ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
==ประวัติ ==
ปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ เรือนแพหน้า[[วัดพนมยงค์]] ตำบลท่าวาสุกรี [[อำเภอกรุงเก่า]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] ในครอบครัวชาวนาไทย เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายเสียง และนางลูกจันทน์ พนมยงค์<ref>[http://www.baanjomyut.com/library/2548/thaiwriters/preedee.html ปรีดี พนมยงค์ นักคิด นักเขียน]</ref>
 
บรรพบุรุษของปรีดีตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้วัดพนมยงค์มาเป็นเวลาช้านาน โดยที่บรรพบุรุษข้างบิดานั้นสืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัย[[อาณาจักรอยุธยา]] ชื่อ "ประยงค์"<ref>[http://www.openbase.in.th/files/pridibook078.pdf ชีวประวัติย่อของปรีดี พนมยงค์ สกุล พนมยงค์ และ สกุล ณ ป้อมเพชร์], โครงการปรีดีพนมยงค์กับสังคมไทย, 2526, หน้า 163</ref> พระนมประยงค์เป็นผู้สร้างวัดในที่สวนของตัวเอง โดยตั้งชื่อวัดตามผู้สร้างว่า วัดพระนมยงค์ หรือ วัดพนมยงค์ กาลเวลาล่วงเลยมาจนเมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ทายาทจึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์"<ref>วิชัย ภู่โยธิน, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook087.pdf ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ ดร.ปรีดี พนมยงค์], ไทยวัฒนาพาขิช, หน้า 11, 2538, ISBN 974-08-2445-5</ref> และได้อุปถัมภ์วัดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน<ref>[http://www.openbase.in.th/files/pridibook192.pdf วัดพนมยงค์ คำสัมภาษณ์พระอธิการเอิ้อ เจ้าอาวาส, มติชน 15 พฤษภาคม 2526], หนังสือที่ระลึกงานชุมนุมศิษย์เก่า ตมธก.รุ่น 2, 2527, หน้า 13-14</ref>
 
บรรพบุรุษรุ่นปู่-ย่าของปรีดีประกอบกิจการค้าขายมีฐานะเป็นคหบดีใหญ่<ref>วิชัย ภู่โยธิน, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook087.pdf ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ ดร.ปรีดี พนมยงค์], ไทยวัฒนาพานิช, หน้า 9, 2538, ISBN 974-08-2445-5</ref><ref>นาวี รังสิวรารักษ์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook137.pdf รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ปรีดี พนมยงค์], สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2544, หน้า 2, ISBN 974-604-957-7</ref> แต่นายเสียงบิดาของปรีดีเป็นคนชอบชีวิตอิสระไม่ชอบประกอบอาชีพค้าขายเจริญรอยตามบรรพบุรุษ จึงหันไปยึดอาชีพกสิกรรม เริ่มต้นด้วยการทำป่าไม้ และต่อมาได้ไปบุกเบิกถางพงร้างเพื่อจับจองที่ทำนาบริเวณทุ่งหลวง [[อำเภอวังน้อย]]<ref>นาวี รังสิวรารักษ์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook137.pdf รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ปรีดี พนมยงค์], สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2544, หน้า 4-6, ISBN 974-604-957-7</ref> แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติ โขลงช้างป่า และแมลงที่มารบกวนทำลายต้นข้าวทำให้ผลผลิตออกมาไม่ดี ไม่สามารถขายข้าวได้ ซ้ำร้ายรัฐบาลได้ให้สัมปทานบริษัทขุดคลองแห่งหนึ่งขุดคลองผ่านที่ดินของนายเสียงและยังเรียกเก็บค่าขุดคลอง ([[คลองรังสิต|ดูประวัติคลองรังสิต]])<ref>นาวี รังสิวรารักษ์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook137.pdf รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ปรีดี พนมยงค์], สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2544, หน้า 10, ISBN 974-604-957-7</ref> ซึ่งบิดาของปรีดีต้องกู้เงินมาจ่ายเป็นค่ากรอกนาในอัตราไร่ละ 4 บาท แลกกับการได้ครอบครองที่ดินที่จับจองไว้จำนวน 200 ไร่ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวย่ำแย่ลงไปอีก ต้องอดทนเป็นหนี้สินอยู่หลายปี<ref>นาวี รังสิวรารักษ์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook137.pdf รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ปรีดี พนมยงค์], สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2544, หน้า 11-14, ISBN 974-604-957-7</ref> เหตุการณ์ครั้งนั้นยังทำให้ราษฎรผู้บุกเบิกจับจองที่ดินมาก่อนต้องสูญเสียที่ดินไปเป็นจำนวนมากและกลายเป็นชาวนาผู้เช่าที่ในที่สุด<ref>นาวี รังสิวรารักษ์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook137.pdf รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ปรีดี พนมยงค์], สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2544, ISBN 974-604-957-7</ref><ref>สุนทรี อาสะไวย์, ประวัติคลองรังสิต : การพัฒนาที่ดินและผลกระทบต่อสังคม พ.ศ. 2431-2457, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530</ref>
 
