ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
คำว่า พนม ตรงกับภาษา[[เขมร]] แปลว่า [[ภูเขา]] แต่อุรังคธาตุหลายฉบับเขียนว่า พระนม (พฺรนม) ซึ่งมาจากภาษาเขมร (พระ) และภาษาลาว (นม) หมายถึงหน้าอกของพระพุทธเจ้า<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169 </ref> ชาว[[ลาว]]ออกสำเนียงว่า '''ปะนม''' (ประนม) คำนี้ปราฏในหนังสือพงศาวดารของแขวงสะหวันนะเขดด้วย คนท้องถิ่นนิยมเรียกนามเมืองว่า เมืองปะนม คู่กับ เมืองละคร (เมืองนครพนม) และเรียกชาวธาตุพนมว่า ไทพนม หรือ ไทปะนม สมัยโบราณเรียกบริเวณที่ตั้งศูนย์กลางเมืองนี้ว่า '''กปณคีรี''' (ภูเพียงกำพร้าเข็ญใจ) บางแห่งเขียนเป็น '''ภูกามพ้า''' หรือ '''ภูก่ำฟ้า''' คนทั่วไปออกนามว่า '''ภูกำพร้า''' ซึ่งเป็นที่ตั้งพระมหาธาตุโบราณอันศักดิ์สิทธิ์มาก ชื่อว่า '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมะเตชะเจดีย์''' หรือ '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมสถาน''' หรือ '''พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมหัวอกพระพุทธเจ้า''' หลักฐานบางแห่งเรียกว่า '''ธาตุภูกำพร้า''' หรือ '''อูบมุงภูกำพร้า''' คนทั่วไปออกนามว่า '''ธาตุปะนม''' หรือ '''ธาตุหัวอก''' (ดูกหัวเอิก)<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคธาตุ : ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> ปัจจุบันคือ[[พระธาตุพนม]] [[วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร]] ซึ่งเดิมเรียกวัดพนม (วัดธาตุหรือวัดพระธาตุ) นับถือแต่โบราณว่าพระมหาธาตุนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (อรกธาตุหรือธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้าถึง ๔ พระองค์) ชาติพันธุ์สองฝั่งโขงนับถือว่าเป็นพระปฐมเจดีย์แห่งแรกของลาว เอกสารพื้นเวียงจันทน์ยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[หลักโลก]]ของชาวลาว<ref>เอกสารพื้นเวียงจันทน์กล่าวว่าก่อนราชวงศ์เวียงจันทน์จะล่มสลายได้เกิดนิมิตอาเภทขึ้นคือ ยอดพระธาตุพนมหักลง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ได้เสด็จมายกยอดฉัตรขึ้นใหม่ จำนวนชั้นมี ๗ ชั้นเท่าของเดิม ภายหลังเมื่อสยามปกครองธาตุพนมแล้วจึงเปลี่ยนยอดฉัตรลงเหลือ ๕ ชั้นในปัจจุบัน</ref> ส่วนเอกสารประวัติบ้านชะโนดยกย่องว่าธาตุพนมคือ[[เสใหญ่]] (หลักเมือง) ของลาว<ref>เส หมายถึง เสาหลักหรือหลักเมือง</ref> เอกสารพงศาวดารเมืองพระนมชี้ให้เห็นว่า ก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายจากสยาม ท้องถิ่นแถบนี้เชื่อว่า ธาตุพนมคือสถานที่ประสูติและบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระยานกคุ่มไฟ ทำให้ธาตุพนมมีอีกนามหนึ่งว่า '''ธาตุนกคุ่ม''' (พระวฏฺฏกธาตุนกคุ่ม) หรือฮังนกคุ่ม<ref>https://www.youtube.com/watch?v=DzuVAq-c6ng</ref> ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารพื้นเมืองจันทะบูลีว่า ก่อนสร้างพระธาตุพนมได้ปรากฏเฮือนหินบนภูกำพร้าก่อนแล้ว ส่วนเอกสารตำนานขุนบุรมราชาธิราชกล่าวว่า เมืองพนมเป็นเมืองสำคัญ ๑ ใน ๗ หัวเมืองทางศาสนายุคแรกของสุวรรณภูมิประเทศ ที่ได้รับการประดิษฐานพระบรมธาตุก่อนหัวเมืองทั้งหลาย แม้กระทั่งอาณาจักรล้านนาก็ยอมรับให้เป็นพระบรมธาตุสำคัญประจำปีนักษัตรวอกด้วย
 
