ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พฤกษศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ 2001:44c8:4001:6f96:bcd6:13b5:cef6:335e (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย 2001:44C8:4001:6F96:BCD6:13B5:CEF6:335E.ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 7977746 โดย David Supervidด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Myris fragr Fr 080112-3294 ltn.jpg|thumb|250px|ผล[[จันทน์เทศ]] (''Myristica fragrans'')]]
 
'''พฤกษศาสตร์''' ({{Lang-en|Botany}}) หรือ '''ชีววิทยาของพืช''' ({{Lang-en|Plant Biology}}) หรือ '''วิทยาการพืช,พืชศาสตร์''' ({{Lang-en|Plant Science}}) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของ[[ชีววิทยา]] ที่ศึกษาเกี่ยวกับ[[พืช]]และการเจริญเติบโต พฤกษศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่พืช สาหร่าย และเห็ดรา ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง [[การเจริญเติบโต]] [[การสืบพันธุ์]] [[เมแทบอลิซึม]] โรค และคุณสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างกลุ่มต่าง ๆ การศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์เริ่มต้นจากความรู้ที่สืบต่อกันมา จากการจำแนกพืชที่กินได้ พืชสมุนไพรและพืชมีพิษ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ จากความสนใจในเรื่องพืชของบรรพบุรษทำให้ปัจจุบันจำแนกสิ่งมีชีวิตในด้านพฤกษศาสตร์มากกว่า 550,000 ชนิดหรือสปีชีส์
 
== ขอบเขตและความสำคัญของพฤกษศาสตร์ ==
ดังเช่นสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ พืชก็สามารถศึกษาได้จากหลายแง่มุม ทั้งในด้านโมเลกุล [[พันธุศาสตร์]] หรือ[[ชีวเคมี]] และศึกษาได้ตั้งแต่ระดับออร์แกเนลล์ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ต้นพืช ประชากร ไปจนถึงระดับชุมชนหรือสังคมของพืช ในแต่ละระดับเหล่านี้ นักพฤกษศาสตร์อาจสนใจศึกษาได้ทั้งในด้านการจัดหมวดหมู่ ([[อนุกรมวิธาน]]) ด้านโครงสร้าง ([[กายวิภาคศาสตร์]]) หรือด้านหน้าที่ ([[สรีรวิทยา]]) ของส่วนต่าง ๆ ของพืช
 
ในอดีตนั้น สิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะถูกจำแนกให้อยู่ในกลุ่มพืชหรือกลุ่มสัตว์ พฤกษศาสตร์จึงครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ไม่ได้ถูกพิจารณาให้อยู่ในกลุ่มสัตว์ สิ่งมีชีวิตบางจำพวกซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสาขาพฤกษศาสตร์ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรพืชมานานแล้วได้แก่ เห็ดรา ([[วิทยาเห็ดรา]]) [[แบคทีเรีย]] ([[วิทยาแบคทีเรีย]]) [[ไวรัส]] ([[วิทยาไวรัส]]) และสาหร่ายเซลล์เดียว ซึ่งกลุ่มสาหร่ายเซลล์เดียวถูกจัดส่วนหนึ่งของ[[โพรทิสตา]]ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นักพฤกษศาสตร์ยังคงให้ความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เห็ดรา ไลเคน แบคทีเรีย และโพรทิสที่มีกระบวนการ[[สังเคราะห์ด้วยแสง]]ยังถูกจัดให้อยู่ในวิชาพฤกษศาสตร์เบื้องต้น
 
การศึกษาพืชมีความสำคัญมากเพราะพืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรก ๆ บนโลก พืชสร้างแก็สออกซิเจน อาหาร เชื้อเพลิง และยา ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตชั้นสูงกว่ารวมทั้งมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ พืชยังดูดกลืน[[แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์]]ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเป็นแก๊สที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพืชมีความสำคัญต่ออนาคตของสังคมมนุษย์ดังต่อไปนี้
* การผลิตอาหารให้แก่ประชากรมนุษย์ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น
* ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต
* การผลิตยาและวัสดุต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บและโรคด้านอื่น ๆ
* ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
 