จากการเติบโตในครอบครัวชาวนานี้เอง ปรีดีจึงได้สัมผัสรับรู้เป็นอย่างดีถึงสภาพความเป็นอยู่และความทุกข์ยากของชนชั้นชาวนาทั้งหลายที่ฝากชีวิตไว้กับความไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ ราคาพืชผลในตลาด และดอกเบี้ยของนายทุน นอกจากนี้ยังต้องพบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าที่ดินศักดินาที่กระทำผ่านการเก็บภาษีและการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประสบการณ์เหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้ปรีดีคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศในเวลาต่อมา<ref>นาวี รังสิวรารักษ์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook137.pdf รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ปรีดี พนมยงค์], สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2544, หน้า 48-55, ISBN 974-604-957-7</ref>
 
ปรีดีเมื่อครั้งเยาว์วัยเป็นเด็กหัวดี ช่างคิด ช่างสังเกตวิเคราะห์ และเริ่มมีความสนใจทางการเมืองมาตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี จากเหตุการณ์ปฏิวัติในประเทศจีนที่นำโดย [[ซุน ยัตเซ็น]] และเหตุการณ์[[กบฏ ร.ศ. 130]] ในสยาม ซึ่งปรีดีได้แสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างมากต่อผู้ที่ถูกลงโทษในครั้งนั้น<ref>ปรีดี พนมยงค์, เรื่องการมีจิตสำนึกอภิวัฒน์ของข้าพเจ้า [http://www.openbase.in.th/files/pridibook080.pdf ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน], สำนักพิมพ์เทียนวรรณ, 2529, หน้า 14</ref>
 
ถึงแม้ว่าปรีดีจะเกิดในครอบครัวชาวนา แต่บิดาของเขาก็เป็นผู้ใฝ่รู้และเล็งเห็นประโยชน์ของการศึกษา จึงสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษาที่ดีมาโดยตลอด<ref>ไสว สุทธิพิทักษ์, [http://openbase.in.th/files/pridibook163.pdf ดร.ปรีดี พนมยงค์], บพิธการพิมพ์, 2493, หน้า 6</ref> [[ปั้น สุขุม|เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)]] ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยาปรีดี ได้เคยกล่าวถึงนายเสียง พนมยงค์ ว่า
{{คำพูด|เป็นผู้สนใจในกสิกรรม และที่สนใจที่สุดคือการทำนา ดูเหมือนว่าพบกันกับข้าพเจ้าครั้งไรที่จะไม่พูดกันถึงเรื่องทำนาเป็นไม่มี แต่ถึงว่าจะฝักใฝ่ในการทำนาอยู่มากก็จริง นายเสียง พนมยงค์ มิได้ละเลยที่จะสงเคราะห์ และให้การศึกษาแก่บุตรเลย พยายามส่งบุตรเข้าศึกษาเล่าเรียน...<ref>ไสว สุทธิพิทักษ์, [http://openbase.in.th/files/pridibook163.pdf ดร.ปรีดี พนมยงค์], บพิธการพิมพ์, 2493, หน้า 5</ref>}}
 
== การศึกษา ==
ปรีดีเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านครูแสง<ref>วิชัย ภู่โยธิน, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook087.pdf ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ ดร.ปรีดี พนมยงค์], ไทยวัฒนาพานิช, หน้า 13-14, 2538, ISBN 974-08-2445-5</ref> ตำบลท่าวาสุกรี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูน<ref>วิชัย ภู่โยธิน, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook087.pdf ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ ดร.ปรีดี พนมยงค์], ไทยวัฒนาพานิช, หน้า 20, 2538, ISBN 974-08-2445-5</ref> อำเภอกรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่[[โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร]]<ref>วิชัย ภู่โยธิน, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook087.pdf ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ ดร.ปรีดี พนมยงค์], ไทยวัฒนาพานิช, หน้า 23, 2538, ISBN 974-08-2445-5</ref> แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ [[โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย]])<ref>วิชัย ภู่โยธิน, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook087.pdf ก้าวแรกแห่งความสำเร็จ ดร.ปรีดี พนมยงค์], ไทยวัฒนาพานิช, หน้า 25, 2538, ISBN 974-08-2445-5</ref> จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง แล้วไปศึกษาต่อที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]<ref name="ชีวประวัติย่อของนายปรีดี พนมยงค์">ปรีดี พนมยงค์, [http://www.openbase.in.th/files/pridibook078.pdf ชีวประวัติย่อของนายปรีดี พนมยงค์], วิสิษฏสรอรรถ, หน้า 3</ref>