ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮอนด้า ซีวิค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มภาพ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
แก้นิด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
บรรทัด 75:
โฉมนี้ มีการผลิตมาทั้งสิ้น 4 รุ่นปี ตั้งแต่รุ่นปี [[พ.ศ. 2535]] - [[พ.ศ. 2538]] มีตัวถัง 3 แบบ คือแบบคูเป้ 2 ประตู, hatchback 3 ประตู และแบบซีดาน 4 ประตู
 
มีระบบเกียร์ 2 ระบบ คือเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด มีเครื่องยนต์ 2 ขนาด คือ 1.3, 1.5, 1.6 และ 1.8 ลิตร พ่อค้ารถในไทย นิยมเรียกโฉมนี้ว่า "'''โฉมเตารีด'''" และ "'''โฉมสามดอร์'''" ในแบบตัวถังสามประตู
 
โฉมนี้ เป็นโฉมที่รูปลักษณ์ภายนอกของซีวิคเริ่มเปลี่ยนไป เพราะ 4 โฉมแรก ภายนอกจะมีลักษณะตรง แล้วหักเป็นมุมๆ ทำให้มีลักษณะเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆ แต่โฉมนี้จะเริ่มเปลี่ยนเป็นความโค้งมน และโฉมจากนี้ จะเพิ่มความโค้งมนมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงโฉมล่าสุด ที่มีความโค้งมนมาก
 
ในประเทศไทย นอกจากการขายตัวถังแบบ 4 ประตูแล้ว ยังมีการขายตัวถังแบบ 3 ประตูด้วย โดยรุ่นซีดานนำมาจำหน่ายเมื่อปี [[พ.ศ. 2535]] ส่วนรุ่น 3 ประตูนำมาจำหน่ายเมื่อปี [[พ.ศ. 2536]] เป็นซีวิคโฉมแรกใน[[ประเทศไทย]]ที่มีการนำรุ่น 3 ประตูมาจำหน่ายและชาวไทยชอบเรียกโฉมสามประตูนี้ว่า “สามดอร์”
 
นอกจากนี้ ในประเทศไทย ช่วงกลางๆ ของโฉมนี้ ซีวิคเริ่มเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีด แทนระบบคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งสังเกตได้จากอักษรทริมที่อยู่ท้ายรถ จะมีตัวไอเล็กภาษาอังกฤษ (i) ต่อท้าย (เป็นทริมแบบ LXi, EXi, ฯลฯ) แต่ถ้าไม่มี i ต่อท้าย (LX, EX, ฯลฯ) แปลว่า ซีวิคคันนั้นยังใช้เครื่องคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งรถที่ใช้ระบบหัวฉีด จะใช้เชื้อเพลิงคุ้มค่า และนอกจากนี้ เครื่องหัวฉีด สามารถเติมน้ำมัน [[แก๊สโซฮอล์]] (แก๊สโซฮอล์ E10) ได้ ซึ่งยิ่งช่วยผู้ใช้ประหยัดมากขึ้นไปอีก ในขณะที่เครื่องแบบคาร์บูเรเตอร์ ไม่เหมาะสมที่จะใช้แก๊สโซฮอล์