ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 135:
! ลำดับ !! width=23%|รายนาม !! ประวัติ
|-
| 1 || อาจารย์ เจ.เอ. เอกิ้น ดี.ดี. (J.A.Eakin) || นับได้ว่าท่านเป็นผู้เสียสละทั้งตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ ทุนทรัพย์ส่วนตัว กำลังกาย และจิตใจเพื่อบริหารและพัฒนาโรงเรียนตั้งแต่สำเหร่จนก่อตั้งโรงเรียนสำเร็จ ตามเจตนารมย์ของท่าน
|-
| 2 || อาจารย์ ดับบริว ยี. แม๊คครัว (W.G. McClure) || เป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง พูดน้อยแต่กินความลึก มุ่งมั่นและตั้งใจประกาศกิตติคุณของพระผู้เป็นเจ้า
|-
| 3 || อาจารย์ อาร์.โอ. แฟรงกลิ้น (R.O.FRANKLIN) || ท่านสนใจกีฬาและดนตรีเป็นพิเศษ
|-
| 4 || อาจารย์ เอ็ม.บี.ปาล์มเมอร์ (M.B. PALMER) || ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนานถึง 19 ปี และพัฒนาโรงเรียนอย่างมาก กิจกรรมของโรงเรียน เช่น วงดุริยางค์ กองลูกเสือ กรีฑา ฟุตบอล ด้านศาสนา และทางด้านวิชาการ ได้รับการเอาใจใส่ดูแล ทำให้ชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดสีประจำโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย "สีม่วง" และ "สีทอง" กำหนดเครื่องแต่งกายนักเรียน เดิมเพลงประจำโรงเรียนคือ Soldier's Chorus ต่อมา อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ได้แต่งเพลง กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ร่วมกับอาจารย์เจริญ วิชัย ที่ร้องกันอยู่ทุกวันนี้ ท่านเป็นผูคิดคติพจน์ของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ว่า "Honesty is the best policy" อีกทั้งท่านมีโครงการพัฒนาบุคลากร โดยส่งครูไปศึกษาต่อต่างประเทศเพื่อบริหารงานของโรงเรียนต่อไป คือ อาจารย์เจริญ วิชัย และอาจารย์อารีย์ เสมประสาท คณะมิชชันนารีมีโครงการจะสร้างมหาวิทยาลัยคริสเตียนในอนาคต ท่านได้รับมอบหมายให้จัดซื้อที่ดินเพื่อการกล่าว ท่านได้ตกลงซื้อที่ดินตำบลบ้านกล้วย จากท่านเจ้าคุณภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) เมื่อวันที่ [[24 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2469]] เนื้อที่ 80 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา ในราคา 60,000 บาท (ตารางวาละ 2 บาท) เดิมเป็นป่ารก ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทางการได้ตัดถนนสุขุมวิทผ่านที่ดินของโรงเรียน จึงทำให้ที่ดินเจริญขึ้น แต่ในระหว่างนั้น รัฐบาลไม่มีนโยบายให้เอกชนจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โครงการตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จึงไม่อาจกระทำได้ คณะมิชชันนารีจึงตกลงขายที่ดินที่บ้านกล้วยแก่กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่[[4 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2504]] ในราคา 22 ล้านบาทเพื่อนำมาพัฒนาโรงเรียนที่ถนนประมวญต่อไปทั้งนี้ไดทำการปรับปรุงเป็นอาคารเรียนทันสมัยและสวยงามเสร็จเรียบร้อยในปี [[พ.ศ. 2508]]
|-
| 5 || มิส เอ.กอล์ท (Miss ANNABEL GALT) || ท่านดำรงตำแหน่งครูใหญ่หลายครั้ง ฝึกนักเรียนขับร้อง และอ่านโน้ตเพลง อีกทั้งชอบจดสถิติคะแนนสอบไล่ของนักเรียน
|-
| 6 || ดร.อี.เอ็ม.เท็ตต์ (E.M.TATE) || ท่านเน้นหนักในการพัฒนาด้านวิชาการของโรงเรียน
|-
