ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ในวิกิพีเดีย '''ความโดดเด่น''' เป็นการตัดสินว่าหัวเรื่องใดควรมีบทความแยกต่างหาก สารสนเทศบนวิกิพีเดียต้องสามารถ[[WP:V|พิสูจน์ยืนยันได้]] หากไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือซึ่งกล่าวถึงหัวเรื่องได้แล้ว หัวเรื่องนั้นก็ไม่ควรมีบทความต่างหาก มโนทัศน์ความโดดเด่นของวิกิพีเดียใช้มาตรฐานนี้เพื่อเลี่ยงการสร้างบทความโดยไม่เลือก (indiscriminate inclusion) หัวเรื่องบทความและรายชื่อต้องมีความโดดเด่น หรือ "ควรแก่การรู้จัก" (worthy of notice) การตัดสินว่าหัวเรื่องหนึ่ง ๆ โดดเด่นไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับชื่อเสียง ความสำคัญ หรือความนิยมอย่างเดียว ดังที่จะมีอธิบายต่อไป
 
ให้สันนิษฐานได้ว่าหัวเรื่องนั้นเขียนเป็นบทความได้ หากที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปด้านล่าง และต้องไม่ถูกตัดออกภายใต้[[WP:NOT|สิ่งที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย]]เขียนเป็นบทความของตัวเองได้ นอกจากนี้ เนื้อหาบางประเภทมีหลักเกณฑ์ของแนวปฏิบัติเฉพาะหัวเรื่องตามที่ปรากฏบนกล่องด้านขวามือ ก็ให้ยึดทั้งแนวปฏิบัติในหน้านี้กับแนวปฏิบัติเฉพาะหัวเรื่องควบคู่กันไป หากพิจารณาแล้ว หัวเรื่องนั้นไม่ควรมีบทความของตน [[#วิธีแก้ไขบทความที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข|ให้รวมเข้ากับหัวเรื่องอื่นแทน]]
 
แนวปฏิบัตินี้เป็นเพียงกรอบพิจารณาว่า''หัวเรื่องใดเหมาะแก่การแยกเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่'' ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเนื้อหาของบทความหรือรายชื่อแต่อย่างใด สำหรับนโยบายวิกิพีเดียด้านเนื้อหานั้น ได้แก่[[WP:NPOV|มุมมองที่เป็นกลาง]] [[WP:V|การพิสูจน์ยืนยันได้]] [[WP:NOR|งดงานค้นคว้าต้นฉบับ]] [[WP:NOT|อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย]] และ[[WP:BLP|ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่]]
 
== แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นทั่วไป ==
หากหัวเรื่องใดได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญ (significant coverage) ใน[[WP:RS|แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ]]และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่องนั้น ให้สันนิษฐานว่าหัวเรื่องนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ในการสร้างเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่
* ในที่นี้ คำว่า "''การกล่าวถึงอย่างสำคัญ''" หมายความว่า แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมี[[WP:NOR|แหล่งข้อมูลต้นฉบับ]]ในการคัดย่อความเนื้อหา การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention) แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นหัวข้อหลักของแหล่งข้อมูลนั้น
* ในที่นี้ คำว่า "''[[WP:RS|ที่น่าเชื่อถือ]]''" หมายความว่า แหล่งข้อมูลจะต้องมีความซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ (editorial integrity) เพื่อให้การประเมินความโดดเด่นพิสูจน์ยืนยันได้ แหล่งข้อมูลอาจเป็นได้ตั้งแต่งานตีพิมพ์ในทุกรูปแบบ ทุกสื่อ และทุกภาษา การมีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ครอบคลุมเนื้อหาเป็นการทดสอบความโดดเด่นได้เป็นอย่างดี