ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏวังหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
San5512041 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8548200 สร้างโดย 171.96.191.22 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 39:
ในระยะแรก ฝ่ายกบฏเหมือนจะเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ เพราะสามารถยึดสถานที่สำคัญและจุดยุทธศาสตร์ไว้ได้หลายจุด แต่ตกค่ำวันนั้นเอง ทหารฝ่ายรัฐบาลก็ตั้งตัวติดและสามารถยึดจุดยุทธศาสตร์กลับคืนมาได้ อีกทั้งกองกำลังทหารเรือฝ่ายสนับสนุนกบฏจาก[[ฐานทัพเรือสัตหีบ]] ซึ่งกำลังหลักได้แก่ [[หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน|นาวิกโยธิน]] ก็ติดอยู่ที่ท่าน้ำบริเวณคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพราะน้ำลดขอดเกินกว่าปกติ แพขนานยนต์ไม่สามารถที่จะลำเลียงอาวุธและกำลังคนข้ามฟากไปได้<ref name="กบฏ"/> เมื่อน้ำขึ้นก็เป็นเวลาล่วงเข้ากลางคืน กองกำลังทั้งหมดมาถึงพระนครในเวลประมาณ 8.00 น.ของเช้าวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงตอนนั้นฝ่ายกบฏก็เพลี่ยงพล้ำต่อรัฐบาลแล้ว ซึ่งตามแผนการนั้นจะต้องยึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ๆ ไว้ให้ได้ก่อนเวลา 24.00 น. ของคืนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ <ref name=sohk/>
 
จุดที่มีการปะทะกันระหว่างทหารบกฝ่ายรัฐบาล และทหารเรือฝ่ายกบฏ เช่น [[ถนนวิทยุ]], [[ถนนพระราม 4]], [[ถนนสาทร]], [[สี่แยกราชประสงค์]], [[ถนนเพชรบุรี]], [[สี่แยกประตูน้ำ|ประตูน้ำ]] ตลอดจนถึง[[ทางรถไฟสายตะวันออก]]และ[[สถานีรถไฟมักกะสัน]] มีการยิงกระสุนข้ามหลังคาบ้านผู้คนในละแวกนั้นไปมาเป็นตับ ๆ เนื่องจากทหารบกฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งแนวป้องกันมิให้ทหารเรือฝ่ายกบฏล่วงล้ำเข้ามาในพระนครได้มากกว่านี้ มีผู้ได้บาดเจ็บและล้มตายมากมายกันทั้ง 2 ฝ่าย<ref name="ชีวลิขิต"/>มีจำนวนผู้เสียชีวิต 1110 ราย <ref>[http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8F%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87 กบฎวังหลวง ฐานข้อมูลสถาบันพระปกเกล้า]</ref> โดยแบ่งเป็นทหารบก 4 นาย, ทหารเรือ 3 นาย และพลเรือนซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ใน[[อำเภอพญาไท]] 3 คน
 
ในส่วนของรัฐบาลได้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/A/012/2.PDF</ref>และประกาศต่อเนื่องในวันที่ 29 มีนาคม ปีเดียวกัน<ref name=ราช/>โดยครั้งนี้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีพระบรมราชโองการผ่านผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้แก่ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร]] พลตรี [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม มีการสู้รบกันในเขตพระนครอย่างหนักหน่วง โดย พล.ต.สฤษดิ์เป็นผู้ยิงปืนจาก[[รถถัง]]ทำลาย[[ประตูพระบรมมหาราชวัง|ประตูวิเศษไชยศรี]]ของพระบรมมหาราชวังพังทลายลง ในเวลาเช้ามืดของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ จนในที่สุด เวลาเย็นของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ทั้ง 2 ฝ่ายก็หยุดยิง เมื่อรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และปราบปรามฝ่ายกบฏได้สำเร็จ โดยผ่านการประสานของ พล.ร.ต.หลวงพลสินธวาณัติก์ นายปรีดี พนมยงค์ และ ร.อ.วัชรชัย ชัยสิทธิเวช รน. ซึ่งเป็นคนสนิทได้หลบหนีออกทางประตูเทวาภิรมย์ ด้านติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเรือข้ามฟากของ พล.ร.ท.[[ผัน นาวาวิจิตร]]<ref name=sohk/>