ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดจันทบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Love Art Sweet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
}}
 
'''จังหวัดจันทบุรี''' เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเล[[ภาคตะวันออก]]ของ[[ประเทศไทย]] มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้, ภูเขา, ที่ราบสูง, ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด<ref name="พืชป่า">{{cite web|url=http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/chanthaburi3.htm|title=จังหวัดจันทบุรี 3|publisher=สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม|accessdate=15 April 2014}}</ref> มีอาณาเขตติดต่อกับ[[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] และ[[จังหวัดสระแก้ว|สระแก้ว]]ทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับ[[จังหวัดตราด]] และ[[ประเทศกัมพูชา]] ทิศใต้ติดกับ[[อ่าวไทย]] และทิศตะวันตกติดกับ[[จังหวัดระยอง]] และ[[จังหวัดชลบุรี|ชลบุรี]] อยู่ห่างจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ประมาณ 238 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด<ref>{{cite web|url=http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/14.htm|title=จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดจันทบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553|publisher=สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ|accessdate=15 April 2014}}</ref> โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง<ref>{{cite web|url=http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/chanthaburi1.htm|title=จังหวัดจันทบุรี 1|publisher=สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม|accessdate=15 April 2014}}</ref> และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัด คือ [[ศาสนาพุทธ]]
 
== ประวัติศาสตร์ ==
[[ไฟล์:ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช จันทบุรี.jpg|thumb|ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี]]
จันทบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ก่อตั้งโดยชนชาติ[[ชอง]] จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อ[[ประวัติศาสตร์ไทย]]อยู่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ใช้จังหวัดจันทบุรีในการรวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหาร ครั้งที่ 2 เกิดสงคราม[[อานัมสยามยุทธ]]ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และครั้งที่ 3 [[ฝรั่งเศส]]ยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกันหลังจากเกิด[[วิกฤตการณ์ปากน้ำ]]ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีความสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์ และมีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ส่งผลให้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมนคือ พระเจ้าพรหมทัต ([[พ.ศ. 1349]]-[[พ.ศ. 1399|1399]]) ครั้นถึงปี [[พ.ศ. 1800]] ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับ[[แม่น้ำจันทบุรี]]ในปัจจุบัน.
 
ต่อมาปี [[พ.ศ. 2200]] ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี [[พ.ศ. 2310]] หลังจาก[[กรุงศรีอยุธยา]] [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่า'''เจ้าขรัวหลาน'''(ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูร จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไป[[ราชอาณาจักรกัมพูชา|อาณาจักรกัมพูชา]]จนถึงแก่อสัญกรรม เมือง[[จันทบุรี]]จึงตกเป็นของ[[สยาม]]นับแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2436]] [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]ได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี<ref>[http://www.thapra.lib.su.ac.th/dbcollection/rarebook/showrarebook.asp?id=1254 "เหตุสงครามระหว่างสยามกับฝรั่งเศสและจดหมายเหตุฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447)." พระนคร: กรมศิลปากร, 2483.]</ref> เนื่องจากสยามมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของ[[แม่น้ำโขง]] โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าสยามล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนสยามได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของสยาม ฝ่ายสยามเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายสยามต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่ง 1 ล้านฟรังก์ และสาม 3 ล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จฝรังเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางสยามดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายสยามจึงต้องยอมยกเมือง[[ตราด]] และเมือง[[ประจันตคีรีเขตร์]] ([[เกาะกง]]) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาสยามยอมยกเมือง[[พระตะบอง]], [[เสียมราฐ]] (เสียมเรียบ) และ[[ศรีโสภณ]] เพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในอาณาเขต[[ประเทศกัมพูชา]] ต่อมามีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]] จัดตั้ง[[มณฑลจันทบุรี]] โดยมีเมืองจันทบุรี, [[ระยอง]] และ[[ตราด]] อยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี [[พ.ศ. 2476]] ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาล และได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้
 
