์นั้น [[วิษณุ เครืองาม]] รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายชี้แจงว่าการอภิปรายของนายยุทธพงศ์นั้นเป็นข้อมูลเก่า อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือที่ดินของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเมนท์ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ และเป็นคู่สัญญาของ[[กรมธนารักษ์]] [[กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)|กระทรวงการคลัง]] มาตั้งแต่เดิม สัญญาที่ลงนามฉบับเก่านั้นมีประเด็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทั้งการใช้สอยพื้นที่ตามประเภทที่กฎหมายกำหนดและความสูงของอาคารที่ถูกจำกัด ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการที่ราชพัสดุเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งอยู่ในยุคของรัฐบาลนางสาว[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี พิจารณาต่อการแก้ไขสัญญา โดยอนุมัติให้บริษัท เอ็น.ซี.ซี. ได้เช่าเป็นเวลา 50 ปี เพื่อการพาณิชย์และอุตสหากรรม ส่วนการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ พ.ศ. 2544 ให้ความเห็นว่าการแก้ไขสัญญาเพื่อให้ผู้เช่ารายเดิมเช่าต่อไป ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายร่วมทุน ส่วนเงื่อนไขที่รัฐได้ประโยชน์ให้รัฐเจรจาไม่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการแก้ไขสัญญาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณา ซึ่งอัยการสูงสุดมีหนังสือลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ระบุ 10 ข้อสังเกต ทั้งนี้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการทำให้อัยการสูงสุดไม่ติดใจ และเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. และลงมติ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ซึ่งทุกฝ่ายเห็นชอบตามกระทรวงการคลัง แต่เพื่อป้องกันการติดใจที่เกิดขึ้น กระทรวงการคลัง ได้ปรึกษากับอัยการสูงสุด เพื่อตรวจสัญญา และมีข้อสังเกต 4 ข้อ แต่ไม่ใช่เงื่อนไขของการแก้ไขสัญญา โดยในอีก 21 เดือนถัดมา นับจากปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลได้ดำเนินการตรวจร่างสัญญาตามที่อัยการแนะนำ และวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้ดำเนินการตามสัญญา จากนั้นอีก 3 เดือนได้ลงนาม เป็นขั้นตอนที่รัฐบาลฟังสำนักงานกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ผ่านขั้นตอนหลายรัฐบาลและนำมาสู่บทสรุป ดังนั้นเป็นการเอื้อหรือไม่เอื้อ เป็นความเห็น ตนไม่โต้แย้งหรือคัดค้าน ส่วนจะเอื้อหรือไม่ต้องดูว่าเอื้อรัฐบาลไหน และต้องพูดต่อไปว่าเอื้อไม่สำเร็จอย่างไร
 
ขณะที่ [[อุตตม สาวนายน]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง]] ชี้แจงประเด็นเดียวกัน พร้อมมีแผ่นภาพประกอบว่า มีการแก้ไขสัญญาศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในปี พ.ศ. 2556 สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้แก้ไขพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งใช้บังคับเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 กำหนดให้รัฐบาลทบทวนสัญญาในโครงการกับเอกชนได้ ทั้งนี้ เข้าใจว่าเป็นความตั้งใจแก้ไขปัญหาในบางโครงการที่ติดขัด เช่น โครงการที่แหลมฉบัง, โครงการที่หมอชิต, โครงการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ไม่เจาะจงเฉพาะโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น โดยกรณีของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์นั้น บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เป็นผู้เสนอให้ปรับปรุงสัญญา เนื่องจากเมื่อได้ว่าจ้างสถาบันศึกษาดำเนินการแล้วพบว่าจะคุ้มทุนที่ระยะ 47 ปี ดังนั้นระยะ 50 ปี จึงเหมาะสม และได้รับผลตอบแทน 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งระยะเช่าดังกล่าวระบุว่าทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐ เมื่อครบสัญญาหรือผิดสัญญา หรือยกเลิกสัญญา<ref>{{Cite web|url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867699|website=www.bangkokbiznews.com|author=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|title=‘วิษณุ-อุตตม’ สวน ‘พท.’ ปมเช่าที่ศูนย์สิริกิติ์ เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำตาม บ.เอกชนเสนอ|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
ส่วนกรณีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น [[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย]] ยืนยันเหตุผลที่รัฐบาลจำเป็นต้องขยายอายุสัมปทาน เพราะเห็นว่าหากมีการจ้างเดินรถ อาจประสบภาวะขาดทุนได้ เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองส่วนต่อขยาย อีกทั้งการต่อสัญญาให้กับบีทีเอสยังมีเงื่อนไขการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติมเข้ามาเกี่ยวข้อง จำเป็นต้องการความต่อเนื่องในการบริหารจัดการ และเมื่อพิจารณาแล้ว หากจากการทำสัญญากับเอกชนรายใหม่จะส่งผลกระทบต่อราคาที่อาจเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนต้องแบกภาระเพราะเอกชนรายใหม่ต้องการกำไร เพราะภาระจากสัมปทานใหม่มีต้นทุนสูงกว่าสัมปทานเดิม ยืนยันว่าการต่อขยายอายุสัมปทานครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพราะคำสั่ง คสช. เพราะคำสั่ง คสช. กำหนดเพียงให้หาทางออกเท่านั้น และการขยายสัญญาสัมปทานครั้งนี้เป็นการขยายเพียง 30 ปี เท่านั้นจากปี พ.ศ. 2573 ถึง พ.ศ. 2602 ส่วนสัญญาสัมปทานในปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2572 นั้น เป็นสัมปทานเดิมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสัมปทานใหม่แต่อย่างใด<ref>{{Cite web|url=https://www.innnews.co.th/politics/news_606678/|title=“อนุพงษ์”แจงจำเป็นต้องขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว|website=www.innnews.co.th|author=สำนักข่าว INN|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[พิธา ลิ้มเจริญรัตน์]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีต[[พรรคอนาคตใหม่]] กล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า ตนเป็น ส.ส. จากพรรคที่ประชาชน 6.3 ล้านคนเป็นผู้เลือก ที่ถูก[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]สั่งยุบพรรคไปแล้ว ทั้งนี้ เศรษฐกิจประเทศไทย [[จีดีพี]]โตเท่าไรก็ไม่สำคัญ ถ้าคนยังยากจน เพราะเศรษฐกิจทุกวันนี้ประชาชนธรรมดาก็บอกได้ว่าเศรษฐกิจทุกวันนี้แย่แค่ไหน เศรษฐกิจของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นเศรษฐกิจเพื่อนายทุน ซึ่งเผลอๆ เศรษฐกิจปัจจุบันนี้อาจหนักกว่าเศรษฐกิจที่เราเคยเจอที่ผ่านมา อย่างเช่น เมื่อครั้ง[[อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554|เกิดอุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2554]] ความเชื่อมั่นนักลงทุนนักธุรกิจในตอนนั้น กับความเชื่อมั่นของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ในขณะนี้ เทียบแล้วก็แย่พอ ๆ กัน ย้อนไปเมื่อครั้งเกิด[[วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์]]เมื่อปี พ.