ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเทพสังวรญาณ (พวง สุขินฺทฺริโย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
* พ.ศ. 2488 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
 
=== บรรพชา และอุปสมบท ===
 
ท่านบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่พระอุฌบสถวัดสระแก้ว [[อำเภอพิบูลมังสาหาร]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] โดยมีพระครูพิบูลสมณกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบท เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ที่โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ตำบลช้างมิ่ง [[อำเภอพรรณานิคม]] [[จังหวัดสกลนคร]] โดยมี[[พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)]] เป็นพระอุปัชฌาย์ [[หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ]] เป็นพระกรรมวาจาจารย์ [[หลวงปู่ฝั้น อาจาโร]] เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า '''สุขินฺทริโย''' แปลว่า '''ผู้มีความสุขเป็นใหญ่'''<ref>https://sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=15227</ref> หลังจากอุปสมบทแล้ว พระภิกษุพวง สุขินทริโย ก็ได้เข้าศึกษาอบรมธรรมกับ[[พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต|หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต]] ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และขอนิสัยจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุนาเวง ตตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสลกนคร จังหวัดสกลนคร
 
=== ตำแหน่ง และหน้าที่ ===
* พ.ศ. 2501 เจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน
* พ.ศ. 2511 เจ้าอาวาส[[วัดศรีธรรมาราม]]
บรรทัด 49:
* พ.ศ. 2542 ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ธ)
 
=== สมณศักดิ์ ===
* พ.ศ. 2501 เป็น'''พระครูใบฎีกาพวง สุขินทริโย'''
* พ.ศ. 2512 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ '''พระครูอมรวิสุทธิ์'''
บรรทัด 56:
* 5 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพที่ '''พระเทพสังวรญาณ ภาวนาวิธานนิวิฐ วิจิตรสีลคุณาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี'''
 
== อาพาธ และมรณภาพ ===
ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 และรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลศิริราช ก่อนจะมาพักรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร เมื่อเวลา 10.54 น. ของวันที่ 2 เมษายน พ.ส. 2552 พระเทพสังวรญาณ (พวง สุขินทริโย) ได้ละสังขารเข้าสุ่แดนอนุปาทิเสสนิพพาน สิริรวมอายุ 82 ปี พรรษา 57 พรรษา ที่โรงพยาบาลยโสธร ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร หลังจากอาพาธด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย
 
== เรื่องเล่าหลวงตาพวง ==
=== หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธกล่าวถึง ===
 
ชื่อเสียงของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ย่อมเป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยทั่วประเทศเพราะด้วยปฏิปทาที่เรียบง่าย สมถะและเมตตาแก่ทุก ๆ คนที่ไปหา มิใช่แต่ชาวจังหวัดนครราชสีมาที่เลื่อมใสและศรัทธาท่าน ชาวยโสธรเองก็เช่นเดียวกันที่เลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติ และพากันไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณ เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งขอวัตถุมงคลเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่าง ๆ มิได้ขาด แต่ทุก ๆ ครั้งที่ชาวยโสธรไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณนั้น หากท่านทราบว่าเป็นชาวยโสธรแล้วท่านจะไม่ยอมให้วัตถุมงคล และบอกว่าให้กลับไปเอาที่ยโสธร ท่านมักจะพูดว่า '''ที่ยโสธรมีคนเก่งกว่ากูอีก ผมหงอก ๆ ขาว ๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำชีนั่นแหละ''' เมื่อสัมภาษณ์หลวงตาพวงถึงเรื่องนี้ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า "ก็เคยได้ยินมาจากญาติโยมหลายสิบคนแล้ว ที่เล่าให้ฟังเหมือนกันว่าเมื่อชาวยโสธรไปกราบหลวงพ่อคูณ ท่านมักจะไล่กลับมาหาหลวงตา" หลวงตาเองก็ไม่เคยได้พูดคุยกับหลวงพ่อคูณสักครั้งเดียว หลวงตาก็เคยไปวัดบ้านไร่มาสองครั้ง แต่ไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกับท่านเพราะมีญาติโยมเป็นจำนวนมากจึงไม่มีโอกาสพูดคุยกัน หลวงพ่อคูณจะทราบได้อย่างไรก็ไม่ทราบหรืออาจเป็นเพราะมีลูกศิษย์เล่าให้ฟังถึงประวัติหลวงตากระมัง
 
=== เดินข้ามแม่น้ำชี ===
มีเรื่องเล่าขานกันในหมู่ชาวบ้านแถบลำน้ำชีอันเป็นที่ตั้ง ของ วัดศรีธรรมารามซึ่งหลวงตาพวงเคยจำพรรษาอยู่ ฝั่งตรงข้ามของวันศรีธรรมารามเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตของอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวบ้านเล่ากันว่ามีคนออกไปเก็บกับดักหนูที่ดักไว้ในช่วงเช้ามืดได้เห็นหลวง ตาพวงออกเดินบิณฑบาตโดยเดินบนแม่น้ำชีจากวัดศรีธรรมารามไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ฝั่งอำเภอพนมไพร
 
คุณสมจันทร์ โพธิศรี อยู่บ้านเลขที่ 68 บ้านกุดกุง (คุ้มหนองแสง) ตำบลเขื่องคำ อ.เมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เล่าให้ฟังเป็นภาษาอิสานว่า "เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538-2539 เช้าวันหนึ่งข่อยไปดักหนูป่าแมะ ได้เห็นหลวงตาพวงเพิ่นเดินข้ามแม่น้ำชีไปแมะ ข่อยนี้แหละเป็นผู้เห็นท่านเองเลย" (คัดจากหนังสือโลกทิพย์) เมื่อถามเรื่องนี้กับหลวงตา หลวงตาก็ตอบว่า '''เป็นเรื่องของเขาเห็นปรากฏในสายตา หลวงตาไม่ค้าน ไม่ได้ปฏิเสธ เขาคงเห็นด้วยสายตาของเขา จะเล่าลืออย่างไร หลวงตาไม่ได้พูด ไม่ได้อวดอะไร''' แล้วหลวงตาก็เปลี่ยนเรื่องพูดถึงเรื่องหมู่บ้านในฝั่งอำเภอพนมไพรว่า "หลวงตาก็รับนิมนต์ไปสวดหรือไม่ก็ฉันที่หมู่บ้านฝั่งนี้เป็นประจำทุกวันออกพรรษาชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน ก็พากันมามอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ มากราบขอพรเพราะพวกเขาไม่มีที่พึ่งในหมู่บ้าน เขาจึงมาพึ่งหลวงตา เมื่อมีการงานอะไรพวกเขาก็มาช่วยเสมอ ๆ แม้แต่มาอยู่ที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม พวกเขาก็ยังมา"
 
== อ้างอิง ==