=== การผลิตอาหารให้แก่โลก ===
[[ไฟล์:US long grain rice.jpg|right|thumb|อาหารแทบทุกชนิดที่เรารับประทานมาจากพืชอย่างเช่นข้าว ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สาขาวิชาพฤกษศาสตร์เป็นหัวข้อการศึกษาวิจัยที่สำคัญ]]
ความจริงแล้วอาหารทุกอย่างที่เรารับประทานล้วนมาจากพืช ทั้งโดยตรงจากอาหารหลักจำพวก[[แป้ง]] [[ข้าว]] รวมทั้ง[[ผัก]]และ[[ผลไม้]] หรือโดยอ้อมผ่านทาง[[ปศุสัตว์]]ซึ่งกินพืชเป็นอาหาร ความหมายอีกนัยหนึ่งคือ พืชเป็นรากฐานของ[[ห่วงโซ่อาหาร]]เกือบทุกห่วงโซ่ หรือที่นัก[[นิเวศวิทยา]]เรียกว่า ลำดับขั้นแรกของอาหาร ความเข้าใจในการผลิตอาหารของพืชมีความสำคัญต่อการผลิตอาหารให้แก่คนทั่วโลก และเก็บรักษาอาหารไว้สำหรับอนาคต แต่พืชไม่ได้มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกชนิด [[วัชพืช]]บางชนิดสร้างปัญหาในการ[[เกษตรกรรม]] และนักพฤกษศาสตร์ก็พยายามศึกษาเพื่อหาวิธีลดผลกระทบให้น้อยที่สุด
 
[[ไฟล์:Gregor_Mendel.jpg|thumb|180px|left|[[เกรเกอร์ เมนเดล|เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล]] บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ จากการศึกษาต้นถั่วลันเตา]]
 
=== ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต ===
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมและสะดวกต่อการศึกษากระบวนการพื้นฐานต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต (ตัวอย่างเช่น การแบ่งเซลล์ และการสังเคราะห์[[โปรตีน]]) โดยไม่มีปัญหาทางจริยธรรมจากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์ กฎการถ่ายทอดทาง[[พันธุกรรม]]ของ'''เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล''' ก็ถูกค้นพบโดยการศึกษาด้วยวิธีนี้ โดยศึกษาจากการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตา
 
=== การผลิตยาและวัสดุต่าง ๆ ===
ยารักษาโรคและสารที่มีผลต่อประสาทอย่างเช่น [[กัญชา]] [[คาเฟอีน]] และ[[นิโคติน]] ส่วนใหญ่แล้วได้มาจากพืชโดยตรง ตัวอย่างเช่น ยา[[แอสไพริน]] ซึ่งสกัดจากสารจากเปลือกของต้น[[หลิว]] อาจมีวิธีรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยใช้พืชอีกหลายวิธีที่ยังรอการค้นพบอยู่ เครื่องดื่มที่นิยมอย่าง[[กาแฟ]] [[ช็อคโกแลต]] และ[[ชา]] ก็มาจากพืชเช่นกัน เครื่องดื่ม[[แอลกอฮอล์]]ส่วนใหญ่ก็ได้จากการหมักพืชอย่างเช่น[[ข้าวบาร์เลย์]] [[มอลต์]] และ[[องุ่น]]
 
นอกจากนี้ พืชยังเป็นแหล่งของวัสดุธรรมชาติมากมาย เช่น [[ฝ้าย]] ไม้ [[กระดาษ]] [[ลินิน]] [[น้ำมันพืช]] และ[[ยาง]] ผลิตภัณฑ์ผ้า[[ไหม]]จะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการเพาะปลูกต้น[[หม่อน]] และไม่นานมานี้ อ้อยและพืชอื่น ๆ ก็ถูกใช้เป็นแหล่งของ[[เชื้อเพลิงชีวภาพ]] ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือไปจาก[[เชื้อเพลิงฟอสซิล]]
 
=== ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ===
พืชสามารถทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมได้จากหลายทาง ได้แก่
 
* ความเข้าใจในการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญต่อการจัดหมวดหมู่และการศึกษา[[อนุกรมวิธาน]]ของพืชได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์
* พืชมีการตอบสนองต่อรังสีอุลตราไวโอเลต จึงใช้ศึกษาและตรวจสอบการลดลงของโอโซนได้
* การศึกษาวิเคราะห์ละอองเกสรจากซากดึกดำบรรพ์ของพืช ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จำลองสภาพภูมิอากาศในอดีต และทำนายสภาพอากาศในอนาคตได้
* การบันทึกและวิเคราะห์ช่วงเวลาของวัฎจักรชีวิตของพืช มีความสำคัญต่อการศึกษาปรากฏการณ์และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
* [[ไลเคน]] ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อสภาพอากาศ สามารถใช้ตรวจวัดมลภาวะได้
 
== นิรุกติศาสตร์ ==
พฤกษศาสตร์ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มีความหมายว่า วิชาว่าด้วยต้นไม้ พฤกษศาสตร์มาจากคำว่า พฤกษ (พฺรึกสะ) หมายถึงต้นไม้ มีรากศัพท์มาจากภาษากึ่งบาลีกึ่งสันสกฤตจาก วฺฤกฺษ ในภาษาสันสกฤตและ รุกฺข ในภาษาบาลี กับคำว่า ศาสตร์ (สาด) หมายถึงระบบวิชาความรู้ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
 
== ประวัติศาสตร์ของพฤกษศาสตร์ ==
 
=== พฤกษศาสตร์ยุคแรก ===
'''อินเดียโบราณ''' มีการค้นพบการจำแนกพืชขึ้นเป็นครั้งแรกในคัมภีร์[[ฤคเวท]]ซึ่งแบ่งพืชออกเป็น ไม้ต้น ไม้ล้มลุกที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และไม้เลื้อย ซึ่งในภายหลังได้ถูกแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น 8 กลุ่มในคัมภีร์เวทอาธารวา คือ ไม้ที่กิ่งแผ่กว้าง ไม้ที่ใบเป็นกระจุกและยาว ไม้พุ่ม ไม้ที่แผ่ราบ ไม้ใบเลี้ยงเดี่ยว ไม้เลื้อย ไม้ที่มีกิ่งก้านมาก ไม้ที่มีปุ่มปมซับซ้อน ผลงานทางด้านสรีรวิทยาของพืชที่สำคัญในสมัยอินเดียตอนกลางประกอบด้วย the Prthviniraparyam of Udayana, Nyayavindutika of Dharmottara, Saddarsana-samuccaya of Gunaratna และ Upaskara of Sankaramisra
 
'''จีนโบราณ''' บันทึกรายชื่อพืชและพืชที่นำมาปรุงยามีมาหลังสงครามระหว่างแคว้น (481-221 ก่อนคริสต์ศักราช) แพทย์จีนจำนวนมากตลอดศตวรรษได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการปรุงยาสมุนไพร ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีงานเขียนของคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง และแพทย์จีน จาง จงจิ่งที่มีชื่อเสียงมากในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักวิทยาศาสตร์และรัฐบุรุษ ซูซ่ง และ เฉิน โค่ว ได้รวบรวมวิธีการรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพรรวมกับการใช้แร่ธาตุอีกด้วย
 
'''กรีกโรมัน''' ผลงานทางด้านพฤกษศาสตร์ในแถบยุโรปมีมาราว 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทีโอฟราตัสมีงานเขียนสองเล่มที่สำคัญคือ On the History of Plants และ On the Causes of Plants หนังสือสองเล่มนี้ส่งผลให้เกิดการศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์มากขึ้น นายแพทย์ชาวโรมันเขียนหนังสือรวบรวมการรักษาด้วยสมุนไพรซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความรู้ทางพฤกษศาสตร์ของกรีกโรมัน
 
=== พฤกษศาสตร์สมัยกลาง ===