ศ. 2551 ตอนนี้คนว่างงานหนักกว่าเสียอีก หรือหากย้อนกลับไปถึง[[วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540]] ตอนนั้นเศรษฐกิจเรียกได้ว่า แข็งล่าง-อ่อนบน ไม่เหมือนเศรษฐกิจในยุค พล.อ.ประยุทธ์ ในตอนนี้ที่ แข็งบน-อ่อนล่าง ตอนนี้ประชาชนชั้นล่าง ๆ รู้สึกว่าแย่มานานแล้ว ฉะนั้นตนจึงไม่เปลกใจที่ดัชนีผู้บริโภคในประเทศแย่สุดในรอบ 68 ปี ทั้งนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตนจะไว้วางใจใครก็อยู่ที่ว่า เขาทำตามสัญญาและทำได้จริงหรือไม่ ใครกันแน่มั่นคง ใครกันแน่มั่งคั่ง ใครกันแน่ที่ยั่งยืน คำถามแรก ใครรู้สึกมั่นคงในประเทศไทย ถ้าท่านคือกลุ่มคนหนุ่มสาวที่กำลังจะเรียนจบ ตอนนี้กว่า 5 แสนคน ไม่มั่นใจเรียนจบไม่สามารถหางานทำได้ หรือหาได้ก็ไม่มั่นใจว่ารายได้จะเพียงพอ อีกกลุ่มคือคนเกษียณ พม.บอกแล้ว กลุ่มนี้กว่า 3 ล้านคน มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ กลุ่มเกษตรกรยิ่งแย่ที่สุดในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ถ้าท่านคือกลุ่มพ่อค้าในตลาด ท่านไม่ได้อยู่ลำพัง ไม่ว่าแม่ค้าจากที่ไหน ทั่วประเทศ ฝากมาบอกว่า ตลาดเงียบเหมือนป่าช้า กลุ่มผู้ใช้แรงงานก็แย่ ไม่ว่ากลุ่มธุรกิจไหนก็แย่ไปหมด ตั้งแต่พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามาบริหาร ฝั่งข้าราชการ หนี้ ครู ตำรวจ ทหารมารวมกัน พวกเขาก็ไม่มั่นคง ปัญหาธุรกิจในค่ายทหารก็ทำให้พวกเขาไม่มั่นคง ก็นั่นทำให้เป็นเหตุผลให้เกิดเหตุการณ์โคราช เรามาถึงตรงนี้ได้อย่างไร เหมือนเอายาพาราไปให้คนเป็นโรคมะเร็ง ก็ไม่ได้ผล แล้วยาพาราก็มีราคาแพงอีกด้วย คำตอบ 99% นี้ไม่ยั่งยืน มีเพียง 1% นี้เท่านั้นที่มั่งคั่ง เศรษฐกิจเป็นของนายทุน เพื่อนายทุน ถามต่อ ใครบ้างที่มั่นคงมากขึ้น ส่วนนี้เมื่อเราเอา 5 ตระกูลมหาเศรษฐีไทยของไทย ความมั่งคั่งมีมูลค่า 2.3 ล้านล้านบาท จริงหรือไม่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มเจ้าสัว ส่วนปัญหา PM 2.5 เกิดจากนโยบายรัฐบาลชุดที่แล้วสนับสนุนการปลูกอ้อยเพิ่มเป็น 6 ล้านไร่ ทำให้เกิดการเผาไร่อ้อยมากขึ้น ปัญหา PM 2.5 จึงหนักขึ้น ชี้ ก็ไม่รู้นโยบายนี้มาจากใครเป็นผู้คิด ย้อนไปดูคณะกรรมการยุทธศาสตร์อ้อยของ[[พรรคพลังประชารัฐ]] ก็สงสัยว่า 1 ในคณะกรรมการเป็นเจ้าของบริษัทอ้อยรายใหญ่ของประเทศบริษัทหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ PM 2.5 ปัจจุบัน ดังนั้น ตนจึงไม่อาจไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แม้สักวันเดียว ยิ่งอยู่นานยิ่งทำประเทศเสียหาย รัฐบาลนี้หมุนเงินเข้าไปเท่าไรก็ผ่านไปที่ 3 ตระกูลเศรษฐีใหญ่ของไทย หมุนเงินเข้าไปเท่าไร ก็เข้าไปบริษัทใหญ่ของประเทศจีน ฉะนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยิ่งอยู่ต่อไป ก็ยิ่งสร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจไทยมากเท่านั้น<ref>{{Cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1779243|title=พิธา อัดนายกฯ บริหารศก.แย่ ถามเจ็บ ผ่านหลายปี ใครกันแน่มั่นคง-มั่งคั่ง|author=[[ไทยรัฐ]]|website=www.thairath.co.th|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
