ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิ่งมีชีวิตหลัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
[[File:Junior-Jaguar-Belize-Zoo.jpg|thumb|upright=1.3|[[เสือจาร์กัว]] เป็นทั้งสายพันธุ์คีย์สโตน, [[สายพันธุ์ให้ร่มเงา]], และเป็น[[ผู้ล่าอันดับบนสุด]]ของห่วงโซ่อาหาร]]
'''สายพันธุ์คีย์สโตน''' หรือ'''สิ่งมีชีวิตคีย์สโตน''' หรือ '''สายพันธุ์ประแจหิน''' ({{lang-en|Keystone species}}) เป็นสายพันธุ์สิ่งมีชีวิต (สปีชีส์) ที่มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และระบบนิเวศ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของมัน. สายพันธุ์ดังกล่าวมีบทบาทสำคัญ ในการรักษาโครงสร้างของชุมชนระบบนิเวศ ทำให้มีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมายในระบบนิเวศ และมีบทบาทในการกำหนดประเภทและจำนวนของสายพันธุ์อื่น ๆ ในชุมชน. สายพันธุ์คีย์สโตนเป็นพืชหรือสัตว์ ที่มีบทบาทสำคัญเป็นเอกลักษณ์ สำหรับการทำงานและคงอยู่ของระบบนิเวศ หากไม่มีสายพันธุ์คีย์สโตน ระบบนิเวศก็จะผันแปรไปอย่างคาดไม่ถึง หรืออาจถึงขนาดสูญสิ้นไปเลยก็ได้. สายพันธุ์คีย์สโตนบางสายพันธุ์ เป็น[[ผู้ล่าอันดับบนสุด]]ของห่วงโซ่อาหาร เช่น หมาป่าสีเทา แต่ก็มีบางสายพันธุ์ที่ทำหน้าที่อื่น เช่น เป็นสายพันธุ์สมชีพ (symbiont) ร่วมกับสายพันธุ์อื่น
 
แนวคิด (มโนทัศน์) ในเรื่องสายพันธุ์คีย์สโตน ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969 โดยนักสัตว์วิทยา โรเบิร์ต ที. เพน (Robert T. Paine)<ref name="paine1995">{{cite journal |author=Paine, R. T. |year=1995 |title=A Conversation on Refining the Concept of Keystone Species |journal=Conservation Biology |volume=9 |issue=4 |pages=962–964 |doi=10.1046/j.1523-1739.1995.09040962.x}}</ref> เพื่ออธิบายถึงสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางจำพวก ซึ่งการโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมของมันมีผลกระทบแบบบนลงล่าง (top-down effect) ต่อความหลากหลายทางสายพันธุ์ และการแข่งขันในระบบนิเวศของกลุ่ม อย่างใหญ่หลวงเมื่อเทียบกับมวลชีวภาพของมัน.<ref name=Davic2003>{{cite web | title=Linking Keystone Species and Functional Groups: A New Operational Definition of the Keystone Species Concept| url=http://www.consecol.org/vol7/iss1/resp11/ | author=Davic, Robert D. | publisher=Conservation Ecology | year=2003 | accessdate=2011-02-03}}</ref> คำว่า "คีย์สโตน" เป็นคำอุปมาที่ยืมมาจากสถาปัตยกรรมประตูหินโค้ง (archway) ที่ต้องมี[[ประแจหิน]] (keystone) เสียบอยู่บนยอดเพื่อให้โครงสร้างทั้งหมดคงอยู่ได้ ด้วยน้ำหนักของกันและกัน แนวคิดเรื่องคีย์สโตนจึงมีความคาบเกี่ยวกับ แนวคิดว่าด้วยความสัมพันธุ์ระหว่างระบบนิเวศ-สายพันธุ์อื่น ๆ เช่น [[สายพันธุ์ให้ร่มเงา]] (umbrella species)<ref name=Maehr2001>{{cite book |last1=Maehr |first1=David |last2=Noss |first2=Reed F. |last3=Larkin |first3=Jeffery L. |title=Large Mammal Restoration: Ecological And Sociological Challenges In The 21St Century|url=https://books.google.com/books?id=x3n_pBQFxVQC&pg=PA73 |year=2001 |publisher=Island Press |isbn=978-1-55963-817-3 |page=73}}</ref>