ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คัมภีร์วินิจฉัย อุตรวินิจฉัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Raphind (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: คัมภีร์วินิจฉัย และอุตรวินิจฉัย เป็นคัมภีร์ในทางพระพุทธศา...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:27, 16 สิงหาคม 2562

คัมภีร์วินิจฉัย และอุตรวินิจฉัย เป็นคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นการวินิจฉัยสิกขาบท ที่ประกอบด้วยสถานที่ บุคคล วัตถุ อาบัติ อนาบัติ เป็นต้น

ประวัติ

คัมภีร์วินิจฉัย และอุตรวินิจฉัย เป็นคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา แต่งโดยพระพุทธทัตตมหาเถระ ชาวทมิฬในอินเดียตอนใต้ โดยการแต่งรวบรวมเนื้อหาคัมภีร์พระวินัยปิฎก รูปแบบการแต่งเป็นร้อยกรองทั้งเล่ม โครงสร้างคัมภีร์วินิจฉัยว่าด้วยเรื่องสิกขาบทของพระภิกษุ และภิกษุณี มหาวรรค และจุลวรรค ส่วนคัมภีร์อุตรวินิฉจัย ว่าด้วยเรื่องคัมภีร์ปริวาร คัมภีร์ทั้งสองแต่งเป็นร้อยกรอง โดยใช้ฉันทลักษณ์บาลีประเภทต่าง ๆ เช่น มัตตาสมกฉันท์ วิชชุขมาลาฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ เป็นต้น องค์ความรู้การวินิจฉัย พระวินัยในคัมภีร์วินัยวินิจฉัย และอุตรวินิจฉัย เป็ฯการวินิจฉัยสิกขาบท ที่ประกอบด้วยสถานที่ บุคคล วัตถุ อาบัติ อนาบัติ เป็นต้น

องค์ความรู้การวินิจฉัยในส่วนสิกขาบท เป็นรูปแบบสำคัญในการศึกษาวิเคราะห์วินัย ในส่วนที่เป็นสิกขาบทของพระภิกษุ และภิกษุณี รูปแบบการวินิจฉัยเหล่านี้ มีความสอดคล้องกับการวินิจฉัยพระวินัยในคัมภีร์ระดับต้น ตั้งแต่พระวินัยปิฎก จนถึงคัมภีร์อรรถกถา

ผู้แต่ง

พระพุทธทัตตมหาเถระ ชาวทมิฬในอินเดียตอนใต้

อ้างอิง

  • ดร.เสถียร ทั่งทองมะดั่น. (2561). คัมภีร์วินัยวินิจฉัยและอุตรวินิจฉัย : การแปลและศึกษาวิเคราะห์. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.