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Lam Sing beach 01.JPG|200px|thumbnail|ชายหาดแหลมสิงห์]]
จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ทาง[[ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)|ภาคตะวันออก]]ของประเทศไทย โดยอยู่ห่างจาก[[กรุงเทพมหานคร]] เมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 245 กิโลเมตร<ref>{{cite web|url=http://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87|title=ข้อมูลการเดินทางในจันทบุรี|publisher=การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย|accessdate=16 April 2014}}</ref> จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 6,338 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูงและภูเขา ภูมิอากาศของจังหวัดมีลักษณะแบบมรสุมเขตร้อน<ref name="อากาศ">{{cite web|url=http://www.ldd.go.th/web_UNCCD/dryland/page1.htm|title=ความแห้งแล้งในประเทศไทย |publisher=กรมพัฒนาที่ดิน|accessdate=16 April 2014}}</ref> จุดสูงสุดของจังหวัดอยู่ที่ยอดเขาสอยดาวใต้ ซึ่งเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในภาคตะวันออก โดยมีความสูง 1,675 เมตร<ref name="location">{{cite web|url=http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/location.html|title=ข้อมูลประจำจังหวัดจันทบุรี|publisher=สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี|accessdate=16 April 2014}}</ref>
=== ลักษณะภูมิประเทศ ===
จังหวัดจันทบุรีมีลักษณะภูมิประเทศอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.ภูเขาและเนินสูง 2.ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา 3.ที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยในบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัดจะเป็นเขตภูเขาสูง เช่น เทือกเขาบรรทัด, เทือกเขาจันทบุรี เป็นต้น บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย รวมถึงเป็นแนวที่กั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดจันทบุรีและ, [[จังหวัดระยอง]], [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] และ[[จังหวัดสระแก้ว]]<ref name="location"/><ref name="สรรพากร">{{cite web|url=http://www.rd.go.th/chanthaburi/43.0.html|title=ลักษณะภูมิประเทศ|publisher=สำนักงานสรรพากรจังหวัดจันทบุรี|accessdate=19 April 2014}}</ref> ในส่วนของที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขานั้นจะตั้งอยู่ในเขต[[อำเภอสอยดาว]], [[อำเภอโป่งน้ำร้อน]], พื้นที่ตอนกลางของ[[อำเภอขลุง]] รวมไปถึงทางตะวันออกของ[[อำเภอมะขาม]], [[อำเภอแก่งหางแมว]], [[อำเภอเขาคิชฌกูฏ]] และทางตอนเหนือของ[[อำเภอท่าใหม่]]<ref name="สรรพากร"/> โดยบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น<ref name="mod"/> ในส่วนพื้นที่สุดท้ายของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำคลองโตนด, ที่ราบลุ่มแม่น้ำพังราด, ที่ราบลุ่มแม่น้ำจันทบุรี และที่ราบลุ่มแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตอำเภอนายายอาม, เมืองจันทบุรี และขลุง รวมถึงพื้นที่บางส่วนของอำเภอแก่งหางแมว เขาคิชฌกูฏและอำเภอท่าใหม่<ref name="สรรพากร"/> สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลมักมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลแคบ ๆแคบๆ มีการทับถมของตะกอนทราย ที่ราบชายฝั่งทะเลบางแห่งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำส่งผลให้บริเวณนั้นมีดินโคลนผสมด้วย บริเวณที่พบที่ราบชายฝั่งทะเลได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอนายายอาม, อำเภอท่าใหม่, อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง<ref name="mod"/>
=== ลักษณะภูมิอากาศ ===
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน<ref name="อากาศ"/> โดยได้รับฝนจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้<ref>{{cite web|url=http://www.arcims.tmd.go.th/Research_files/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89.pdf|title=มรสุมตะวันตกเฉียงใต้|publisher=สำนักภูมิสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา|accessdate=19 April 2014}}</ref> มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ 6 เดือนต่อปี โดยเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 500 มิลลิเมตรต่อเดือน<ref name="ปริมาณฝน">{{cite web|url=http://www.tmd.go.th/province_stat.php?StationNumber=48480|title=จันทบุรี - ค่าเฉลี่ย 30 ปี (2504-2533)|publisher=กรมอุตุนิยมวิทยา|accessdate=19 April 2014}}</ref> จังหวัดจันทบุรีมี 3 ฤดูกาลคือฤดูฝน (มิถุนายน - ตุลาคม), ฤดูหนาว (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม)<ref>{{cite web|url=http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/location.html|title=ข้อมูลประจำจังหวัดจันทบุรี|publisher=สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี|accessdate=19 April 2014}}</ref> โดยที่ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นช้ากว่า[[ภาคอีสาน (ประเทศไทย)|ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] และ[[ภาคเหนือ]]ของประเทศ<ref>{{cite web|url=http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=22|title=ความรู้อุตุนิยมวิทยา|publisher=กรมอุตุนิยมวิทยา|accessdate=19 April 2014}}</ref>
 
จังหวัดจันทบุรีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23 - 31 องศาเซลเซียสในแต่ละปี โดยที่อุณหภูมิในแต่ละฤดูของจังหวัดจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อันเนื่องมาจากการตั้งอยู่ใกล้กับทะเล สำหรับอุณหภูมิในแต่ละฤดูนั้น ฤดูฝนมีอุณหภูมิระหว่าง 24 - 30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22 - 31 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 23 - 33 องศาเซลเซียส<ref name="ปริมาณฝน"/>
บรรทัด 128:
ทรัพยากรดินในจังหวัดจันทบุรีมีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินปูน ทำให้ดินมีความเป็นด่างเหมาะแก่การปลูกผลไม้อันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี<ref>{{cite web|url=http://www.wt.ac.th/~janeruedee/sto01head2.html|title= ทรัพยากรดิน|publisher=โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต |accessdate=18 April 2014}}</ref> ดินมีลักษณะเป็นดินตื้นถึงลึกอันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศ โดยดินส่วนมากของจังหวัดจันทบุรีเป็นดินที่สามารถระบายน้ำออกได้ดีถึงดีมาก<ref>{{cite web|url=http://61.19.54.141/research/r_and_d/News/data_prov/d_chanthaburi/chantaburi.doc|title= ข้อมูลสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี|publisher=สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี|accessdate=18 April 2014}}</ref> อย่างไรก็ตามจังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร โดยปัญหาทรัพยากรดินที่พบมากที่สุดคือดินเค็มในบริเวณชายฝั่งทะเล ดินตื้นและดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน<ref>{{cite web|url=http://r02.ldd.go.th/Website_station/cti01/soil_proplem.html|title= ปัญหาทรัพยากรดินและการปรับปรุงแก้ไข|publisher=สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดจันทบุรี|accessdate=18 April 2014}}</ref>
 
ในส่วนของทรัพยากรน้ำในจังหวัดจันทบุรีนั้น แม้ว่าจังหวัดจันทบุรีจะอยู่ในพื้นที่ทึ่มีฝนตกชุก แต่จันทบุรียังคงประสบกับปัญหาภาวะความแห้งแล้งในพื้นที่ของจังหวัดเนื่องจากแม่น้ำทั้งหมดในจังหวัดเป็นเพียงแม่น้ำสายสั้น ๆสั้นๆ และมีขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำพังราด (30 กิโลเมตร), แม่น้ำวังโตนด (6 กิโลเมตร), [[แม่น้ำเวฬุ]] (88 กิโลเมตร) และ[[แม่น้ำจันทบุรี]] (123 กิโลเมตร)<ref name="mod">{{cite web|url=http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/chanthaburi1.htm|title= จังหวัดจันทบุรี
|publisher=สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม|accessdate=18 April 2014}}</ref> เป็นต้น ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่[[อ่าวไทย]]อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้หากมีปริมาณฝนในจังหวัดจันทบุรีมากเกินไป ปริมาณน้ำอาจจะเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆต่างๆ ได้อีกด้วย จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ เขื่อนคีรีธาร, อ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย, เขื่อนพลวง และเขื่อนทุ่งเพล<ref>{{cite web|url=http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=itemlist&layout=category&task=category&id=62&Itemid=668|title= เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ|publisher=chanthaboon|accessdate=18 April 2014}}</ref>
 
===สัตว์ป่าและพันธุ์พืช===
[[ไฟล์:Lvvangcanthabuun.jpg|thumbnail|200px|เหลืองจันทบูร]]
จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในภาคตะวันออก โดยคิดเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนพื้นที่ป่าไม้ทั้งภาค<ref>{{cite web|url=http://chm-thai.onep.go.th/chm/ForestBio/Complexes-forest-area-provin.html|title=เนื้อที่ป่าไม้แยกรายจังหวัด |publisher=สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ|accessdate=16 April 2014}}</ref> อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบในอดีตจะพบว่าจังหวัดจันทบุรีสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นจำนวนมาก เพราะเดิมทีจังหวัดจันทบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้มากกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัด<ref>{{cite web|url=http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=683:seub&catid=65:2009-11-12-08-43-25&Itemid=80|title=สถานการณ์ป่าไม้ประเทศไทย ในวาระ 21 ปี สืบ นาคะเสถียร|publisher=มูลนิธิสืบนาคะเสถียร|accessdate=16 April 2014}}</ref> โดยสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบตัดไม้ การบุกรุกของราษฎรและการขาดการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่<ref>{{cite web|url=http://www.haii.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81|title=สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง|publisher=สถาบันสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร|accessdate=16 April 2014}}</ref> ในปัจจุบันมีการประกาศให้พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดจันทบุรีขึ้นเป็น[[อุทยานแห่งชาติ]] 3 แห่ง คือ [[อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ]], [[อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น]] และ[[อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว]]<ref>{{cite web|url=http://park.dnp.go.th/visitor/indexnationpark.php|title=อุทยานแห่งชาติ|publisher=กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช|accessdate=16 April 2014}}</ref> [[วนอุทยานแห่งชาติ]] 1 แห่งคือ [[วนอุทยานแห่งชาติแหลมสิงห์]]<ref>{{cite web|url=http://park.dnp.go.th/visitor/indexforestpark.php|title=วนอุทยานแห่งชาติ|publisher=กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช|accessdate=16 April 2014}}</ref> และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า]] 3 แห่งคือ [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว]] [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน]] และ[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย]]<ref>{{cite web|url=http://chm-thai.onep.go.th/chm/PA/Detail/list_wildlife.html|title=รายชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า|publisher=สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ|accessdate=16 April 2014}}</ref>
 
สำหรับพืชที่ค้นพบในจังหวัดจันทบุรีมีอยู่หลายประเภท ที่สำคัญคือ[[สำรอง]] และ[[จัน]] ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของจันทบุรี ในส่วนของพืชชนิดอื่น ๆอื่นๆ ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ สอยดาว, [[ชะมวง]], [[กฤษณา]], [[กระวาน]] และ[[เหลืองจันทบูร]] อันเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด<ref name="พืชป่า"/><ref>{{cite web|url=http://www.m-culture.go.th/chanthaburi/index.php/2013-06-07-07-41-19/2013-10-17-20-17-36/item/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94|title=ต้นไม้ประจำจังหวัด|publisher=สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี|accessdate=17 April 2014}}</ref> นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังค้นพบพืชเฉพาะถิ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เนตรม่วง (''Microchirita purpurea'') ซึ่งพบได้เฉพาะในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?NewsID=9560000155546|title=อย่างไรเรียกว่า...สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่?|publisher=ASTVผู้จัดการออนไลน์|accessdate=17 April 2014}}</ref> เป็นต้น
 
