ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรีดี พนมยงค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Orangemamee04 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 242:
| {{flag|สวีเดน}} || พ.ศ. 2490 || [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา]] ชั้นสูงสุด รับพระราชทานจาก[[สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน]] || [[ไฟล์:Baton_Orde_van_Vasa.jpg‎|80px]] || <ref>ไสว สุทธิพิทักษ์, [http://openbase.in.th/files/pridibook163.pdf ดร.ปรีดี พนมยงค์], บพิธการพิมพ์, 2493, หน้า 741</ref>
|}
 
== การเชิดชูเกียรติ ==
 
=== วันสำคัญ ===
[[ไฟล์:Monument of Pridi Phanomyong & Dome of Thammasat University.jpg|thumb|right|อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ที่หน้า[[ตึกโดม]]มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ทุกวันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปีเป็น[[วันปรีดี พนมยงค์]] ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของปรีดี พนมยงค์ ในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล เมื่อ ค.ศ. 2000 ปรีดีได้รับการประกาศยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก และได้มีการบรรจุชื่อไว้ในปฏิทินเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญของยูเนสโก<ref>http://www.unesco.org/eri/cp/cp-print.asp?country=TH&language=E</ref>
 
=== พันธุ์สัตว์ ===
เมื่อ พ.ศ. 2546 ได้ค้นพบ[[ปลาปล้องทองปรีดี]] (''Schistura pridii'') ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดยตั้งชื่อตามนามของปรีดี พนมยงค์<ref>ไทยรัฐ, 4 สิงหาคม 2546, หน้า 15</ref> และ นายเอช.จี.ไดแนน (H.G.Deignan) ได้ค้นพบ [[นกปรีดี]] (''Chloropsis aurifrons pridii'') ที่ดอยอ่าง ดอยอินทนนท์ซึ่งนกปรีดีนั้นเป็นนกชนิดย่อยของนกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง ที่สถาบันสมิธโซเนียนแห่งสหรัฐอเมริกาตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย และพบกระจายพันธุ์อยู่บริเวณภาคเหนือเรื่อยลงไปทางด้านตะวันตกจนถึงจังหวัดตาก เป็นนกประจำถิ่นที่มีสีสันสวยงาม กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร นอกจากนี้นายไดแนน ยังตั้งชื่อนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้าอีกชนิดย่อยหนึ่ง ที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ขบวนการเสรีไทยว่า Chloropsis cochinchinensis seri-thai<ref>[http://www.pridi-phoonsuk.org/นกสวยงามกับเสรีไทย/ นกสวยงามกับเสรีไทย]
</ref>
 
=== สถานที่ ===
[[อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์]] มีอยู่ 2 ที่คือ บริเวณที่ดินถิ่นกำเนิดของปรีดี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกปรีดี พนมยงค์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมือง ตรงข้ามวัดพนมยงค์ อนุสาวรีย์ปรีดีพนมยงค์เป็นรูปสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอุดมการณ์อันสำคัญยิ่งของปรีดี 3 ประการคือ สันติภาพ เสรีไทยและประชาธิปไตย<ref>[http://202.143.176.132/ict/dw57/5121/Predeepanomyong.html อนุสรณ์สถานปรีดีพนมยงค์]</ref> และห้องอนุสรณ์สถานบนตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอนุสรณ์แห่งแรกที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงปรีดี พนมยงค์<ref>[https://es.foursquare.com/v/ลานปรด-พนมยงค/4c3b06c55810a59398e9b93c ลานปรีดี พนมยงค์] จาก es.foursquare.com</ref>
 
[[สถาบันปรีดี พนมยงค์]] มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ได้จัดสร้างอาคารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ขึ้น ณ ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิท 55 สำหรับใช้ดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและราษฎรไทย เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ [[24 มิถุนายน พ.ศ. 2538]]<ref>[http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=6&s_id=7&d_id=1 ประวัติสถาบันปรีดี พนมยงค์], เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์</ref>
 