[[จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์]] ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายชี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขาดความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ โดยยกตัวอย่างข่าวในช่วงรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้ มีหลายครอบครัวที่จบปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เกิดจากความผิดพลาดในการบริหารงานของนายกรัฐมนตรี โดยยกตัวเลขทางเศรษฐกิจถือว่าประเทศไทยเข้าขั้นป่วยหนักเป็นมะเร็ง อยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่รัฐประหาร มีตัวเลขความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี ร้อยละ 2 ถึง 4 และคาดว่าจะต่ำลงอันเนื่องจาก[[โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019]] ไม่มีทางได้ถึงร้อยละ 4 หรือ 5 อย่างแน่นอน แม้จะพยายามบอกว่าเศรษฐกิจดี แต่คนไม่มีจะกิน และเมื่อแยกตัวเลขจีดีพี ดูที่การบริโภคของประชาชน ไม่สามารถขยายตัวได้เพราะขาดความเชื่อมั่น โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ [[มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]]ชี้ว่า เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ดัชนีผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องทุกรายการ และต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ต่ำสุดในรอบ 69 เดือนนับตั้งแต่รัฐประหารมา ขณะที่แนวนโยบายการเอื้อประโยชน์รายใหญ่ เพื่อหวังให้มาดูแลเอกชนขนาดกลางและขนาดเล็ก สุดท้ายรายใหญ่ก็ขนการลงทุนไปต่างประเทศหมด เพราะไม่เชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรีจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นมาได้ แม้ประเทศไทยมีดุลการค้าการส่งออกมากกว่าการนำเข้าต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมาการส่งออกลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นมามาก และแม้ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขการส่งออกปี 2562 แต่หนีไม่พ้นว่าตัวเลขติดลบแน่นอน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐงบประมาณ 3.2 ล้านบาทที่เพิ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎร ก็สะดุดขาตัวเองจากปัญหาการเสียบบัตรแทนกัน ซึ่งเป็นปัญหาของฝ่ายรัฐบาลทั้งสิ้น แต่ฝ่ายค้านก็ไม่ได้ขัดขวาง กลั้นใจยอมให้ผ่านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่การจัดสรรก็ไม่มีประสิทธิภาพ หนักไปที่งบประจำ ส่วนงบลงทุนมีแค่ร้อยละ 25 โดยกว่าร้อยละ 20 ซื้ออาวุธจำนวนมาก ไม่มีการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้สัญญาณอันตรายคืออัตรา[[เงินเฟ้อ]]ต่ำกว่าอัตรา[[ดอกเบี้ย]]ในปัจจุบัน แรงในการใช้จ่ายลงทุนน้อย คนรวยเก็บออม คนจนไม่มีเงินใช้จ่าย การใช้จ่ายหยุดชะงัก เกิดภาวะเงินฝืด โรงงานลดกำลังการผลิต ลดราคาสินค้าเพื่อแข่งขันได้ อัตราการจ้างงานลดลง โรงงานเริ่มปิดตัว คนตกงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจัยหลักอธิบายง่ายๆ คือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอ โดยเดือนมกราคมปีนี้มีถึง 222 โรงงานที่แจ้งขอปิดกิจการ ขณะที่ปี พ.