สำหรับในส่วนของสัตว์ป่าในจังหวัดจันทบุรีนั้นพบว่ามี[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] 122 ชนิด, [[นก]] 276 ชนิด, สัตว์เลื้อยคลานไม่น้อยกว่า 88 ชนิด, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 29 ชนิด และปลาน้ำจืดอีกกว่า 47 ชนิด<ref name="animal">{{cite web|url=http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/animal.html|title=ธรรมชาติวิทยา สัตว์ท้องถิ่นของจันทบุรี|publisher=สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี|accessdate=17 April 2014}}</ref> จึงนับได้ว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างมาก ในจำนวนสัตว์เหล่านี้มีสัตว์ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น [[กบอกหนาม]], [[นกกระทาดงจันทบุรี]], [[นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงิน]] และ[[นกสาลิกาเขียวหางสั้น]] เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ในบริเวณจังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวใน[[ประเทศไทย]]เท่านั้น<ref name="animal"/><ref>{{cite web|url=http://www.as.mju.ac.th/E-Book/t_prapakorn/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20%E0%B9%91%E0%B9%91%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.pdf|title=การจัดสถานภาพการถูกคุกคามของนกที่พบในประเทศไทย|publisher=คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้|accessdate=17 April 2014}}</ref> นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่สำคัญอีกชนิด คือ [[ปลาบู่มหิดล]] ที่มีการค้นพบในจังหวัดจันทบุรี แต่มีกระจายตัวอยู่ใน[[จังหวัดระนอง]] และ[[จังหวัดภูเก็ต]]ด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.fisheries.go.th/fish/web2/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C.doc|title=ปลาบู่มหิดล : ปลาเกียรติยศของพระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย|publisher=กรมประมง|accessdate=17 April 2014}}</ref>
 
==การเมืองการปกครอง==
จังหวัดจันทบุรีมีรูปแบบการปกครองทั้งในรูปแบบการแบ่งอำนาจและการกระจายอำนาจ โดยในปัจจุบันจังหวัดจันทบุรีมีการแบ่งอำนาจออกเป็น 10 อำเภอ และมีจำนวนเทศบาลตามหลักการกระจายอำนาจ 45 เทศบาล, 1 [[องค์การบริหารส่วนจังหวัด]] และ 34 [[องค์การบริหารส่วนตำบล]] ในส่วนของการเมืองระดับชาตินั้น จังหวัดจันทบุรีมีเขตการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] 3 เขต และเขตการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 1 เขต
=== หน่วยการปกครอง ===
[[ไฟล์:Amphoe Chanthaburi.svg|200px|แผนที่จังหวัดจันทบุรี|thumbnail]]
บรรทัด 250:
[[ไฟล์:Chanthaburi Constituencies for MPs 2014.svg|thumbnail|200px|เขตการเลือกตั้งของจังหวัดจันทบุรี]]
{{ดูเพิ่มที่|เทศบาลเมือง|รายชื่อเทศบาลตำบลในประเทศไทย}}
จังหวัดจันทบุรีมีหน่วยการปกครองในรูปแบบกระจายอำนาจทั้งสิ้น 80 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 5 แห่ง, เทศบาลตำบล 40 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 34 แห่ง<ref name="tesaban">{{cite web|url=http://www.dla.go.th/work/abt/download/tesaban_25560727.xls|title=รายชื่อเทศบาลเมือง จำนวน 171 แห่ง|publisher=สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น|accessdate=15 April 2014}}</ref><ref name="TAO">{{cite web|url=http://www.dla.go.th/work/abt/download/abt_25560727.xls|title=รายชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5,492 แห่ง|publisher=สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น|accessdate=15 April 2014}}</ref> ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีได้รับการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 โดยมีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดจันทบุรี<ref>{{cite web|url=http://www.chan-pao.go.th/data-id1.html|title=ประวัติความเป็นมา|publisher=องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี|accessdate=15 April 2014}}</ref> โดยมีหน้าที่หลักในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงประสานและร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆต่างๆ ในการวางแผนพัฒนาจังหวัด<ref>{{cite web|url=http://www.chan-pao.go.th/data-id2.html|title=อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี|publisher=องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี|accessdate=15 April 2014}}</ref> ปัจจุบันมีนายธนภณ กิจกาญจน์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีคนปัจจุบัน<ref>{{cite web|url=http://www.chan-pao.go.th/data-id3.html|title=โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี|publisher=องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี|accessdate=15 April 2014}}</ref> สำหรับหน่วยการปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลนั้นเริ่มขึ้นครั้งแรกในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี โดยมีการจัดตั้งสุขาภิบาลจันทบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2451<ref>{{cite web|url=http://travel.thaiza.com/-%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5/219183/|title="ชุมชนเก่าท่าหลวง (ถนนสุขาภิบาล)" ชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรี|publisher=travel.thaiza|accessdate=15 April 2014}}</ref> ซึ่งต่อมาได้มีการยกฐานะเป็น[[เทศบาลเมืองจันทบุรี]]ในปี พ.ศ. 2478<ref>{{cite web|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/1641.PDF|title=พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘|publisher=ราชกิจจานุเบกษา|accessdate=15 April 2014}}</ref>
 