ในคัมภีร์อุรังคธาตุกล่าวถึงสถานะของเมืองธาตุพนมว่าเป็น '''พุทธศาสนานคร''' หรือ [[ศาสนานคร]] เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองพนมจึงถูกเรียกว่า '''ศาสนานครนิทาน''' ดังนั้น ในจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงจึงออกนามเมืองนี้ว่า '''ศาสนาพระนม''' สถานะการเป็นเมืองพุทธศาสนานครของเมืองพนมนั้น<ref>ประวิทย์ คำพรหม. ''ประวัติอำเภอธาตุพนม''. กาฬสินธุ์. ๒๕๔๖.</ref> นั้นหมายถึง เมืองศักดิ์สิทธิ์หรือเมืองที่อันเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา จิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านช้าง ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามเมืองว่า '''เมืองเมกกะของลาว''' เนื่องจากเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักร[[ศรีโคตรบูร]]โบราณ และพระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]]ถวายเป็นเมือง[[กัลปนา]]แด่พระมหาธาตุเจ้าพระนม อีกนัยหนึ่งเรียกว่า เมือง[[ข้าโอกาส]]หยาดทานหรือเมือง[[ข้อย]]โอกาส เจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมมีสถานะพิเศษต่างจากเจ้าเมืองทั่วไป ในจารึกผูกพัทธสีมาวัดธาตุพนมของเจ้าเมืองมุกดาหารออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า '''ขุนโอกาส''' (ขุนเอากฺลาษฺ) <ref>กรมศิลปากร. ''จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๒.</ref> ส่วนคัมภีร์อุรังคธาตุฉบับบ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ทั้ง ๒ ฉบับออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า '''เจ้าโอกาส''' (เจ้าโอกาด)<ref> หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๓๐-๓๒</ref> <ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๙-๓๐</ref> หมายถึงเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งข้าโอกาสพระธาตุพนม คล้ายกับบรรดาศักดิ์สถานะของขุนสัจจพันธคีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน<ref>http://th.wikisource.org/wiki</ref> ผู้ดำรงตำแห่ง '''ขุนโขลน''' หรือเจ้า[[เมืองพระพุทธบาท]] (เมืองสุนาปรันตประเทศ) หัวเมืองกัลปนาชั้นจัตวาของสยาม คล้ายกับการปกครองเมืองอันเป็นส่วนพรหมไทย (พรหฺมเทยฺย) ซึ่งกษัตริย์ถวายแก่พราหมณ์ตามปรากฏในพระไตรปิฎก<ref>กรมศิลปากร. ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ : คำให้การขุนโขลน''. กรุงเทพ. ๒๔๖๐.</ref>คล้ายกับการปกครองเมืองจำปาอันเป็นส่วนแห่งพรหมไทย (พรหฺมเทยฺย) ซึ่งกษัตริย์ถวายแก่พราหมณ์ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และคล้ายกับบรรดาศักดิ์ '''โขลญพล''' (โขฺลญฺ วล กํมฺรเตงฺ อญฺ) เจ้าเมืองกัลปนาของ[[เขมร]]โบราณ เช่น เมืองลวปุระ (ลพบุรี) ในสมัยขอมเรืองอำนาจ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/index.php</ref> ลักษณะการปกครองสถานะผู้ปกครองเช่นนี้ยังปรากฏในอาณาจักรล้านช้างหลายแห่ง อาทิเช่น กวานนาเรือเมืองนาขาม เมืองหินซน และเมืองซนู ซึ่งถูกแบ่งเขตกัลปนาแก่พระพุทธศาสนาแถบถ้ำสุวรรณคูหาในหนองบัวลำภู สมัยช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นต้น <ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2233</ref> ในเอกสารบันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน เอมอนิเย กล่าวว่า ขุนโอกาสเป็นเครือญาติใกล้ชิดกับเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าพระยาหลวงเมืองแสน อำนาจของขุนโอกาสในสมัยล้านช้างนั้นมีมากกว่าเจ้าเมืองในแถบลุ่มน้ำโขงหลายเมือง ส่วนใบลานพื้นเมืองเวียงจันทน์อย่างน้อย ๓ ฉบับกล่าวว่า ผู้ถูกตั้งสถาปนาให้รักษาธาตุพนมทรงเป็นกุมารเชื้อตระกูลเชื้อสายเดียวกันกับพระเจ้านันทเสนพ่ออีหลิบ (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) พระเจ้านันทเสน และพระเจ้าอินทวงศ์ทวงศ์ กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ทั้ง ๓ พระองค์
 
