ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชายชาย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ชายชาย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== ปฐมวัยและครอบครัว ==
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ที่[[กรุงเทพมหานคร]] มีชื่อเล่นว่า เอก เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน ของพัฒนากับ[[สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ]] มารดาเป็นประธานบริหารของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท โดยรับสืบทอดตำแหน่งนี้จากสามี พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2545) บิดาของธนาธร และเป็นผู้ก่อตั้ง[[กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท]]
 
ธนาธรเปิดเผยบนเวทีประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรคอนาคตใหม่ว่า เขาเริ่มทำงานครั้งแรกช่วงปิดเทอมชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พ่อและแม่ส่งเขาไปนั่งนับชิ้นส่วนเหล็กในโรงงาน ได้รับค่าแรงวันละ 30 บาทเท่านั้น ขณะที่พี่สาวคนโตต้องฝึกฝนงานส่วนออฟฟิศในโรงงาน ช่วงวัยรุ่นธนาธรเคยทำงานรับจ้างเป็นพนักงานล้างจานเต็มเวลาในร้านอาหารแห่งหนึ่งในสหรัฐ<ref>https://futureforwardparty.org/person/ธนาธร-จึงรุ่งเรืองกิจ</ref>
 
ธนาธรจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก[[โรงเรียนเซนต์ดอมินิก]] มัธยมจาก[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]]<ref name=":0">[https://mgronline.com/politics/detail/9510000129530 นายทุน “ฟ้าเดียวกัน” เปิดหน้าชก เอาเศรษฐกิจบังหน้า ชู รบ.มือเปื้อนเลือด-ไล่พันธมิตรฯ]</ref> และเข้าศึกษาต่อในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน (หลักสูตรนานาชาติ) [[คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และ[[มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม]] [[ประเทศอังกฤษ]] ขณะเรียนปริญญาตรีเขาเริ่มสนใจการทำกิจกรรมของนักศึกษา และร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเพื่อนในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบันเรื่อยมา<ref name="force">[http://vikingsx.blogspot.com/2010/05/blog-post.html สัมภาษณ์ : ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท “ผมถูกบังคับให้เป็นนายทุน”] นิตยสารสารคดี 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553</ref> จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ธนาธรได้รับเลือกเป็นอุปนายก[[องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (อมธ.) และในปี พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)<ref>https://www.sarakadee.com/2007/01/14/thanatorn/</ref>
 
สมัยเป็นนักศึกษาธนาธรได้รับการขนานนามว่าเป็น “แอ็กติวิสต์ซ้ายจัด” และเป็นหนึ่งในผู้ออกทุนก่อตั้ง'''[[สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน]]'''เป็นจำนวนสองแสนบาทก่อนเข้าไปบริหารธุรกิจครอบครัวโดยไม่ได้มีส่วนบริหารสำนักพิมพ์หรือให้เงินสนับสนุนเพิ่มเติมอีก<ref name=":0" /><ref>http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=771</ref>
 
ด้วยความสนใจในบ้านเมืองรวมทั้งแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เขาจึงตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขา[[เศรษฐศาสตร์การเมือง]] ที่[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทใบที่ 2 สาขา[[การเงินระหว่างประเทศ|การเงินโลก]]ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกงและ[[มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก]] และศึกษาต่อปริญญาโทใบที่ 3 สาขา[[กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ]] ที่มหาวิทยาลัยแซงต์ กาลเลิน [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]<ref>http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/TheCreative/28343</ref><ref>https://futureforwardparty.org/person/ธนาธร-จึงรุ่งเรืองกิจ</ref>
 
เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาเข้าทำงานในองค์การนอกภาครัฐกลุ่มเพื่อนประชาชน (FOP) ได้พักหนึ่ง แต่เมื่อบิดาเสียชีวิตเขารับมาบริหารธุรกิจของครอบครัว อย่างไรก็ตาม เขายังคงแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านสื่ออยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งยังเปิดเผยด้วยว่า ตนเองมีความคิดที่จะเล่นการเมือง<ref name=":0" />
 
== การเคลื่อนไหวทางสังคมและความสนใจทางการเมือง ==
ระหว่างที่เรียนอยู่ ณ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] นายธนาธรได้เข้าร่วมเรียกร้องสิทธิเพื่อปกป้อง[[สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย|สิทธิมนุษยชน]] เรียกร้องความเป็นธรรม และยืนหยัดเพื่อความถูกต้องกับผู้คนหลากหลายกลุ่มในหลายสถานการณ์ ในปี พ.ศ. 2543 ขณะร่วมเรียกร้องสิทธิกับกลุ่มสมัชชาคนจน เขาอยู่ร่วมชาวบ้านสมัชชาคนจนตอนที่ปะทะกับเจ้าหน้าที่[[ตำรวจ]]บริเวณหน้า[[ทำเนียบรัฐบาลไทย|ทำเนียบรัฐบาล]]สมัยนายกรัฐมนตรี [[ชวน หลีกภัย]] จนตัวเองได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย<ref name="force" /> เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 นายธนาธรไปศึกษาต่อที่[[มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม]] [[ประเทศอังกฤษ]] เขาเริ่มศึกษาทฤษฎีของ[[คาร์ล มากซ์]] และ[[วลาดีมีร์ เลนิน]] เขาได้เข้าร่วมกลุ่ม Socialist Worker Student Society ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งระดับนักศึกษาในอังกฤษ หลังจากธนาธรสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก [[วิศวกรรมศาสตร์|คณะวิศวกรรมศาสตร์]] หลักสูตรนานาชาติ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล [[มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม|มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม]] เขาได้กลับมาทำงานกับ[[องค์การนอกภาครัฐ]]ใน[[ประเทศไทย]]ได้ราวครึ่งปี<ref name="force" /> ต่อมาบิดาของเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2545 ธนาธรวัย 23 ปี ในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัวจึงรุ่งเรืองกิจซึ่งเป็นครอบครัวคนจีน เขาจึงจำเป็นต้องกลับมารับช่วงการบริหารธุรกิจต่อจากบิดา แม้จะอยากทำงานกับองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อสังคมและประชาชนมากกว่า