=== การเมืองระดับชาติ ===
บรรทัด 446:
==เศรษฐกิจ==
{{bar box|title=ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดจันทบุรี ณ ราคาตลาด|titlebar=#ddd|left1=ผลิตภัณฑ์|right1=ร้อยละ|float=right|bars={{bar percent|[[เกษตรกรรม]]|green|55}} {{bar percent|อื่น ๆ|orange|19}} {{bar percent|[[การค้า]]|blue|13}} {{bar percent|[[อุตสาหกรรม]]|red|6}} {{bar percent|[[การก่อสร้าง]]|yellow|4}} {{bar percent|[[การประมง]]|gray|3}}}}
จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดย[[รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด|ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด]]จันทบุรีเกินครึ่งหนึ่งมาจากภาคเกษตรกรรม รองลงมาเป็นอุตสาหกรรม, การก่อสร้าง, การศึกษา และภาคส่วนอื่น ๆอื่นๆ ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2555 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดจันทบุรีรวมมูลค่าทั้งสิ้น 100,901 ล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 22 ของประเทศและมี[[รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว|ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว]] 200,876 บาทต่อปี<ref name="eco chan">{{cite web |url=http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/account/gpp/2012/GPP%201995-2012.xls|publisher=สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ|title=GROSS PROVINCIAL PRODUCT AT CURRENT MARKET PRICES|accessdate=20 April 2014}}</ref> ในส่วนของรายได้ที่แท้จริงของประชากรในจังหวัดจันทบุรีนั้น ประชากรในจังหวัดมีรายได้เฉลี่ย 7,784 บาทต่อเดือนและมีรายจ่ายเฉลี่ย 6,655 บาทต่อเดือน สัดส่วนของคนจนในจังหวัดจันทบุรีเมื่อพิจารณามิติของรายได้พบว่ามีประชากรร้อยละ 8.8 อยู่ในสภาวะยากจน<ref>{{cite web |url=http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/poverty/files/52/cen/22/C1.pdf|publisher=สำนักงานสถิติแห่งชาติ|title=จังหวัด จันทบุรี :
ตาราง 4 ตัวชี้วัดในแผนที่ความยากจน ในภาพรวม พ.ศ. 2552 : มิติค่าใช้จ่าย|accessdate=20 April 2014}}</ref><ref>{{cite web |url=http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/poverty/files/52/cen/22/I1.pdf|publisher=สำนักงานสถิติแห่งชาติ|title=จังหวัด จันทบุรี :
ตาราง 4 ตัวชี้วัดในแผนที่ความยากจน ในภาพรวม พ.ศ. 2552 : มิติรายได้|accessdate=20 April 2014}}</ref>
===เกษตรกรรม===
ภาคส่วนเกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในจังหวัดจันทบุรี โดยในปี พ.ศ. 2555 ภาคส่วนเกษตรกรรมมีผลิตภัณฑ์มวลรวมเท่ากับ 56,262 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.76 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2555 จะพบว่าภาคส่วนทางด้านเกษตรกรรมในภาพรวมมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี<ref name="eco chan"/> สำหรับภาคส่วนเกษตรกรรมที่มีความสำคัญของจังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก โดยพืชที่นิยมปลูกมากในจังหวัดจันทบุรี คือ พืช[[ผลไม้|ไม้ผล]], [[พริกไทย]] และ[[ยางพารา]]
 
