ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 59:
อนึ่ง เนื่องด้วยมีการตรากฎหมายเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ ในรัชกาลที่ 7 แห่งพระราชวงศ์จักรีว่าด้วย พระโอรสธิดา​เพิ่มเติม ทำให้หม่อมเจ้าหลานหลวง​ ที่มีพระชนกดำรงสกุลยศเจ้าฟ้าชั้นเอก​(ประสูติแต่พระชนนีชั้นสมเด็จ)​ หม่อมมารดาเป็นสามัญชน พระบุตรได้เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็นพระองค์เจ้าชั้นตรี​ เช่น​ หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ​ จุฑาธุช​ พระราชนัดดาในร.5​ เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็น พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช โดยโอรสธิดาของหม่อมเจ้าชั้นเอก​ และ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า​ ​นี้​ สมภพ(เกิด)​เป็น​ หม่อมราชวงศ์
 
2) ''หม่อมเจ้าชั้นโท''​ พระราชปนัดดา​ เหลนหลวง​ ของกษัตริย์ ​คือ​ พระโอรส​ธิดา ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระ​องค์เจ้า​ หลานหลวงของกษัตริย์​ อาทิ​ หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม​ ยุคล​ พระราชปนัดดา​ เหลนหลวงในร.5​ (พระโอรสใน​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ ​พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิคัมพร พระราชนัดดาในร.5)​ โอรสธิดาของหม่อมเจ้าชั้นโท​ เหลนหลวงนี้​ สมภพ(เกิด)​เป็น​ หม่อมราชวงศ์ ทั้งนี้ หม่อมเจ้าชั้นโทหรือชั้นเหลนหลวงนี้ สำหรับสายรัชกาลที่ 4 จะมีแค่ใน 2 ราชสกุลเท่านั้นคือ ราชสกุลจักรพันธ์ุ กับราชสกุลภาณุพันธุ์ ส่วนสายรัชกาลที่ 5 ก็มีแค่ใน 2 ราชสกุลคือ ราชสกุลบริพัตร กับราชสกุลยุคล
 
ดังนั้นความหมายที่ว่า พระบรมวงศานุวงศ์ มาจากสองคำคือ พระบรมวงศ์ (พระภรรยาเจ้าดำรงสถานะชั้นพระมเหสี, เจ้าฟ้าชั้นเอก-โท และ พระองค์เจ้าชั้นเอก) กับ พระอนุวงศ์ (เจ้าฟ้าชั้นตรี,พระองค์เจ้าชั้นโท-ตรี และ หม่อมเจ้า) ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้านาย (เจ้า) ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์