ศ. 2562 ตลอดทั้งปีมี 1,667 โรงงาน เสียมูลค่าการลงทุน 7 หมื่นกว่าล้านบาท ทั้งนี้ การใช้นโยบายการคลัง การใช้นโยบายการเงิน การกำกับอัตราแลกเปลี่ยน เป็นปัจจัยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ควรทำกลับไม่ได้ทำ สิ่งแรกคือกลไกนโยบายการคลังด้วยการใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่สิ่งที่ทำแทบไม่ช่วยทำให้เกิดการกระตุ้นหมุนเวียนทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งงบประมาณโดยเฉลี่ยหลายปีที่ผ่านมากว่า 3 ล้านล้านบาทต่อปี โดยเฉพาะปีล่าสุดปี 3.2 ล้านล้านบาท แต่กระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยมาก และไม่ยอมลดขนาดของภาครัฐเพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุน พยายามสร้างรัฐราชการ รัฐบาลใหญ่โต ประชาชนลีบเล็ก ซึ่งหากกำหนดสัดส่วนภาครัฐไม่ให้ขยายใหญ่โต อาจทำให้เห็นงบลงทุนได้ถึง 1 ล้านบาท และยังกู้เพื่อการขาดดุลไว้เกือบสูงสุดกว่า 3 ล้านบาท และยังยกตัวอย่างความเหลื่อมล้ำ เช่น กรณีออกร่างพระราชบัญญัติการจัดเก็บภาษีมรดก คนรวยหลบเลี่ยงได้ และไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้จริง สุดท้ายกลายเป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติกับคนชั้นกลางและคนจน และที่ใหญ่ที่สุดคือการออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้คนจนต้องแบกรับภาษีมากขึ้น 10 เท่า ไม่เป็นธรรม และเตรียมออกกฎหมายขูดรีดภาษีกับผู้ทำธุรกิจออนไลน์ ตลอดจนการลดหย่อนภาษีให้คนใช้มาตรการ "ชิม ช็อป ใช้" ยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้นไปอีก ขณะที่[[บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ]] แม้จะช่วยเหลือประชาชนในระยะสั้น แต่ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดความหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ไม่มีแรงจูงใจให้เกิดการค้าขายใหม่ ๆ มากขึ้น เพราะใช้ได้แต่ซื้อของที่จำเป็นเท่านั้น และคนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดนั้น สุดท้ายก็คือเจ้าสัวใหญ่เพียงไม่กี่ราย และที่เหี้ยมโหดที่สุดคือเรื่องค่าเงิน แม้ขณะนี้ค่าเงินบาทคลายตัวลงจาก[[โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019]] ในต่างประเทศ แต่ปีที่แล้วต้นปีอยู่ที่ 22 บาทต่อดอลลาร์ และท้ายปีอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์ ผลกระทบการส่งออก ทุกคนเสมอภาคหมดเพราะเจ๊งทุกคน อย่างกรณีโรงงานของ[[เชฟโรเลต]] ก็ไม่มีโรงงานใหม่ ๆ มาลงทุนเพิ่ม แล้วยังมีการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายโรงงาน สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยคือกับดักสภาพคล่อง เงินล้นตลาดแต่ไม่มีที่ใช้ ไม่กล้ากู้เงินลงทุน เพราะไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ ขณะที่คนจนเข้าไปกู้ ธนาคารก็ไม่กล้าให้กู้ เงินก็เลยคาอยู่ในระบบธนาคารเต็มไปหมด ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ ทางออกเดียวคือต้องเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี<ref>{{Cite web|url=https://mgronline.com/politics/detail/9630000018663|title="จุลพันธ์" จี้เปลี่ยนตัวนายกฯ เซ่นบริหารพลาดรง.แห่ปิด ประเทศติดกับดักสภาพคล่อง|author=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|website=mgronline.com|date=24 กุมภาพันธ์ 2563|accessdate=24 กุมภาพันธ์ 2563}}</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
| สี1 = #E9E9E9
| สี2 =
| สี3 = #E9E9E9
| รูปภาพ = Parliament.gif
| ตำแหน่ง = การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = [[การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2556]]
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = -
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา =
}}
{{จบกล่อง}}
 
[[หมวดหมู่:การลงมติไม่ไว้วางใจในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563]]
{{โครงการเมือง}}