ไม้ผลที่เกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกมาก คือ [[มังคุด]], [[ทุเรียน]], [[สละ]] และ[[เงาะ]]<ref>{{cite web |url=http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/product5.html|publisher=สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี|title=พืชพรรณไม้ประจำถิ่น|accessdate=21 April 2014}}</ref> เนื่องจากจันทบุรีมีสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับปลูกผลไม้เหล่านี้ทำให้จังหวัดจันทบุรีมีผลไม้เหล่านี้เป็นจำนวนมากและมีคุณภาพดี<ref>{{cite web |url=http://travel.kapook.com/view26028.html|publisher=Kapook|title=แวะชิม แวะเที่ยว สวนผลไม้จันทบุรี|accessdate=21 April 2014}}</ref> โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนซึ่งจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย<ref>{{cite web |url=http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5312119|publisher=chanforchan|title=เปิดสวนจังหวัดจันทบุรี|accessdate=21 April 2014}}</ref> ผลไม้อีกชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากของจังหวัดจันทบุรี คือ สละเนินวง โดยปลูกมากในบริเวณ[[ค่ายเนินวง]] ตำบลบางกะจะ<ref>{{cite web |url=http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=item&id=301:noen-wong-zalacca&Itemid=662|publisher=chanthaboon|title=สละเนินวง|accessdate=21 April 2014}}</ref> ผลไม้ของจังหวัดจะออกสู่ตลาดในช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนของทุกปี<ref>{{cite web |url=http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=item&id=194:sensation-fruits&Itemid=604|publisher=chanthaboon|title=ผลไม้เลื่องชื่อ|accessdate=21 April 2014}}</ref> อย่างไรก็ตามปริมาณผลไม้ของจังหวัดในแต่ละปีจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ หากเกิดภาวะภัยแล้งขึ้นในจังหวัด ปริมาณผลไม้ที่จะออกสู่ตลาดในปีนั้นจะมีปริมาณลดลง<ref>{{cite web |url=http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000027237|publisher= ASTVผู้จัดการออนไลน์|title=ภัยแล้งจันทบุรี ทำพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 5 หมื่นไร่|accessdate=21 April 2014}}</ref>
[[ไฟล์:Durians Markt Thailand.JPG|200px|thumbnail|ทุเรียน]]
จังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญมากของประเทศไทย โดยพื้นที่ปลูกพริกไทยร้อยละ 95 อยู่ในจังหวัดจันทบุรี<ref>{{cite web |url=http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=item&id=166:chanthaburi-pepper&Itemid=664|publisher= chanthaboon|title=พริกไทยพันธุ์ดี|accessdate=21 April 2014}}</ref> โดยพริกไทยสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดจันทบุรีปีละประมาณ 30 - 60 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพื้นที่การปลูกพริกไทยลดลงเป็นอย่างมาก จากการที่เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและปัญหาด้านต้นทุนการผลิต โดยเกษตรกรเหล่านี้จะเปลี่ยนจากการปลูกพริกไทยเป็น[[แก้วมังกร]]และยางพารา<ref>{{cite web |url=http://www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?nid=390&filename=index|publisher= สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์|title=พริกไทยจันทบุรี : พืชเศรษฐกิจที่ชาวสวนต้องรักษาไว้|accessdate=21 April 2014}}</ref>
บรรทัด 461:
===อัญมณี===
[[ไฟล์:Cut Ruby.jpg|200px|thumbnail|ทับทิม]]
จังหวัดจันทบุรีได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางด้านอัญมณีแห่งหนึ่งของโลก<ref name="asia time">{{cite web |url=http://www.atimes.com/atimes/Southeast_Asia/DL04Ae03.html|publisher= Asia Times Online|title=Thailand's gem capital|accessdate=22 April 2014}}</ref> โดยกิจการเหมืองอัญมณีของจังหวัดจันทบุรีเริ่มเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่พบหลักฐานในจดหมายเหตุคราว[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พ.ศ. 2419 ความว่า ''"ได้มีราษฎรนำเอาผลไม้และพลอย หลากสีมาถวาย"''<ref name="พลอย">{{cite web |url=http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=item&id=165:chanthaboon-jewels&Itemid=663|publisher= chanthaboon|title=พลอยเมืองจันท์|accessdate=22 April 2014}}</ref> อัญมณีที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดจันทบุรีมีหลายชนิด เช่น ไพลิน, สตาร์, บุษราคัม แต่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ''ทับทิมสยาม'' ซึ่งมีชื่อเสียงมากในระดับโลก<ref>{{cite web |url=http://www.aiyaragems.com/content.aspx?id=70|publisher= ร้านเพชรไอยราเจมส์|title=ความรู้เรื่องพลอย|accessdate=22 April 2014}}</ref> อัญมณีดังกล่าวเหล่านี้มักขุดหาจากเหมืองในบริเวณเขารอบ ๆรอบๆ ตัวเมืองจันทบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณเขาพลอยแหวนและเขตตำบลบางกะจะ ซึ่งค้นพบอัญมณีเป็นจำนวนมาก<ref>{{cite web |url=http://www.lonelyplanet.com/thailand/chanthaburi-province/chanthaburi/sights/markets-bazaars/gem-market|publisher= lonely planet|title=Gem Market|accessdate=22 April 2014}}</ref><ref name="พลอย"/> อย่างไรก็ตามในปัจจุบันปริมาณอัญมณีที่ค้นพบในเขตจังหวัดจันทบุรีลดลงไปมาก ส่งผลให้ต้องนำเข้าอัญมณีจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก[[ประเทศมาดากัสการ์]]ใน[[ทวีปแอฟริกา]] เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบให้ช่างเจียระไนพลอยในจังหวัดจันทบุรีเป็นผู้เจียระไน การซื้อขายอัญมณีในจังหวัดจันทบุรีจะทำการซื้อขายในตลาดพลอย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าจันทบุรี โดยมีผู้ซื้อทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ<ref name="asia time"/> มีการคาดการณ์กันว่าใน 1 สัปดาห์มีเงินสะพัดอยู่ในตลาดพลอยประมาณ 200 - 500 ล้านบาท<ref>{{cite web |url=http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1377751400|publisher= ประชาชาติธุรกิจ|title=เจาะธุรกิจพลอยเมืองจันท์ "เยือนตลาดค้าพลอยร้อยล้าน"|accessdate=22 April 2014}}</ref>10330
 
===การท่องเที่ยว===
บรรทัด 469:
===การศึกษา===
{{ดูเพิ่มที่|รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดจันทบุรี}}
สถาบันการศึกษาในจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานทางภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยในส่วนภาคเอกชนมีองค์กรทางศาสนาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมจัดการศึกษาด้วย ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนใช้[[ภาษาไทย]]และ[[ภาษาอังกฤษ]] เป็นหลัก และมีการสอดแทรก[[ภาษาจีน]]และภาษาใน[[ทวีปยุโรป]]อื่น ๆอื่นๆ เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย โรงเรียนประจำจังหวัดของจันทบุรีมีทั้งสิ้น 2 แห่งคือ[[โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี]] (โรงเรียนประจำจังหวัดชาย) และ[[โรงเรียนศรียานุสรณ์]] (โรงเรียนประจำจังหวัดหญิง)<ref>{{cite web|url=http://www.bj.ac.th/main/?name=aboutus&file=history|title=ประวัติโรงเรียน และที่ตั้ง|publisher=โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี|date=22 December 2014}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.siya.ac.th/websiya/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=57|title=ประวัติโรงเรียน|publisher=โรงเรียนศรียานุสรณ์|date=22 December 2014}}</ref>
 
ในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดจันทบุรีที่เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตมีอยู่หลายแห่ง เช่น [[มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]], [[มหาวิทยาลัยบูรพา]] วิทยาเขตจันทบุรี, [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี]], [[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]] (วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรี), [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] (ศูนย์วิทยพัฒนาจันทบุรี) เป็นต้น
 
===สาธารณสุข===
บรรทัด 480:
* เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–ศรีราชา–บ้านฉาง–ระยอง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 (ถนนเมืองพัทยา-ระยอง) ระยะทางประมาณ 289 กิโลเมตร
* เส้นทางสายกรุงเทพฯ–ชลบุรี–แกลง–จันทบุรี โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (ถนนชลบุรี-แกลง) ระยะทางประมาณ 249 กิโลเมตร
* เส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน[[ปราจีนบุรี]] ผ่าน[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33]] (ถนนสุวรรณศร) เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 (ถนนจันทบุรี-สระแก้ว) ผ่านอำเภอสอยดาว, อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอมะขาม เข้าสู่จังหวัดจันทบุรี
* เส้นทางจันทบุรี–ตราด ระยะทาง 69.94 กิโลเมตร
* เส้นทางจันทบุรี–ระยอง ระยะทาง 111.67 กิโลเมตร
บรรทัด 501:
 
