ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปิยบุตร แสงกนกกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Art Tititham Narak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
การที่ประเทศไทยกลับมาอยู่ในวังวนการรัฐประหารถึง 2 รอบในชั่วเวลาห่างกันไม่ถึง 10 ปี รวมทั้งการล้มรัฐบาลโดยวิธีผิดปกติอีก 1 ครั้ง นับจากปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดสิ่งที่เขาชี้ให้สังคมเห็นว่านี่คือ “ทศวรรษที่สูญหาย” ประเทศเสียเวลาและโอกาสของความเจริญก้าวหน้า เกิดความแตกร้าวของคนในชาติที่ ‘ถูกกำหนดสร้างขึ้น’ เป็นรอยร้าวลึกล้ำจนไม่อาจหันหน้ามาปรึกษาหาทางออกกันได้ ในขณะเดียวกัน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก็ถูกอำนาจและอาวุธกดทับเอาไว้ ประชาชนจำนวนมากต้องมีชีวิตอยู่กับการเมืองแห่งความกลัว
 
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปิยบุตร ได้ลาออกจาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ด้วยตำแหน่งสุดท้ายคือ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน หลังรับราชการมาแล้วมากกว่า 16 ปี<ref>https://www.khaosod.co.th/politics/news_789599</ref> เพื่อจับมือกับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองคล้ายกันอีกจำนวนหนึ่ง ยื่นจดจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ด้วยความตั้งมั่นจะสร้างการเมืองใหม่แห่งความหวัง การกลับคืนสู่หนทางที่การปกครองจะยึดโยงอยู่กับประชาชน และสร้างสรรค์ประเทศไทยที่อนาคตอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง<ref>https://thestandard.co/piyabutr-saengkanokkul/</ref>
 
== พรรคอนาคตใหม่ ==
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปิยบุตร และ [[ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ]] อดีตนักธุรกิจเครือ[[ไทยซัมมิท]] และผู้สนับสนุนจำนวน 24 คน ได้ยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองภายใต้ชื่อ [[พรรคอนาคตใหม่]]<ref>https://themomentum.co/the-new-future-party/</ref> ต่อ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] หรือ กกต. ต่อมานายธนาธรได้รับมติเห็นชอบ 473 เสียงจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก โดยตำแหน่งหัวหน้าพรรคดังกล่าวจะมีวาระตามข้อกำหนดของพรรค 4 ปี ในขณะที่ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
 
== ชีวิตส่วนตัว ==