ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มุขมนตรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''มุขมนตรี'''<ref>{{Cite RIT-EU | 1 = [[สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์]] | 2 = [[ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม]] และคณะ | 3 = http://www.royin.go.th/upload/297/FileUpload/952_5600.pdf | 4 = 3 | 5 = 1 (อักษร A-B) | 6 = 974-9588-25-8 | 7 = 136 | 8 = | 9 = 2547 }}</ref> ({{lang-en|Minister-president}}, {{lang-de|''Ministerpräsident''}}) เป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของแคว้นหรือภูมิภาค ตำแหน่งนี้มักปรากฏในประเทศที่ใช้การปกครองแบบ[[จักรวรรดิ]]หรือ[[สหพันธรัฐ]] มุขมนตรีแต่ละคนมีเขตอำนาจจำกัดอยู่เฉพาะในแคว้นหรือในภูมิภาคของตนเองเท่านั้น มุขมนตรีอาจมาจากการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ได้ตามบทบัญญัติทางกฎหมายของประเทศหรือดินแดนนั้น
 
==ประเทศเยอรมนี==
ใน[[ประเทศเยอรมนี]] [[รัฐของประเทศเยอรมนี|รัฐทั้งสิบหก]]ต่างมีธรรมนูญเป็นของตนเอง ซึ่งในธรรมนูญของแต่ละรัฐนั้นต่างมีลักษณะที่เหมือนๆกันคือ ได้กำหนดให้มุขมนตรี ({{lang-de|''Ministerpräsident''}})มาจาการลงมติแต่งตั้งโดยสภาแห่งรัฐ และกำหนดให้มุขมนตรีเป็นตำแหน่งที่รวมเอาสองบทบาทเข้าไว้ด้วยกัน คือเป็นทั้งหัวหน้าของคณะบริหารที่เรียกว่า "คณะมนตรีแห่งรัฐ" (State Council) มุขมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนสมาชิกคณะมนตรีฝ่ายต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็น[[ประมุขแห่งรัฐ]]ของรัฐนั้นๆเพื่อปฏิบัติพิธีการต่างๆในนามของรัฐ ในขณะที่หัวหน้าฝ่ายบริหารของทั้งประเทศเยอรมนีคือตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรีเยอรมนี|นายกรัฐมนตรีสหพันธ์]] ตัวมุขมนตรีอาจถูกสภาแห่งรัฐ[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ|อภิปรายไม่ไว้วางใจ]]ได้เช่นเดียวกัน
 
กล่าวโดยสรุปคือ มุขมนตรีในประเทศเยอรมนีนั้น เสมือนตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารในประเทศที่ใช้[[ระบบประธานาธิบดี]] ที่ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้าคณะรัฐมนตรีและประมุขแห่งรัฐไปในตัว เพียงแต่ย่อส่วนลงมาแทนที่จะมีเขตอำนาจทั่วทั้งประเทศ กลับมีเขตอำนาจอยู่เพียงพื้นที่ท้องถิ่นของตนเอง
บรรทัด 11:
== ประเทศพม่า ==
ใน[[ประเทศพม่า]] ตำแหน่งมุขมนตรีภาค ({{lang-my|တိုင်းဒေသကြီးဝန်ကြီးချုပ်}}) หรือมุขมนตรีรัฐ ({{lang-my|ပြည်နယ်ဝန်ကြီးချုပ်}}) เป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคหรือรัฐในสหภาพ รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าบัญญัติว่า<ref name="cons">{{cite web|url=http://www.burmalibrary.org/docs5/Myanmar_Constitution-2008-en.pdf|title=Constitution of the Republic of the Union of Myanmar|date=2008|work=Ministry of Information|accessdate=9 July 2015}}</ref> มุขมนตรีมีหน้าที่กำกับรัฐบาลส่วนภูมิภาคหรือรัฐบาลประจำรัฐ ตลอดจนลงนามประกาศใช้กฎหมายต่างๆที่ผ่านการอนุมัติโดยที่ประชุมสภาภูมิภาคหรือที่ประชุมสภารัฐ มุขมนตรีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และจะถูกคัดเลือกจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนรัฐหรือสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีพม่าเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งมุขมนตรี
 
== ประเทศมาเลเซีย ==
ในประเทศมาเลเซีย ตำแหน่งมุขมนตรี (มลายู: Menteris Besar) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลประจำรัฐเก้าแห่งที่มีสุลต่านปกครอง โดยมีการสืบตำแหน่งผ่านทางสายเลือด ส่วนอีกสี่รัฐที่ไม่ได้มีสุลต่านปกครองจะเรียกตำแหน่งเดียวกันว่า มนตรีข้าหลวง (มลายู: Ketua Menteri) ตำแหน่งเหล่านี้ถูกสถาปนาขึ้นในปีค.ศ. 1948 สมัยที่มาเลเซียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐยะโฮร์เป็นรัฐแรกที่มีการแต่งตั้งตำแหน่งมุขมนตรี
== อ้างอิง ==
{{reflist}}