ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 57:
== ประวัติ ==
 
เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของ[[หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล|พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล]] อดีตรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงการต่างประเทศ]] และหม่อมแตงไทย เดชผล เคยสมรสกับปอลิน อินทสุกิจ มีบุตรชาย 2 คน คือ หม่อมหลวงปรมาภรณ์ เทวกุล (คุณเปรม) และ[[หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล]] (พิธีกรรายการโทรทัศน์ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "คุณปลื้ม") ต่อมาสมรสใหม่กับประภาพรรณ เทวกุล ณ อยุธยา มีบุตรสาว คือ หม่อมหลวงพุดจีบ เทวกุล
 
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนเซนต์คาเบรียล]] จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) จาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] จบปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จาก Wharton School [[มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย]] เมื่อ [[พ.ศ.ปี 2513]] และอบรมหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 จาก[[วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]] [[พ.ศ. 2532]] <ref>http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031113&tag950=03you30220447&show=1</ref><ref>http://www.sec.or.th/th/misc/sec/board/pridiyathorn.shtml</ref>
 
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เริ่มทำงานที่[[ธนาคารกสิกรไทย]] ตั้งแต่ [[พ.ศ.ปี 2514]] จนได้รับตำแหน่งกรรมการรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส จากนั้นดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]] เมื่อ [[พ.ศ.ปี 2533]] และรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงพาณิชย์]]ในรัฐบาล[[อานันท์ ปันยารชุน|นายอานันท์ ปันยารชุน]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/069/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)]เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535</ref> และ[[สุจินดา คราประยูร|พลเอกสุจินดา คราประยูร]] และดำรงตำแหน่ง[[วุฒิสมาชิก]] ช่วงปี [[พ.ศ. 2535]]-[[พ.ศ. 2535–2536|2536]] <ref>http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/prediyatorn.htm</ref>
 
จากนั้นรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ [[ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย]] หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม [[พ.ศ. 2544]]<ref>[https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Governor/Pages/default.aspx ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน]</ref> ต่อจาก[[หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล]] ในรัฐบาล[[ทักษิณ ชินวัตร]]
 
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ได้รับรางวัลผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งเอเชีย ประจำปี [[พ.ศ. 2549]] (Central Bank Governor of the Year -Asia 2006) จากการคัดเลือกของนิตยสาร The Banker ในเครือ Financial Times ประเทศอังกฤษ <ref>http://www.bot.or.th/bothomepage/General/PressReleasesAndSpeeches/PressReleases/News2549/Thai/n0549t.htm</ref><ref>http://www.nationmultimedia.com/photogallery/P_General_News_b1b_copy70.html</ref>
 
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการ [[มูลนิธิอาจารย์ป๋วย]] ประธานกรรมการ[[สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์]] กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการ[[คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ]] (ก.พ.ร.)
บรรทัด 71:
== งานการเมือง ==
=== รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ===
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล [[สุรยุทธ์ จุลานนท์|พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์]] <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/E/106/01.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)]</ref> ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ภายหลังการ[[รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549]] ต่อมาได้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 <!--เวลาประมาณ 11 [[นาฬิกา]]--> โดยการลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 โดยเหตุผลหลักตามที่ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธรได้แถลงในการลาออกนั้นคือ ความไม่พอใจในการนำคนจากรัฐบาลที่แล้ว ([[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]]) มาทำงาน และการดำเนินงานของรัฐมนตรีบางคนที่เอื้อประโยชน์ให้สื่อบางรายเป็นการเฉพาะ<ref>http://www.youtube.com/watch?v=v75oSMkEuXM</ref>
 
=== นโยบายที่สำคัญ ===
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ในสมัยที่ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ด้วยการสำรองเงินลงทุนจากต่างประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลาหนึ่งปีโดยไม่ให้ดอกเบี้ย ผลของมาตรการนั้นทำให้ ตลาดหลักทรัพย์ตกไปมากกว่า 100 จุดในหนึ่งวันและทำให้ต้องมีการพักการซื้อขายชั่วคราว ภายหลังจากการออกมาตรการไม่ถึงหนึ่งวัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวโดยยกเว้น เงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และเงินลงทุนในอีกหลายประเภท
 
=== รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ===
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/164/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)]</ref> และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/093/1.PDF</ref> ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/311/23.PDF</ref>
 
วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เขากล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสามเดือนแรก ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2557 ใช้เงินทั้งสิ้น 364,465.4 ล้านบาท โดยมีการใช้งบคงค้างและงบประมาณประจำปี 2558 เพื่อสร้างงาน เร่งลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศโดยเน้นซ่อม สร้าง มากกว่าสนองตอบความต้องการของประชาชนจริง ๆ บางส่วนให้แต่ละกระทรวงไปคิดหาวิธีใช้เงินเอง และแจกเงินให้ชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ เขายังกล่าวว่า "ที่รัฐบาลใช้เงินรอบนี้ 40,000 ล้านบาท ก็ดีกว่าไปขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวปีละ 250,000 ล้านบาท และทำแค่ปีเดียวเท่านั้น ไม่เรียกว่าเป็นโครงการประชานิยม เพราะไม่ได้ต้องการคะแนนเสียง ตอนนี้ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ"<ref>[http://www.thairath.co.th/content/454079 4หมื่นล.แจกชาวนา ไร่ละพัน กระตุ้นเศรษฐกิจ]</ref>
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[พ.ศ. 2550]] - [[ไฟล์:Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.svg|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก]] ชั้น [[มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก]] (ม.ป.ช.) <ref>ราชกิจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/B/018-1/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2550] เล่ม 124 ตอนที่ 18ข วันที่ 5 ธันวาคม 2550</ref>
* [[พ.ศ. 2546]] - [[ไฟล์:Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.svg|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]] ชั้น[[มหาวชิรมงกุฎ]] (ม.ว.ม.)<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2546/B/019V001/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖)] เล่ม 120 ตอนที่ 19ข วันที่ 1 ธันวาคม 2546</ref>
* [[พ.ศ. 2547]] - [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 3rd Class upper (Thailand) ribbon.svg|80px]] เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น[[ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ]] (ต.จ.ว.)<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0B/00140178.PDF ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีวันฉัตรมงคล จำนวน ๘๒ ราย, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๙ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑]</ref>
 
== รางวัลที่ได้รับ ==
บรรทัด 107:
| ถัดไป = [[ธาริษา วัฒนเกส]]
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549
}}
{{สืบตำแหน่ง
บรรทัด 120:
| ถัดไป = [[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]]
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
}}
{{สืบตำแหน่ง
บรรทัด 133:
| ถัดไป = [[โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์]]
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
}}
{{สืบตำแหน่ง
บรรทัด 146:
| ถัดไป = [[ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์]]
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
}}
{{สืบตำแหน่ง
บรรทัด 159:
| ถัดไป = [[ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์]]
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
}}
{{จบกล่อง}}