ในสมัยโบราณเมืองเวียงพระธาตุของธาตุพนมถูกรายล้อมด้วยเวียงข้าพระธาตุพนม ๔ แห่ง คือ เวียงปากเซหรือเมืองกะบอง (ปัจจุบันคือเมืองหนองบกเซบั้งไฟ ประเทศสาธาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนสปป.ลาว) เวียงปากก่ำกรรมเวรหรือเมืองปากก่ำ (ปัจจุบันคือตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม) เวียงขอมกระบินหรือเมืองกบิล (ปัจจุบันคืออำเภอนาแก)<ref>http://na-kae.blogspot.com/</ref> เวียงหล่มหนองหรือเมืองมรุกขนคร (ปัจจุบันคือตำบลพระกลางทุ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าเป็นตำบลคือบ้านดอนนางหงส์ท่า) นอกจากนี้ เมืองธาตุพนมยังมีภูมิศาสตร์การวางผังเมืองขนานยาวกับแม่น้ำโขง โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีโครงสร้างการวางผังเมืองตามคติจักรวาลวิทยาของขอมโบราณในพระพุทธศาสนา คือประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบถึง ๓ ชั้น ประกอบด้วยแบ่งพื้นที่สำคัญของเมืองเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือหัวเมือง (ทางทิศเหนือ) เป็นที่ตั้งของ '''วัดหัวเวียง''' ปัจจุบันคือ(วัดหัวเวียงรังษี) และเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมเดิมคือ [[บ้านหัวบึง]] บ้านหนองหอย เป็นต้น ส่วนต่อมาคือตัวเมือง เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจพุทธหรือฝ่ายศาสนจักรพุทธจักร ในซึ่งจารึกวัดพระธาตุพนมแสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ประทับของพระสังฆราช และพระผู้ช่วยชั้นปกครองเรียกว่า เจ้าด้าน มากถึง ๔ รูป นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจผีบรรพบุรุษ เป็นที่ตั้งของ[[บึงธาตุ]]ซึ่งเป็นตัวแทนของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองโบราณทิศตะวันออกริมฝั่งโขงซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจการปกครองของเจ้านาย ส่วนทิศตะวันตกของส่วนตัวเมืองนั้นเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมเดิมคือ [[บ้านดอนกลาง]]หรือ[[บ้านดอนจัน]] ส่วนสุดท้ายคือท้ายเมือง (ทางทิศใต้) เป็นที่ตั้งของแม่น้ำเก่าแก่คือ[[แม่น้ำก่ำ]] ซึ่งอุรังคธาตุนิทานกล่าวว่า เดิมตอนใต้แม่น้ำแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งราชสำนักของกษัตริย์ที่มาร่วมสร้างพระธาตุพนม และยังเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมเดิมคือ [[บ้านน้ำก่ำ]] ยาวไปจนถึงตาลเจ็ดยอดในเขตตัวเมืองมุกดาหารอีกด้วย
 
ในอุรังคธาตุและพื้นธาตุพนมกล่าวว่า ในสมัย'''พระยานันทเสน'''กษัตริย์[[เมืองศรีโคตรบูร]] (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) พระองค์ทรงเป็นเค้าอุปถากพระธาตุพนม จากนั้นพระองค์ทรงแต่งตั้งเจ้า ๓ พี่น้องซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ให้ปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยแบ่งออกเป็น ๓ กอง ได้แก่ '''พระยาสหัสสรัฏฐา''' (เจ้าแสนเมือง) ปกครองกองข้าโอกาสนอกกำแพงพระมหาธาตุ '''พระยาทักขิณรัฏฐาˈ''' (เจ้าเมืองขวา) ปกครองกองข้าโอกาสในกำแพงพระมหาธาตุ และ'''พระยานาคกุฏฐวิตถาร''' (เจ้าโต่งกว้าง) ปกครองกองข้าโอกาสฝั่งซ้ายน้ำโขงตลอดจนปาก[[น้ำเซ]]ไหลตกปาก[[น้ำก่ำ]] เจ้านายทั้ง ๓ พระองค์นี้ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น[[มเหศักดิ์]][[หลักเมือง]]ธาตุพนมสืบมาจนถึงปัจจุบัน และนับถือกันกว่าทรงเป็นวิญญาณบรรพบุรุษรุ่นแรกของข้าโอกาสพระธาตุพนม เรียกว่า '''[[เจ้าเฮือนทั้ง ๓]]''' หรือ '''เจ้าเฮือน ๓ พระองค์''' ต่อมาในอุรังคธาตุผูกเดียวกล่าวว่าพระธาตุพนมถูกอุปถากโดย '''พระยาปะเสน''' จากนั้นในสมัยพระยาสุมิตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนคร (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) พระองค์ได้แต่งตั้งให้'''หมื่นลามหลวง''' (หมื่นหลวง) เป็นเค้าอุปถากโดยมีนายด่านนายกองช่วยปกครองธาตุพนม พร้อมทั้งมอบเงินทองให้เป็นเครื่องตอบแทน ต่อมาในสมัยพระยาสุบินราชพระองค์โปรดฯ ให้ '''หมื่นมาหารามหลวง''' และ '''พวกเฮือนหิน''' เป็นเค้าอุปถาก เมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงในสมัยล้านช้างตอนต้นคือรัชกาลของพระเจ้าโพธิสาลราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) เมืองพนมถูกปกครองโดยขุนนางข้าหัตบาสใกล้ชิดของพระเจ้าโพธิสาลราชจากราชสำนักเมืองหลวงพระบางนามว่า '''[[พันเฮือนหิน]]''' (พันเฮือหีน) พร้อมทั้งได้รับพระราชทานบริวารคอยติดตามจำนวนมากให้อีกราว ๓๐ นาย เรียกว่า กะซารึม ๓๐ ด้ามขวาน นอกจากนี้ยังแต่งตั้ง '''[[พันซะเอ็ง]]''' ([[ข้าชะเอ็ง]]) พี่ชายของพันเฮือนหินให้เป็นผู้ปกครองธาตุพนมร่วมกันด้วย <ref>พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), ''อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร) ''. กรุงเทพฯ. ๒๕๓๗.