ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราหู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
ลักษณะของพระราหู ในคติไทย เป็นเทพอสูรมีกายสีนิลออกไปทางทองสัมฤทธิ์ มีกายครึ่งท่อน บ้างก็เต็มองค์ บ้างก็เป็นครึ่งอสูรครึ่งนาค ปากขบ ตาโพลง มี ๒ กร ทรงกระบองเป็นอาวุธ สวมมงกุฎน้ำเต้า สวมอาภรณ์สีทองและสีม่วง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ ทองสัมฤทธิ์ และแก้วนิลรัตน์ ทรงครุฑเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพอสูรมีกายสีนีล มี ๔ กร ทรงคทา ตรีศูล คทา ดาบ โล่ ฯลฯ สวมมงกุฎทองคำ สวมอาภรณ์สีน้ำเงิน ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ ทองสัมฤทธิ์และแก้วนิลรัตน์ ทรงเสือหรือราชสีห์เป็นพาหนะ บ้างก็วาดพระราหูให้มีแต่หัว สถิตบนดอกบัวบนราชรถเทียมด้วยเสือ บ้างก็วาดพระราหูมีหัวแล้วมีหางนาค
ในพระพุทธศาสนา พระอสุรินทราหูองค์นี้ เป็นองค์อุปราชของท้าวพรหมทัตตาสูร ได้ปกครองด้านทิศเหนือของอสูรพิภพ มีพละกำลังกล้าแข็ง และมีใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวยิ่งกว่าบรรดาอสูรทั่วๆ ไป ร่างกายของอสุรินทราหูนี้ มีอัตภาพใหญ่โตมากกว่าเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ โดยมีกายสูงถึง ๔,๘๐๐ โยชน์ รอบกายหนา ๖๐๐ โยชน์ ศีรษะใหญ่ ๙๐๐ โยชน์ รอบศีรษะกว้าง ๑,๒๐๐ โยชน์ บริเวณหน้าผากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ คิ้วกว้าง ๒๐๐ โยชน์ ระหว่างคิ้วยาวห่างกัน ๕๐ โยชน์ ตาใหญ่ ๒๐๐ โยชน์ จมูกกว้างยาวได้ ๓๐๐ โยชน์ ปากกว้าง ๓๐๐ โยชน์ แก้มสองข้างใหญ่ข้างละ ๑๘๐ โยชน์ ระหว่างแขนทั้งสองยาว ๑,๒๐๐ โยชน์ คอ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าหนา ๓๐๐ โยชน์ ข้อนิ้วยาว ๑๕ โยชน์ นิ้วยาว ๕๐ โยชน์ เมื่ออสุรินทราหูยืนในมหาสมุทร นํ้าในมหาสมุทรท่วมเพียงแค่หัวเข่าเท่านั้นเอง เมื่อพระอสุรินทราหูมีใจริษยาพระอาทิตย์ พระจันทร์ ก็จะขึ้นไปยังเขายุคนธรเพื่อบดบังดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โดยการอมไว้บ้าง ซ่อนไว้ใต้คางบ้าง เอามือบังบ้าง เหน็บไว้ใต้รักแร้บ้าง พระอสุรินทราหูหากใช้มือตักน้ำจากมหาสมุทร แล้วโยนขึ้นสู่ท้องฟ้า จะก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
พระราหู ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระสวรรภานุ,พระอรรธกาย,พระอรรธศีรษะ,พระนีลโลหิต,พระมหาวีรยะ,พระสุรศัตรู,พระตมัส,พระเมฆวรรณ,พระกฤษณสรรปราช,พระตโมรูป,พระนีลวัสนะ,พระศูระ,พระอัษฏมเคราะห์,พระศเนรมิตร ฯลฯ
 
ใน[[โหราศาสตร์ไทย]] พระราหูถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๘ (เลขแปดไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๒ เป็นเทวดาของผู้ที่เกิด[[วันพุธ]]ในเวลา[[กลางคืน]] นอกจากนี้ยังใช้แทนดาวราหู (ดาวยูเรนัส) และเทียบได้กับ[[ยูเรนัส (เทพปกรณัม)|ยูเรนัส]] หรือ [[ไทฟอน]] ตามเทพปกรณัมกรีก