| 7 || อาจารย์เจริญ วิชัย || ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 คณะมิชชันนารีถูกควบคุมตัวในฐานะนักโทษสงคราม ญี่ปุ่นส่งกองทหารมาประจำโรงเรียน 1 กองร้อย ท่านอาจารย์และคณะครูไทย คือ อาจารย์อารีย์ เสมประสาท อาจารย์ทองสุก มังกรพันธุ์ อาจารย์สวัสดิ์ พฤกษาพงศ์ อาจารย์สุรเดช เผ่าศรีทองคำ และอาจารย์ประยูร คลังนุช ได้เปิดโรงเรียนชั่วคราวที่ซอยพร้อมพงษ์ นอกจากนี้ ท่านยังสนใจการกีฬา ดนตรี และวิชาการต่างๆ
|-
| 8 || อาจารย์เล็ก ไทยง || ท่านเป็นผู้วางระเบียบปฏิบัติหน้าที่ภายในโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบกึ่งราชการ
|-
| 9 || อาจารย์อารีย์ เสมประสาท || ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ชั้นม.3 ตั้งแต่ปี 2463 สมัยอาจารย์ปาล์มเมอร์ จนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 ด้วยคะแนนที่ 1 ตลอด 4 ปีสุดท้าย ภายหลังจากนั้นท่านสอนหนังสือกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ต่อมาได้รับทุนของคณะ "อินเตอร์เนชั่นแนลเชิร์ช" เพื่อศึกษาวิชาครูที่ ฟิลิปปินส์ คอลเลจ และปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น แคลิฟอร์เนีย กลับมาสอนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งแต่จบการศึกษาปี 2494 จนเกษียณอายุ ท่านอุทิศตนเพื่อพัฒนาโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ด้วยชีวิตและจิตใจ เป็นอาจารย์ที่ศิษย์โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย รักและยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคล สมดังที่ศิษย์และครูโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เรียกท่านว่า "ป๋า"
|-
| 10 || ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สิงห์โต จ่างตระกูล || ท่านได้พัฒนาด้านการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สู่การบริหารระบบแบบใหม่ ท่านควบคุมดูแลและรับผิดชอบอาคารเรียน หอธรรม และอื่นๆ
|-
| 11 || อาจารย์บุญเกียรติ นิลมาลย์ || การพัฒนาการศึกษาอย่างไม่หยุดยั้งของระบบการศึกษาไทย ท่านอาจารย์มีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก ในงานก่อสร้างอาคารศูนย์วิทยบริการสูง 16 ชั้น หรือชื่อพระราชทานว่า "สิรินาถ" มูลค่ากว่า 240 ล้านบาท สำเร็จจากความสามารถของท่านโครงการ BCCI อันเป็นโรงเรียนนานาชาติ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เนื้อที่กว่า 100 ไร่ โดยการริเริ่มของสมาคมศิษย์เก่า และโรงเรียน ท่านเป็นผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดโครงการดังกล่าวในอนาคตข้างหน้าเพื่อ "เป็นศักดิ์เป็นศรีประเทศชาติไทย"
|-
| 12 || อาจารย์ประกอบ พรหมบุตร ||
|-
| 13 || ดร.จารีต องคะสุวรรณ ||
|-
| 14 || ดร.วรนุช ตรีวิจิตรเกษม ||อาจารย์ดำรงต่ำแหน่งมาตำแหน่งมา 12 ปี ได้สร้างความก้าวหน้า ให้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ในหลายๆด้าน ทั้งด้านกิจกรรม ด้านวิชาการ และด้านอื่นๆอีกมากมาย
|-
| 15 || ดร.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์<ref>[http://www.bcc.ac.th/2014/board.html ผู้บริหารโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย]</ref> ||อาจารย์ศุภกิจ เป็นผู้ที่มีความคิด วิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน อาจารย์ได้ริเริ่มการแต่งชุดไปรเวท เปลี่ยนระบบ การเรียน สายวิทย์-ศิลป์ เป็น ระบบ Track ต่างๆ และคิดโครงการ Space Program ที่จะส่งดาวเทียม ไปยังอวกาศ ด้วยฝีมือของนักเรียนมัธยม โดยมีอาจารย์หลายๆท่าน เป็นที่ปรึกษา และเป็นที่รักของนักเรียน ก.ท
|-
|16