ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billinghurst (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ Chnndkec (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Supanut Arunoprayote
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Ermine44 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
'''วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร''' หรือ '''วัดระฆัง''', '''วัดหลวงพ่อโต''' ตั้งอยู่เลขที่ 250 [[แขวงศิริราช]] [[เขตบางกอกน้อย]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์[[มหานิกาย]]ภาค 1
 
วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างใน[[สมัยอยุธยา]] เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระสังฆราช]] ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา)]] พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” ทำให้ประชาชนพากันเรียกว่า วัดระฆัง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา<ref>[https://www.bangkokhaps.com/guide/top-9-temples-to-visit-in-bangkok 9 Temples To Visit In Bangkok]</ref>นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา
 
วัดระฆังโฆสิตารามมีหอ[[พระไตรปิฎก]]ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก