ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองผดุงกรุงเกษม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:คลองผดุงกรุงเกษมในอดีต.jpg|thumb|220px|คลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5)]]
[[ไฟล์:Bkkpadungkrungkasem03.jpg|thumb|220px|คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน]]
 
'''คลองผดุงกรุงเกษม ''' ({{Lang-en|Khlong Phadung Krung Kasem}}) เป็น[[คลองขุด]]รอบพระนครชั้นนอก (ชั้นที่สาม) ขุดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้ขุดเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงพิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อเริ่มสร้างกรุง ควรขยับขยายพระนครออกไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] (ช่วง บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง [[เจ้าหมื่นไวยวรนาถ]]เป็นกงสีจ้างจีนขุดคลองพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง โดยขุดถัดจาก[[คลองรอบกรุง]]ออกไปทางชาน[[พระนคร]] เริ่มขุดจากปากคลองริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]บริเวณ[[วัดเทวราชกุญชร]] (วัดสมอแครง) ย่าน[[เทเวศร์]] มีแนวขนานไปกับ[[คลองคูเมืองเดิม]] ผ่านย่าน[[หัวลำโพง]] ตัดผ่าน[[คลองมหานาค]]ไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งบริเวณ[[วัดแก้วแจ่มฟ้า]] [[สี่พระยา]] คลองนี้ขุดเสร็จในปี [[พ.ศ. 2395]] ได้รับพระราชทานชื่อว่า "คลองผดุงกรุงเกษม"
 
คลองนี้ตัดผ่านคลองมหานาค บริเวณสี่แยกมหานาค ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ผ่านบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ผ่าน[[วัดมหาพฤฒาราม]] (เดิมเรียกว่า วัดท่าเกวียน) ในสมัยที่ทำการขุดมีขนาดกว้าง 20 เมตร ลึก 3 เมตร ยาว 5.5 กิโลเมตร
เส้น 24 ⟶ 25:
* [[สะพานกษัตริย์ศึก]] (สะพานยศเส) อยู่บน[[ถนนพระรามที่ 1]]
* [[สะพานเจริญสวัสดิ์]] อยู่บน[[ถนนพระรามที่ 4]]
 
== ดูเพิ่ม ==
*[[คลองคูเมืองเดิม]] คลองรอบกรุงชั้นแรก ขุดขึ้นในรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]
*[[คลองรอบกรุง]] คลองรอบกรุงชั้นที่สอง ขุดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]
 
== อ้างอิง ==