[[คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์]] คณะนิติศาสตร์ใน[[มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]] เพื่อเป็นการรำลึกถึงความผูกพันระหว่างศาสตราจารย์ ปรีดี พนมยงค์ กับศาสตราจารย์ [[ไสว สุทธิพิทักษ์]] ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยและเป็นอธิการบดีคนแรก<ref>[http://www.dpu.ac.th/law/about.html เกี่ยวกับคณะ–คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์]
</ref>
 
[[หอสมุดปรีดี พนมยงค์]] เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเนื้อที่รวมประมาณ 10, 000 ตารางเมตร แต่เดิมชื่อ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเปลี่ยนเป็น ห้องสมุดธรรมศาสตร์ ในเวลาต่อมา ก่อตั้งขึ้นพร้อม กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน พ.ศ. 2477 เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2540<ref>[http://main.library.tu.ac.th/tulib/branches/pridi/index.php/2010-04-22-02-30-39 ประวัติหอสมุดปรีดี พนมยงค์]</ref>
 
[[วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของ [[สุรพล นิติไกรพจน์|ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์]]เพื่อรองรับการเรียนการสอน[[หลักสูตรนานาชาติ]] โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ในวาระครบ 100 ปี ชาตกาล<ref>[http://www.pbic.tu.ac.th/main/content/pridi-banomyong-international-college Pridi Banomyong International College]
</ref><ref>DMNEWS บล็อกข่าวส่งเสริมคนดี. (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552). '''วิทยาลัยนานาชาติ"ปรีดี พนมยงค์" มิติใหม่ธรรมศาสตร์ สร้างนักศึกษาสู่ตลาดโลก.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://downmerngnews.blogspot.com/2009/02/blog-post_9025.html]. (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).</ref>
 
=== เพลง ===
[[ปรีดีคีตานุสรณ์]] คือ บทเพลงซิมโฟนีหมายเลข 4 ประพันธ์โดยคีตกวี [[สมเถา สุจริตกุล]] ในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์<ref name="หน้าต่างบานใหม่">กฤษณา อโศกสิน, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stauthorid=14&stcolcatid=2&stcolumnid=156&stissueid=2387 หน้าต่างบานใหม่], สกุลไทย, ฉบับที่ 2387 ปีที่ 46 ประจำวันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2543</ref> ซึ่งใน พ.ศ. 2543 [[ดุษฎี พนมยงค์]]ได้ขับร้องในการแสดงรอบปฐมทัศน์ "ปรีดีคีตานุสรณ์" ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย<ref name="หน้าต่างบานใหม่"/> และใน พ.ศ. 2545 [[ดุษฎี พนมยงค์]] ก็ได้แสดงขับร้องใน "ปรีดีคีตานุสรณ์" ร่วมกับวงดุริยางค์และคณะนักร้องประสานเสียงแห่งชาติเวียดนาม ณ ฮานอย
 
=== อื่น ๆ ===
* [[ถนนปรีดี พนมยงค์]] มีอยู่ 3 สาย คือที่ถนนสุขุมวิท 71, ถนนใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา และภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
* [[สะพานปรีดี-ธำรง]] สะพานข้ามแม่น้ำป่าสักอันเป็นทางเข้าออกหลักของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ตั้งตามชื่อปรีดี พนมยงค์ และ[[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]]<ref>เกื้อกูล ยืนยงอนันต์. (2527). ความเปลี่ยนแปลงภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2438-2500. พระนครศรีอยุธยา : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. ถ่ายเอกสาร.</ref>
* [[ถนนประดิษฐ์มนูธรรม]] เป็นถนนเลียบทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) มีความยาว 12 กิโลเมตร
* แสตมป์ ชุดที่ระลึก 111 ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์ โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด วางจำหน่ายครั้งแรก 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554<ref>[http://www.thairath.co.th/content/170565 ปณท ออกแสตมป์100ปี หลวงพ่อปัญญา-ปรีดี พนมยงค์]&nbsp;</ref>
 
== อ้างอิง ==