ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอมโนรมย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 23:
สร้างเมือง ดังนี้
เมืองมโนรมย์เดิมอยู่แขวงเมืองชัยนาท เหตุที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นเมืองต่างหากมีตำนานเล่ากันมาในท้องถิ่น
ว่าเมื่อรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ขุนศรีสิทธิกรรฐ์ปลัดโขลงไปพบช้างเผือกในแขวงศรีสวัสดิ์ และคล้องช้าง
เผือกตัวนั้นได้ และในหนังสือพงศาวดารว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นไปรับถึง[[เมืองนครสวรรค์]] เมื่อปีจอ
(พ.ศ. 2101) เมื่อมาถึงพระนครมีการสมโภชระวางขึ้นเป็นพระอินทร์ไอยรา สมเด็จพระนารายณ์ทรงถามขุนศรี
สิทธิกรรฐ์ผู้ซึ่งทำการคล้องช้างเผือกตัวนั้นได้ว่า ต้องการอะไรเป็นสิ่งตอบแทนในการทำความดีความชอบ
บรรทัด 37:
เหตุนี้จึงย้ายตัวเมืองไปตั้งบริเวณบ้านหาดมะตูม ตำบลศิลาดาน ซึ่งเห็นว่าเป็นบริเวณที่เหมาะสมกว่า
ต่อมาเมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการจัดการปกครองระบบใหม่คือ การปกครองส่วนภูมิภาคปัจจุบัน
จึงได้ลดเมืองมโนรมย์มาเป็นอำเภออยู่ในเขตการปกครองของ[[จังหวัดชัยนาท]]ขณะนั้นอำเภอมโนรมย์มีเขตการปกครอง
ข้ามไปถึงแม่น้ำสะแกกรัง มีตำบลหาดทนง ตำบลเกาะเทโพ และตำบลท่าซุง (อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี)ในปัจจุบัน)
อยู่ในเขตการปกครองอำเภอมโนรมย์ด้วย สมัยนั้นการคมนาคมขนส่งสินค้าและการสัญจรไปมาของประชาชนในการ
คมนาคมทางน้ำ โดยอาศัยลำแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางเรือ บรรทุกสินค้า และคนโดยสารจาก
[[จังหวัดนครสวรรค์]]มาตามลำน้ำเจ้าพระยา และจาก[[จังหวัดอุทัยธานี]]ตามลำน้ำท่าจีนออกทางปากคลองมะขามเฒ่าจะมาจอด
พักรอผู้โดยสารและขนส่งสินค้าเข้า[[กรุงเทพฯ]] บริเวณอำเภอมโนรมย์ จึงเรียกว่า“ คุ้งสำเภา” ในระยะนั้นอำเภอมโนรมย์
มีความเจริญทางเศรษฐกิจด้านพาณิชย กรรมมาก จึงได้ย้ายเมืองมโนรมย์ และตั้งที่ว่าการอำเภอมโนรมย์ใหม่ (เมื่อปีพ.ศ.
2452) เพื่อให้อยู่ใจกลางเมืองและย่านชุมชนบริเวณตำบลคุ้งสำเภา ซึ่งเป็นที่ว่า การอำเภอมโนรมย์ในปัจจุบันนี้