</ref> อย่างไรก็ตามพันเฮือนหินได้กลับคืนไปอยู่หลวงพระบางแล้วทำหน้าที่อัญเชิญเครื่องสักการะบูชาของพระองค์ลงมานมัสการพระธาตุพนมในวันสังขานปีใหม่แทน จากนั้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔) พระองค์ได้เสด็จมาบูรณะพระธาตุพนมที่เมืองพนมพร้อมทั้งโปรดเกล้าแต่งตั้ง '''[[พระยาธาตุพระนม]]''' หรือ '''พระยาพระมหาธาตุเจ้า'''<ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๔</ref> ขึ้นเป็นเจ้าโอกาสรักษานครพระมหาธาตุพนม โดยมี '''พระยาทั้ง ๔''' เป็นผู้ช่วยราชการ<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด หน้าลานที่ ๑๓</ref> ถัดนั้นรัชกาลพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๔๐-๒๐๖๕) เจ้าพระยานครหลวงพิชิตราชธานีสีโคดตะบูรหลวงได้เสด็จมาพระราชทานโอวาดแก่'''พระยาทาด''' (พระยาธาด) พร้อมแต่งตั้งพระยาทั้ง ๒ คือ '''พระยาทด''' และ '''พระยาสีวิไซ''' ให้ช่วยปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนม จากนั้นในรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘) ในพื้นธาตุพระนมฉบับวัดใหม่สุวันนะพูมารามเมืองหลวงพระบางกล่าวว่า พระองค์โปรดฯ พระราชทานเขตดินให้พระธาตุพนมพร้อมแต่งตั้งให้ '''พระเจ้าเฮือนทั้ง ๓''' หรือ '''พระยาเจ้าทั้ง ๓''' ปกครองธาตุพนม คือ '''เจ้าตนปู่เลี้ยง''' เป็นใหญ่ในข้าโอกาสภายในพระมหาธาตุ ส่วนทิศใต้และทิศเหนือนั้นให้ '''พระยาเคาะยดทะราดธาดพระนม''' (หมื่นเคาะ) และ '''พระยาเคายดทะราดธาดพระนม''' (หมื่นเคา) ปกครอง <ref>พื้นทาดตุพระนม วัดใหม่สุวันนะพูมาราม บ้านป่าขาม เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หน้าลานที่ ๒๙-๓๑</ref> หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ [[เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก]]สังฆราชแห่งเวียงจันทน์ได้อพยพผู้คนจากนครเวียงจันทน์บางส่วนมาถวายไว้เป็นข้าพระธาตุพนมจำนวนมาก พร้อมทั้งต่อเติมเสริมยอดพระธาตุพนมให้สูงขึ้น ในตำนานบ้านดงนาคำซึ่งเป็นหมู่บ้านข้าโอกาสพระธาตุพนมทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกล่าวว่า เจ้าราชครูหลวงได้ตั้งให้พระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ๔ รูปปกครองวัดวาอารามทั้ง ๔ ทิศในเขตเมืองพนม เรียกว่า '''[[เจ้าด้านทั้ง ๔]]''' จากนั้นทรงขออนุญาตเจ้านายผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ กอง ให้เป็นผู้นำพาประชาชนจากเวียงจันทน์ออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่เพื่อให้ข้าโอกาสพระธาตุพนมมีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ '''[[แสนกลางน้อยศรีมุงคุล]]''' หัวหน้าข้าโอกาสให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านหมากนาว<ref>เชื่อว่าเป็นองค์เดียวกันกับอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนม แต่เมื่อเทียบศักราชช่วงที่ปกครองแล้วห่างกันมาก</ref> '''[[แสนพนม]]''' ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงใน '''[[แสนนามฮาช]]''' (แสนนาม) ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงนอก ทั้งสามท่านยังเป็นต้นตระกูลข้าโอกาสพระธาตุพนมทั้งสองฝั่งโขงสืบมาจนปัจจุบัน<ref>พระเทพรัตนโมลี, ''เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๘.</ref>