===ภาษา===
ชาวจันทบุรีใช้[[ภาษาไทย]]แบบภาคกลางเป็นภาษาทางราชการและใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามภาษาไทยที่ชาวจันทบุรีใช้พูดนั้นจะมีสำเนียง และหางเสียงที่แปลกจากภาษาไทยภาคกลาง<ref>{{cite web|url=http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/chanthaburi8.htm|title=จังหวัดจันทบุรี 8|publisher=สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม|accessdate=16 April 2014}}</ref> มีคำบางคำที่เป็นภาษาถิ่นเฉพาะ เช่น การใช้คำว่า ''ฮิ'' เป็นคำสร้อย การเรียกยายว่า ''แมะ'' เป็นต้น<ref>{{cite web|url=http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-7.html|title=ภาษาถิ่นตะวันออก|publisher=สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี|accessdate=16 April 2014}}</ref> นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังพบภาษาท้องถิ่นใน[[ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก]]ที่สำคัญอีก 1 ภาษา คือ [[ภาษาชอง]] ซึ่งเป็นภาษาที่พูดโดย[[ชาวชอง]] ส่วนใหญ่แล้วชาวชองมักตั้งถิ่นฐานในอำเภอมะขาม, อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอเขาคิชฌกูฎ<ref>{{cite web|url=http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/languages/292-ethnic/304-----m-s|title=ภาษาชอง|publisher=มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม|accessdate=16 April 2014}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=686&Itemid=56|title=ภาษาชอง|publisher=โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา|accessdate=16 April 2014}}</ref> ในปัจจุบันภาษาชองกำลังตกอยู่ในภาวะสูญหาย เนื่องจากพลเมืองชาวชองประมาณ 6,000 คน มีผู้ที่สามารถพูดภาษาชองได้เพียงแค่ 500 คนเท่านั้น<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9520000027549|title=ต่อลมหายใจ “มรดกภาษา” ฟื้นชาติพันธุ์ “ชอง” ผ่านห้องเรียน|publisher=ผู้จัดการออนไลน์|accessdate=16 April 2014}}</ref> ในส่วนของภาษาอื่น ๆอื่นๆ ที่มีประชากรในจังหวัดใช้สื่อสารในครัวเรือนเกิน 1,000 คนขึ้นไป ได้แก่ [[ภาษาเขมร]], [[ภาษาลาว]], [[ภาษาพม่า]] และ[[ภาษาอังกฤษ]]<ref>{{cite web|url=http://chanthaburi.nso.go.th/nso/project/table/files/chtburi/C-pop/2553/000/chtburi_C-pop_2553_000_01000600.xls|title=ตารางที่ 6 ประชากร จำแนกตามภาษาที่ใช้พูดในครัวเรือน เพศ และเขตการปกครอง|publisher=สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี|accessdate=16 April 2014}}</ref>
 
===ศาสนา===
[[ไฟล์:Church 02a.jpg|200px|thumbnail|ภายในของ[[อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล]]]]
จากการสำมะโนประชากรของจังหวัดจันทบุรีในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรส่วนมากในจังหวัดจันทบุรีนับถือ[[ศาสนาพุทธ]]คิดเป็นร้อยละ 97.95 รองลงมานับถือ[[ศาสนาคริสต์]]คิดเป็นร้อยละ 1.22, [[ศาสนาอิสลาม]]คิดเป็นร้อยละ 0.40, [[ศาสนาฮินดู]]คิดเป็นร้อยละ 0.03, ศาสนาอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.23 และมีผู้[[อศาสนา|ไม่นับถือศาสนาใด ๆ]] คิดเป็นร้อยละ 0.17<ref name="religion stat">{{cite web|url=http://chanthaburi.nso.go.th/nso/project/table/files/chtburi/C-pop/2553/000/chtburi_C-pop_2553_000_01000400.xls|title=ตารางที่ 4 ประชากร จำแนกตามศาสนา เพศ และเขตการปกครอง|publisher=สำนักงานสถิติจังหวัดจันทบุรี|accessdate=16 April 2014}}</ref> ในกลุ่มศาสนิกชนที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาพุทธส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล<ref name="religion stat"/> ในส่วนของคริสต์ศาสนิกชนในจังหวัดจันทบุรีพบมากที่สุดในเขต[[เทศบาลเมืองจันทนิมิต]]โดยมีผู้นับถือศาสนาคริสต์ถึงร้อยละ 50 จากประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล<ref>{{cite web|url=http://muangchanthanimit.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=52:2011-09-26-13-12-50&catid=25:2011-09-09-17-07-45&Itemid=53|title=ประวัติชุมชน|publisher=เทศบาลเมืองจันทนิมิต|accessdate=16 April 2014}}</ref>
 
