ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์การทหารของประเทศอาเซอร์ไบจาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ประวัติศาสตร์การทหารของประเทศอาเซอร์ไบจาน'''ประกอบด้วยเหต...
 
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 18:
ยุคเซลจุกของประวัติศาสตร์อาเซอร์ไบจานเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญกว่าการรุกรานของชาวอาหรับโดยทำให้เกิดการก่อรูปร่างของความเป็นชาติทางภาษาและกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวเติร์กอาเซอร์ไบจานสมัยใหม่ หลังจากการเสื่อมอำนาจของ[[กาหลิบ]][[ราชวงศ์อับบาสิด]] เขตแดนของอาเซอร์ไบจานอยู่ภายใต้การปกครองของหลายราชวงศ์ เช่น ซาลาริด ซายิด ชัดดาดิด ราวาดิด และบูยิด อย่างไรก็ตาม เมื่อราว พ.ศ. 1643 ดินแดนอาเซอร์ไบจาน ถูกยึดครองโดยชาวเติร์กเผ่าโอคุซจากเอเชียกลาง ราชวงศ์ของชาวเติร์กกลุ่มนี้ราชวงศ์แรกคือฆาซนาวิดจาก[[อัฟกานิสถาน]]ตอนเหนือ ซึ่งปกครองบางส่วนของอาเซอร์ไบจานตั้งแต่ พ.ศ. 1573 ต่อจากนั้น เซลจุกซึ่งเป็นเผ่าโอคุซสาขาตะวันตกได้เข้ายึดครองอิหร่าน เทือกเขาคอเคซัส และกดดันอิรักจนสามารถล้มล้าง[[ราชวงศ์บูยิด]]ใน[[แบกแดด]]ได้เมื่อ พ.ศ. 1593
 
=== ซาฟาวิดและการขึ้นสู่อำนาจของศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ===
[[File:1541-Battle in the war between Shah Isma'il and the King of Shirvan-Shahnama-i-Isma'il.jpg|thumb|upright|การสู้รบระหว่างทหารของราชวงศ์ซาฟาวิดกับชีร์วานชาห์ระหว่างการรุกรานของราชวงศ์ซาฟาวิดเมื่อ พ.ศ. 2044]]
[[ราชวงศ์ซาฟาวิด]]หรือซาฟาวิเยห์ เป็นราชวงศ์ที่นับถือนิกาย[[ซูฟี]] ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1873 โดย เชค ซาฟี อัลดิน ซูฟีได้เปลี่ยนมาเป็นอิสลามนิกายชีอะห์ที่นับถืออิหม่าม 12 องค์ ผู้อยู่ใต้การปกครองของซาฟาวิดบางกลุ่ม เช่น ชาวเติร์กควิซิลบาซ เชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์กับอาลีและการต่อสู้เพื่ออิสลาม ผู้ปกครองในราชวงศ์ซาฟาวิดอ้างว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากอาลี และภรรยาของเขาคือฟาติมาห์ซึ่งเป็นบุตรสาวของศาสนทูตโมฮัมหมัด ผ่านทางอิหม่ามคนที่ 7 มูซา อัลกาซิม ชาวเติร์กควิซิลบาซเพิ่มจำนวนมากขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 และประสบความสำเร็จในการทำสงครามกับอัก โกยุนลู และยึดครองตาบริซ
 
ราชวงศ์ซาฟาวิดที่นำโดยอิสมาอิลที่ 1 ขยายอำนาจเข้ายึดครองบากูใน พ.ศ. 2044 และยึดอำนาจจากชีร์วาน ชาห์
== การปกครองของรัสเซีย ==
[[File:Сражение под Елисаветполем.jpeg|thumb|left| ยุทธการกันยาเป็นการรบที่เกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย พ.ศ.2469 - 2471]]
หลังจาก[[รัสเซีย]]ชนะในสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย พ.ศ. 2346 – 2356 เปอร์เซียถูกบีบให้ลงนามใน[[สนธิสัญญากูลิสตาน]]เมื่อ พ.ศ. 2356 ยอมรับการสูญเสียดินแดนให้รัสเซีย ตำแหน่งข่านในท้องถิ่นถูกยุบ เช่นในบากูหรือกันยา หรือยอมรับผู้ปกครองจากรัสเซีย
 
สงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย พ.ศ. 2369 – 2371 ซึ่ง[[อิหร่าน]]เป็นฝ่ายพ่ายแพ้อีกครั้ง รัสเซียเป็นฝ่ายได้ดินแดนเพิ่มตาม[[สนธิสัญญาเติร์กเมนชาย]] โดยกวายาร์เปอร์เซียยอมเสียดินแดนบริเวณ[[เทือกเขาคอเคซัส]]ใน พ.ศ. 2371 ผลของสนธิสัญญาทำให้เกิดแนวชายแดนปัจจุบันของอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน สิ้นสุดการปกครองในระบบข่าน รัสเซียได้จัดตั้งจังหวัดขึ้น 2 จังหวัด ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสมัยใหม่คือเอลิซาเวตปอลหรือกันยาทางตะวันตก และชามาคาทางตะวันออก
=== สงครามกลางเมืองรัสเซีย ===
เมื่อ[[จักรวรรดิรัสเซีย]]ล่มสลายลงระหว่าง[[สงครามกลางเมืองรัสเซีย]] การบริหารในบริเวณเทือกเขาคอเคซัสได้เปลี่ยนไป เริ่มจากการจัดตั้งทรานส์คอเคเซียน คอมมิชซาเรียตใน พ.ศ. 2460 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 ได้ประกาศจัดตั้ง[[สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยทรานส์คอเคเซียน]] โดยเป็นการสร้างสหพันธ์ร่วมกับ[[อาร์เมเนีย]]และ[[สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งจอร์เจีย]] อีกเดือนต่อมา สาธารณรัฐสหพันธ์ได้สลายตัวไป และได้ประกาศตั้ง[[สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจาน]]ที่กันยาเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 ถือว่าเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นในโลกอิสลาม
 
==อ้างอิง==