ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 104:
 
===สร้างวัดดาวดึงษาสวรรค์===
วันหนึ่ง[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] (รัชกาลที่ 1) ทรงแสดงพระอาการว่าสบายพระราชหฤทัย จึงตรัสและทรงพระสรวลอย่างสนุกสนาน เจ้าจอมแว่นเห็นเป็นโอกาสดีก็เข้าไปใกล้พระองค์แล้วทูลว่า '' "[[ขุนหลวง]]เจ้าขา ดีฉันจะทูลความสักเรื่องหนึ่ง แต่[[ขุนหลวง]]อย่ากริ้วหนา" '' พระองค์จึงตรัสตอบว่า '' "จะพูดอะไรก็พูดไปเถิด ไม่กริ้วดอก" '' เจ้าจอมแว่นจึงทูลว่า '' "ถ้ายังงั้น [[ขุนหลวง]]สบถให้ดีฉันเสียก่อน ดีฉันจึงจะทูล" '' พระองค์ก็ตรัสด้วยถ้อยความอันหยาบคายว่า '' "อีอัปรีย์ บ้าน[[เมืองลาว]]ของมึง เคยให้เจ้าชีวิตจิตสันดาน[[สบถ]]หรือ กูไม่สบถ พูดไปเถิด กูไม่โกรธดอก" '' เจ้าจอมแว่นจึงกระเถิบเข้าพระองค์แล้วกระซิบทูลว่า '' "เดี๋ยวนี้ แม่รอด[[ท้อง]]ได้ ๔ เดือน" '' พระองค์ทรงอึ้งไปครู่หนึ่งแล้วตรัสว่า '' "[[ท้อง]]กับใคร" '' เจ้าจอมแว่นจึงทูลว่า '' "จะมีกะใครเสียอีกเล่า ก็พ่อโฉมเอกของ[[ขุนหลวง]]น่ะซี" '' [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] (รัชกาลที่ 1) ทรงกริ้วนิ่งๆนิ่ง ๆ อยู่เป็นเวลาหลายวัน จึงไม่มีผู้ใดทราบว่าจะทรงทำอย่างไรกันแน่ และพากันเกรง[[พระราชอาญา]]แทน[[เจ้าฟ้า]]ทั้งสองพระองค์ไปตามกัน ฝ่ายเจ้าจอมแว่นร้อนใจมากกว่าผู้ใด จึงหาโอกาสเข้าไปทูลถามว่าทารกในพระครรภ์จะเป็น[[เจ้าฟ้า]]หรือไม่ พระองค์ก็ตรัสตอบว่าเป็น[[เจ้าฟ้า]] เจ้าจอมแว่นและเจ้านายทั้งหลายก็โล่งใจไปตามกัน ในที่สุด[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] ก็เข้าไปขอพระพระราชทานโทษแทนพระเจ้าหลานทั้งสองพระองค์ [[เจ้าฟ้า]]ทั้งสองพระองค์นั้นก็คือ [[สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร]] ภายหลังได้เสด็จเสวยราชย์เป็น[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] (รัชกาลที่ 2) กับ[[เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด]] พระธิดาของ[[เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์]] ซึ่งในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (รัชกาลที่ 4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น[[สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี]] เจ้าจอมแว่นทรงรักใคร่[[เจ้าฟ้า]]ทั้งสองพระองค์นี้มากเป็นพิเศษถึงกับได้[[บนบาน]]ว่า หากเรื่องคลี่คลายไปในทางที่ดีแล้ว ตนจะสร้างวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนาหนึ่งวัด ในที่สุดเจ้าจอมแว่นก็ได้สร้างวัดขึ้นกลางสวนวัดหนึ่ง ในตำบล[[บางยี่ขัน]] [[ธนบุรี]] (เชิง[[สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]) เพื่อ[[แก้บน]] คนทั้งหลายเรียกว่า [[วัดขรัวอิน]]<ref>สภาพระธรรมกถึก-สหภูมิอยุธยา และคณะศิษย์ จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านพระครูโวทานธรรมาจารย์ ณ เมรุวัดดาวดึงษาราม ธนบุรี ๑ พฤษภาคม 2503, ''ประวัติวัดดาวดึงษาราม'', (กรุงเทพฯ : การพิมพ์สตรีสาร, 2503), ไม่ปรากฏหน้า. </ref>
 
[[พระอุโบสถ]]ของวัดก่อเป็นอิฐสูงพ้นดินประมาณ 2 ศอก เอา[[เสาไม้แก่น]]เป็นเสาประธาน [[หลังคา]]มุง[[กระเบื้อง]] ฝาผนังเอาไม้สักเป็นฝารอบ มีบานประตูหน้าต่าง แต่กุฎีนั้นทำด้วย[[เสาไม้แก่น]] มี[[หลังคา]]มุงบัง สัณฐานเช่น[[เรือน]]โบราณ ครั้นต่อมาในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] (รัชกาลที่ 2) เมื่อเจ้าจอมแว่นถึงแก่กรรมแล้ว ได้มีญาติผู้หญิงของเจ้าจอมแว่นท่านหนึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายในมีนามว่า อิน ได้มีจิตศรัทธาจัดการปฏิสังขรณ์วัด[[ขรัวอิน]]เสียใหม่ทั้งวัด การปฏิสังขรณ์คราวนี้ได้รื้อเอาสถานที่ของเก่าออกทิ้งทั้งหมดแล้วสร้างใหม่ โดยสร้างเป็น[[อุโบสถ]]ขนาดเล็ก ก่ออิฐปูนขึ้นใหม่ เสนาสนะก่อด้วยอิฐปูนแต่เครื่องบนใช้ไม้ไผ่สานเป็นแกน เสร็จแล้วได้กราบถวายบังคมทูล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] (รัชกาลที่ 2) พระองค์จึงทรงดำริว่า '' "[[วัดขรัวอิน]]นี้แปลก [[สมภาร]]เจ้า[[วัด]]ชื่อ อิน ผู้ศรัทธาปฏิสังขรณ์ก็ชื่อ อิน ไม่แต่เท่านั้น ชาวบ้านก็อุตส่าห์ให้เรียกว่า [[วัดขรัวอิน]] เสียอีก" '' จึงได้พระราชทานนามให้วัดนี้ใหม่ว่า '''[[วัดดาวดึงษาสวรรค์]]''' อันหมายถึง สวรรค์ชั้นที่[[พระอินทร์]]สถิตย์อยู่<ref>http://www.oknation.net/blog/surasakc/2010/06/11/entry-1</ref>