ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเซโจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28:
 
== หนทางสู่ราชบัลลังก์ ==
พระเจ้าเซโจพระราชสมภพเมื่อ ค.ศ. 1417 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของ [[พระเจ้าเซจงมหาราช]] (세종대왕, 世宗大王) และ [[พระนางโซฮ็อน]] (소헌왕후, 昭憲王后) ได้รับพระนามว่า '''เจ้าชายซูยาง''' (수양대군, 首陽大君) เมื่อค.ศ. 1428 เจ้าชายซูยางมีพระเชษฐาเป็นรัชทายาท ขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้ามุนจงแห่งโชซอน|พระเจ้ามุนจง]] (문종, 文宗) ต่อจากพระเจ้าเซจงใน ค.ศ. 1450 แต่อยู่ในราชสมบัติได้เพียงสองปีก็สวรรคตเมื่อค.ศ. 1452 รัชทายาทพระโอรสของพระเจ้ามุนจงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา ก่อนที่พระเจ้ามุนจงจะสวรรคต ได้จัดตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนสำหรับกษัตริย์พระองค์ใหม่ที่ยังทรงพระเยาว์ ประกอบด้วย ฮวางโบอิน (황보인, 皇甫仁) อัครเสนาบดี และ [[คิมจงซอ]] (김종서, 金宗瑞) เป็นผู้นำคณะผู้สำเร็จราชการซึ่งประกอบไปด้วยขุนนางจาก[[:en:Hall of Worthies|จีพยอนจอนชี-พยอนจ็อน]] (집현전, 集賢殿) สำนักปราชญ์ที่พระเจ้าเซจงมหาราชทรงตั้งขึ้น
 
เมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์แล้ว ปรากฏว่าทรงเป็นเพียงแค่กษัตริย์หุ่นเชิด อำนาจทั้งหมดตกอยู่แก่ฮวางโบอินและคิมจงซอ ทำให้เจ้าชายที่อาวุโสที่สุดสองพระองค์คือเจ้าชายซูยาง และเจ้าชายอันพย็อง (안평대군, 安平大君) ต้องหาทางฟืนฟูอำนาจให้แก่พระราชวงศ์ กล่าวกันว่าเจ้าชายทั้งสองมีความถนัดกันคนละด้าน คือเจ้าชายอันพยองทรงพระปรีชาด้านการเขียนพู่กัน จึงเป็นที่นิยมชมชอบของปราชญ์ขงจื้อทั่วไป ขณะที่เจ้าชายซูยางทรงสนพระทัยด้านการทหาร<ref>Jae Un-Kang, Jae Eun-Kang. ''The land of scholars: two thousand years of Korean Confucianism''.</ref> โดยทรงวางแผนการยึดอำนาจอย่างมียุทธวิธี ด้วยการสนับสนุนและความช่วยเหลือของควอนนัม (권람, 權擥) และฮันมยองฮี (한명회, 韓明澮)