ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คัมภีร์วินิจฉัย อุตรวินิจฉัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
คัมภีร์วินิจฉัย และอุตรวินิจฉัย เป็นคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นการวินิจฉัยสิกขาบท ที่ประกอบด้วยสถานที่ บุคคล วัตถุ อาบัติ อนาบัติ เป็นต้น
===ประวัติ===
คัมภีร์วินิจฉัย และอุตรวินิจฉัย เป็นคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา แต่งโดยพระพุทธทัตตมหาเถระ ชาวทมิฬในอินเดียตอนใต้ โดยการแต่งรวบรวมเนื้อหาคัมภีร์พระวินัยปิฎก รูปแบบการแต่งเป็นร้อยกรองทั้งเล่ม โครงสร้างคัมภีร์วินิจฉัยว่าด้วยเรื่องสิกขาบทของพระภิกษุ และภิกษุณี มหาวรรค และจุลวรรค ส่วนคัมภีร์อุตรวินิฉจัย ว่าด้วยเรื่องคัมภีร์ปริวาร คัมภีร์ทั้งสองแต่งเป็นร้อยกรอง โดยใช้ฉันทลักษณ์บาลีประเภทต่าง ๆ เช่น มัตตาสมกฉันท์ วิชชุขมาลาฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ เป็นต้น องค์ความรู้การวินิจฉัย พระวินัยในคัมภีร์วินัยวินิจฉัย และอุตรวินิจฉัย เป็ฯเป็นการวินิจฉัยสิกขาบท ที่ประกอบด้วยสถานที่ บุคคล วัตถุ อาบัติ อนาบัติ เป็นต้น
 
องค์ความรู้การวินิจฉัยในส่วนสิกขาบท เป็นรูปแบบสำคัญในการศึกษาวิเคราะห์วินัย ในส่วนที่เป็นสิกขาบทของพระภิกษุ และภิกษุณี รูปแบบการวินิจฉัยเหล่านี้ มีความสอดคล้องกับการวินิจฉัยพระวินัยในคัมภีร์ระดับต้น ตั้งแต่[[พระวินัยปิฎก]] จนถึง[[คัมภีร์อรรถกถา]]
 
===ผู้แต่ง===
พระพุทธทัตตมหาเถระ ([[Buddhadatta]]) พระสงฆ์นักปราชญ์ฝ่ายเถรวาท เกิดที่เมืองอุรคปุระ (Uragapura) ปัจจุบันเรียกอุรัยปุระ ในอาณาจักรโจละ (Chola kingdom) ของอินเดียภาคใต้ <ref>Potter, Karl H; Encyclopedia of Indian Philosophies: Buddhist philosophy from 350 to 600 A.D. pg 216</ref> ประมาณ พ.ศ.940 เป็นต้นมา หลังจากอุปสมบทแล้วได้เดินทางไปสู่เกาะลังกา เพื่อศึกษาพุทธศาสนาและรวบรวมคัมภีร์ทางพุทธศาสนาจากภาษาสิงหลแปลสู่ภาษามคธ ในคราวที่พักอยู่สิงหล ท่านพักที่มหาวิหารเมืองอนุราธปุระ