ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 79:
 
==ความใจกล้า==
เจ้าจอมแว่นเป็นผู้มีความกล้าหาญ และมี[[ศิลปะ]]ในการเพ็ดทูลเรื่องราวต่างๆต่าง ๆ ที่ไม่มีผู้ใดกล้านำขึ้นกราบบังคมทูล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] (รัชกาลที่ 1) และหากเจ้าจอมแว่นเห็นว่าเรื่องนั้นเป็นสิ่งสมควรและถูกต้องแล้ว ก็จะกราบทูลทันทีมิได้เกรงกลัว[[พระราชอาญา]] ความกล้าหาญของเจ้าจอมแว่นเป็นที่ประจักษ์เมื่อปี [[พ.ศ. 2339]] คราวที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช (รัชกาลที่ 1)]] ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายจากการว่าราชการงานเมือง ขณะบรรทมหลับก็เกิด[[พระสุบิน]]และทรง[[ละเมอ]] ทำให้[[ข้าราชบริพาร]]ตกใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี เจ้าจอมแว่นจึงใช้ความหาญกล้าตัดสินใจกัดนิ้ว[[พระบาท]] จนพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกพระองค์และตื่นพระบรรทม เจ้าจอมแว่นจึงได้รับความดีความชอบและเป็นที่โปรดปรานของพระองค์อย่างมาก และด้วยความจงรักภักดีสุจริตใจของเจ้าจอมแว่นนี้ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช]] (รัชกาลที่ 1) จึงไม่ทรงพิโรธ<ref>http://bangkrod.blogspot.com/2011/12/blog-post_27.html</ref> ความกล้าหาญของเจ้าจอมแว่นอีกครั้งหนึ่งได้ปรากฏ ดังนี้
 
''...ที่น่าเห็นว่าเป็นคนดี ก็เพราะท่านจงรักต่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าเป็นที่สุด เป็นผู้ปฏิบัติในเวลาทรงพระชราอยู่จนสิ้นรัชกาล เมื่อทรงสร้างพระโกษทองใหญ่ไว้สำหรับพระองค์นั้น ครั้งสร้างเสร็จแล้ว ก็โปรดให้ยกเข้าไปตั้งไว้ถวายทอดพระเนตรในพระที่นั่งไพศาลฯ ทอดพระเนตรแล้วก็มิได้ตรัสให้ยกไปเก็บเข้าคลัง ให้ตั้งไว้บนพระที่นั่งหลายวัน คุณเสือไม่สบายใจเห็นเป็นลาง ก็ทูลวิงวอนว่า เป็นอัปมงคลให้ยกไปเสีย ตรัสตอบว่า กูทำสำหรับใส่ตัวกูเองจะเป็นอัปมงคลทำไม แต่ก็โปรดให้ยกพระโกษไป คุณเสือเป็นคนได้รับพระราชทานอภัย ทูลอะไรทูลได้จึงมีเรื่องเล่าต่อไป...''