ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Бмхүн (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Бмхүн (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 120:
สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ชาวจีนอยู่ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์ชิง ชนกลุ่มน้อยเผ่า[[ชาวแมนจู|แมนจู]]ซึ่งได้ให้อภิสิทธิ์แก่เฉพาะชาวแมนจูและกดขี่[[ชาวจีนฮั่น]] อีกทั้งราชวงศ์ชิงไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (ค.ศ. 1644–1912) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากเหล่าประเทศลัทธิล่าอาณานิคม<ref name="depstate-chineserev">{{cite web|url=https://history.state.gov/milestones/1899-1913/chinese-rev |title=The Chinese Revolution of 1911 |publisher=US Department of State |accessdate=2016-10-27}}</ref> โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น จีนได้ทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้ราษฎรหมดความเชื่อถือต่อราชวงศ์ชิงเป็นอย่างมากนำไปสู่การต่อต้านระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู
 
แนวความคิดต่อต้านราชวงศ์ชิงเริ่มมาจากการที่ราชวงศ์ชิงได้ทำ[[สงครามฝิ่น]]กับ[[อังกฤษ]] โดย[[สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง]] ทำให้จีนต้องสูญเสีย[[เกาะฮ่องกง]]และลงนาม[[สนธิสัญญานานกิง]] ผลกระทบของสนธิสัญญานานกิงที่จีนจำต้องลงนามเมื่อพ่ายแพ้สงครามฝิ่นครั้งแรก ในด้านสังคมที่ร้ายแรงที่สุด คือ อังกฤษบังคับให้จีนยอมรับว่าการค้าฝิ่นเป็นเรื่องถูกกฎหมาย โดยถือว่าเป็นยารักษาโรคและทำได้โดยเสรี ทำให้สังคมจีนอยู่ในสภาพอ่อนแอ เพราะประชากรจำนวนมากอยู่ในสภาพติดยาเสพติด บ้านเมืองตกอยู่สภาพจลาจลในวุ่นวาย แม้ราชวงศ์ชิงจะพยายามแก้ปัญหาการเสพติดฝิ่นของประชาชน แต่เมื่อจีนได้ทำ[[สงครามฝิ่นครั้งที่สอง]]และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อีกครั้งทำให้จีนต้องทำ[[สนธิสัญญาเทียนจิน]]ซึ่งทำให้จีนสูญเสียผลประโยชน์มากขึ้นไปอีก[[ไฟล์:Flag_of_the_Republic_of_China_(1912-1928).svg|thumb|250px|right|[[ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ|ธงชาติของสาธารณรัฐจีน]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455-2471]]อี
 
[[กบฎนักมวย]]เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1900 กองโจรนักมวยได้บุกเข้าโจมตีฐานที่มั่นของ[[พันธมิตรแปดชาติ]] ราชวงศ์ชิงนำโดย[[ซูสีไทเฮา]]ได้สนับสนุนการกบฎดังกล่าว แต่ก็ได้พ่ายแพ้ให้กับ[[กลุ่มพันธมิตรแปดชาติ]] ทำให้จีนถูกบังคับให้ลงนาม[[พิธีสารนักมวย]] และต้องจ่ายค่าชดใช้สงครามจำนวนมหาศาล<ref name="spence">Spence, Jonathan D. [1991] (1991), ''The Search for Modern China'', WW Norton & Co. ISBN 0-393-30780-8.</ref> ทำให้ชาวจีนอัปยศอดสูเป็นอย่างมาก
 
ในขณะที่ราชวงศ์ชิงกำลังอ่อนแอจากปัญหารุมเร้าทั้งภายในประเทศและจากนอกประเทศ ชาวตะวันตกและญี่ปุ่นดูถูกชาวจีนโดยการขนานนามว่า '''[[ขี้โรคแห่งเอเชีย]]''' ทำให้ชาวจีนบางส่วนมีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ประชาธิปไตยและนำไปสู่ขบวนการ[[ถงเหมิงฮุ่ย]]ต่อต้านราชวงศ์ชิง นำโดย ดร.[[ซุน ยัตเซ็น]]
[[ไฟล์:Hubei Military Government.jpg|thumb|250px|left|การก่อการกำเริบอู่ชาง]]
การจัดตั้งสาธารณรัฐจีนพัฒนามาจาก[[การก่อการกำเริบอู่ชาง]]โดยได้เริ่มลุกฮือต่อต้านราชวงศ์ชิง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ต่อมาการลุกฮือได้พัฒนามาเป็น[[การปฏิวัติซินไฮ่]] การปฏิวัติสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของขบวนการถงเหมิงฮุ่ย ราชสำนักชิงโดยมี [[ไจ้เฟิง|ไจ้เฟิง องค์ชายฉุน]] และ [[พระพันปีหลงยฺวี่]] เป็นผู้สำเร็จราชการ ยอมสละอำนาจโดยประทับตราพระราชสัญจักร คืนอำนาจให้ประชาชน หลังจากการยอมสละอำนาจของราชสำนักชิงแล้ว ชาวจีนทั่วประเทศและ[[ชาวจีนโพ้นทะเล]]ได้มีการเฉลิมฉลอง '''[[วันแห่งการลุกฮือ]]''' วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ที่เป็นที่รู้จักกันใน "[[วันชาติสาธารณรัฐจีน|วันสองสิบ]]" ซี่งวันดังกล่าวนี้เองในปัจจุบันได้เป็นวันชาติสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1911 [[ซุน ยัตเซ็น]] ได้ถูกเลือกเป็นประธานาธิบดี โดยการประชุมที่นานกิงโดยมีตัวแทนจากทุกมณฑลของจีน ซุนได้แถลงกาณ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการ และให้สัตย์คำมั่นสัญญาว่า ''จะรวมสาธารณรัฐจีนให้มั่นคงและวางแผนเพื่อความเป็นอยู่ของประชาชน''
[[ไฟล์:Flag_of_the_Republic_of_China_(1912-1928).svg|thumb|250px|right|[[ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ|ธงชาติของสาธารณรัฐจีน]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455-2471]]
 
ซุนได้ตระหนักถึงการขาดแคลนการสนับสนุนทางด้านการทหาร ซึ่งผู้นำ[[กองทัพเป่ยหยาง]] นายพล[[ยฺเหวียน ชื่อไข่]]ได้เสนอให้การสนับสนุนแต่ต้องแลกกับกับการที่เขาจะได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซุน ยัตเซ็นจึงได้มอบอำนาจตำแหน่งประธานาธิบดีให้แก่ [[ยฺเหวียน ชื่อไข่]] ผู้ซึ่งต่อมาได้บีบบังคับให้[[จักรพรรดิผู่อี๋]] จักรพรรดิราชวงศ์ชิงองค์สุดท้ายสละราชสมบัติ นายพลยฺเหวียนได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่อในปี ค.ศ. 1913<ref name="depstate-chineserev"/><ref>{{Harvnb|Fenby|2009|pp=123–125}}</ref>