==ประเพณีและวัฒนธรรม==
ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ทำให้มีประเพณีและวัฒธรรมที่หลากหลาย โดยประเพณีและวัฒนธรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น โดยมากแล้ววัฒนธรรมและประเพณีส่วนใหญ่ของจังหวัดนี้จะเกิดจากวิถีชีวิตและความเชื่อของคนในจังหวัด
=== เทศกาลและประเพณี ===
{{โครงส่วน}}
* '''[[ ประเพณีการนมัสการรอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี]]''
=== อาหาร ===
จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีพืชพันธุ์หลากหลายชนิด ส่งผลให้มีการนำพืชพันธุ์เหล่านั้นเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหาร สำหรับอาหารที่ขึ้นชื่อมากที่สุดของจังหวัดจันทบุรี คือ ''แกงหมูชะมวง'' ซึ่งใช้ใบ[[ชะมวง]]เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงขึ้น มีรสชาติทั้งสิ้น 3 รส คือ เค็ม, เปรี้ยว และหวาน อาหารอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดจันทบุรีเป็นอย่างมาก คือ ''ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเลียงหรือหมูเลียง'' โดยนำก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ ซึ่งเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่เปื่อยง่าย เข้ามาผสมผสานกับน้ำก๋วยเตี๋ยวที่ปรุงจากเครื่องเทศและวัตถุดิบอื่น ๆอื่นๆ ในส่วนอาหารอื่น ๆอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ น้ำพริกปูไข่, แกงเนื้อ, แกงหมู, ก๋วยเตี๋ยวผัดปู, น้ำพริกเกลือ, น้ำพริกระกำ และอาหารทะเลจานต่าง ๆต่างๆ เป็นต้น<ref name="food">{{cite web|url=http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/product1.html|title=อาหารประจำท้องถิ่น|publisher=สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี|accessdate=11 June 2014}}</ref>
 
ในส่วนของอาหารว่างและเครื่องดื่มของจังหวัดจันทบุรีนั้นมีหลายอย่างที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในส่วนของอาหารว่างที่สำคัญคือ ''ข้าวเกรียบอ่อนน้ำจิ้ม'' ซึ่งมีลักษณะใหญ่กว่า[[ข้าวเกรียบปากหม้อ]]โดยทั่วไป ''ทองม้วนอ่อน'' ซึ่งจะมีรสชาติแตกต่างไปตามวัตถุดิบที่เข้ามาเป็นส่วนผสมและ ''[[ปาท่องโก๋]]'' ซึ่งมีความแตกต่างจากปาท่องโก๋ในจังหวัดอื่นที่น้ำจิ้ม โดยน้ำจิ้มปาท่องโก๋ของจังหวัดจันทบุรีจะเป็นน้ำจิ้มที่มีรสหวานออกเปรี้ยว<ref name="food"/> ในส่วนของเครื่องดื่มนั้นที่สำคัญได้แก่ ''น้ำสำรอง'' ซึ่งเป็นน้ำพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา<ref>{{cite web|url=http://www.thaitambon.com/ProvincialStarOTOP/PSO-LP6/ChanthaburiPSO2L.htm|title=จังหวัด จันทบุรี : ผลิตภัณฑ์น้ำสำรอง|publisher=ไทยตำบล|accessdate=11 June 2014}}</ref>
 
=== การแสดงพื้นบ้าน ===
จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีการแสดงพื้นบ้านอย่างหลากหลาย โดยมักเป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น, ชาติพันธ์ชาติพันธุ์, การประกอบอาชีพ รวมไปถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ชองท้องถิ่น การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรีมีทั้งที่เกิดจากการถ่ายทอดของบรรพชนภายในท้องถิ่นหรือการแสดงพื้นบ้านบางอย่างอาจเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์คิดค้นของผู้คนในปัจจุบัน โดยการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรีที่สำคัญมีดังนี้<ref name="dance">{{cite web|url=http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/life2.html|title= การละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของชาวจันท์|publisher=สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี|accessdate=4 July 2014}}</ref>
{|class="wikitable unsortable" style="margin: 1em auto 1em auto;"
! ชื่อการแสดงพื้นบ้าน
บรรทัด 527:
|-
| อาไย
| ทิดฮัมและทิดบูนเป็นผู้นำมาเผยแพร่จาก[[ประเทศกัมพูชา]] เป็นการแสดงที่ใช้[[ภาษาเขมร]]ในการร้องพร้อมกับการรำ ใช้[[ซออู้]], [[ซอด้วง]], [[กลอง]], [[ฉิ่ง]], [[ขิม]] และโมงเซเป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดง ปัจจุบันเป็นการละเล่นของชาวบ้านตามูลล่าง อำเภอโป่งน้าร้อน<ref>{{cite web|url=http://www.mapculture.org/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=690&Itemid=56|title= อาไย/อายัย จ.จันทบุรี|publisher=โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา|accessdate=4 July 2014}}</ref>
|-
| ละครเท่งตุ๊ก
| ละครเท่งตุ๊กได้รับอิทธิพลจาก[[ละครชาตรี]] และ[[ละครโนรา]] โดยชื่อของการแสดงมาจากเสียงของ[[โทน]]และกลองตุ๊ก การแสดงจะใช้ทั้งมือและเท้า พร้อมทั้งการใช้เอวและไหล่ให้ตรงตามจังหวะกลอง<ref>{{cite web|url=http://www.chanthaboon.net/index.php?option=com_k2&view=item&id=190:teng-took-chanthaboon-performing-arts|title= ละครเท่งตุ๊ก ศิลปะการแสดงพื้นบ้านชาวจันทบูร|publisher=chanthaboon.net|accessdate=4 July 2014}}</ref>
|-
| ระบำเก็บพริกไทย