ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ลบป้ายขาดความสำคัญ
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 8:
| image =
| image_width = 200px
| caption =
| caption = ไอคอนสยาม ในช่วงพิธีเปิดงาน
| location = 946 [[ถนนพระรามที่ 4]] แขวงสีลม [[เขตบางรัก]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| coordinates = 13.728358, 100.537447
| address =
| opening_date = พ.ศ. 2565 (โรงแรมดุสิตธานี)<br>พ.ศ. 2566 (ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พาร์ค และเซ็นทรัล พาร์ค ออฟฟิศเซส)<br>พ.ศ. 2567 (ทั้งโครงการ)
บรรทัด 36:
==ประวัติ==
[[ไฟล์:Dusit Thani.jpg|250px|thumb|left|โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2556]]
พื้นที่ของโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค แต่เดิมแล้วเป็นบ้านศาลาแดง ของ[[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]] โดยท่านผู้หญิง[[ชนัตถ์ ปิยะอุย]] ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาคณะกรรมการโรงแรม ปริ๊นเซส ได้ดำเนินการขอเช่าพื้นที่จาก[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินผืนดังกล่าว เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงแรมระดับห้าดาวที่หรูหราแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเมื่อ [[พ.ศ. 2511]] ภายใต้ชื่อ '''โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ''' โดยตัวอาคารมีความสูง 23 ชั้น นับเป็นอาคารสูงหลังแรกในประเทศไทย และใช้สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมร่วมสมัยที่ออกแบบโดยกลุ่ม Kanko Kikaku Sekkeisha ที่นำโดย โยโซะ ชิบาตะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่น<ref>[https://readthecloud.co/dusit-thani/ บันทึกหน้าสุดท้ายของโรงแรมดุสิตธานี ตำนานตั้งแต่รุ่นพ่อที่เป็นที่รักของคนไทย]</ref> ในส่วนของชื่อโรงแรมได้ตั้งตามชื่อเมืองจำลองของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] อันแปลว่า "เมืองสวรรค์" ซึ่งแต่เดิมพระองค์เคยมีพระราชประสงค์ที่ต้องการจะสร้างเมืองแห่งประชาธิปไตยและให้ชื่อว่า[[ดุสิตธานี]]นั่นเอง ซึ่งการตั้งชื่อโรงแรมยังเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไปในตัว เนื่องมาจากพื้นที่ตั้งของโรงแรมตั้งอยู่ตรงข้ามสวนลุมพินี และมีพระบรมรูปของราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่<ref>[https://becommon.co/world/dusit-thani-bangkok-ending/ ‘ดุสิตธานี’ จุดเริ่มต้น การดิ้นรน และอวสานของโรงแรมไทยที่กำลังจะเป็นตำนาน]</ref>
 
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2560 โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ได้เปิดดำเนินการให้กับชาวไทยและชาวต่างประเทศมาได้กว่า 47 ปี จนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เครือดุสิตธานีได้ประกาศต่อสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นระยะเวลา 30 ปี พร้อมกับระยะเวลาปลอดหนี้อีก 7 ปี และได้รับสิทธิ์ในการเช่าต่อเนื่องอีก 30 ปี รวมทั้งสิ้น 67 ปี<ref>[https://www.thairath.co.th/content/870950 รร.ดุสิตธานีต่อสัญญาเช่าที่อีก 30 ปี จับมือเซ็นทรัล ผุดมิกซ์ยูส]</ref> เครือดุสิตธานีจึงประกาศแผนพัฒนาและยกระดับโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรงแรมที่เป็นที่นิยมระดับโลก ด้วยการจับมือกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบผสมขนาดใหญ่ (Mixed-use) ซึ่งประกอบไปด้วย โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก ขึ้นมาทดแทน<ref>[http://cpn.listedcompany.com/newsroom/010320170838000836T.pdf รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ - บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา]</ref>เพื่อตอบรับต่อการพัฒนาเมืองและย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร