ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาทนายความ (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Naewchaifung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Naewchaifung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
สืบเนื่องมาจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ที่ได้มีการจำกัดสิทธิของ[[ทนายความ]] และเกิดผลกระทบต่อทนายความชั้นสอง รวมไปถึงประชาชนต่าง ๆ ที่มีความต้องการความรู้ความสามารถของทนายความชั้นสอง จึงทำให้เกิดประกายแห่งแนวความคิดในการก่อตั้งสถาบันของทนายความเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพของทนายความเอง เช่นเดียวกันกับนานาประเทศ ดังนั้น ในปี [[พ.ศ. 2517]] นาย[[มารุต บุนนาค]] นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ในขณะนั้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความเพื่อก่อตั้ง "สภาทนายความ" เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทนายความการเคลื่อนไหวและต่อสู้ที่เป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปี จึงได้ประสบความสำเร็จ โดยวันศุกร์ที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2528]] ที่ประชุมวุฒิสภาในการประชุมครั้งที่ 11/2528 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทนายความ และ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ [[10 กันยายน]] [[พ.ศ. 2528]] โดยประกาศใช้ใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] ฉบับพิเศษเล่มที่ 102 ตอน 129 วันที่ [[19 กันยายน]] [[พ.ศ. 2528]] พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ [[20 กันยายน]] [[พ.ศ. 2528]] เป็นต้นมาจนปัจจุบัน
 
ปัจจุบัน ว่าที่ร้อยตรี ดร. [[ถวัลย์ รุยาพร]] ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกทนายความทั่วประเทศให้ดำรงตำแหน่ง นายกสภาทนายความ โดยเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2562 และ พ.ศ. 2562-2565
 
ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF</ref> โดยเป็นผู้ผลักดันโครงการทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจ ตามแผนการปฏิรูปประเทศที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ([[(Quick Win)]]) ของรัฐบาล ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562
 
== วัตถุประสงค์ของสภาทนายความ ==