ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพฤหัสบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
}}
 
'''พระพฤหัสบดี''' ([[อักษรเทวนาครี|เทวนาครี]]: बृहस्पति ''พฤหสฺปติ'') เป็น[[เทวดานพเคราะห์]]องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจาก[[พระศิวะ]]ทรงนำฤๅษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้า[[สีเหลือง]]ส้ม ประพรมด้วยน้ำอมฤต แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีพระวรกายสีส้มทอง ทรงเครื่องผนวชฤๅษี นุ่งห่มหนังเสือ สวมลูกประคำ ทรงเครื่องประดับเป็นทองคำ แก้วบุษราคัมและแก้วไพฑูรย์ ทรงมฤค ([[กวาง]]) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ป ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของ[[เทวดา]]ทั้งหลาย (เทวคุรุ,เทวาจารย์) จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูใน[[วันพฤหัสบดี]] ในไตรภูมิพระร่วง พระพฤหัสบดีมีวิมานลอยอยู่รอบเขาพระสุเมรุด้านทิศเหนือตะวันตก วิมานใหญ่ ๑๗ โยชน์ รัศมีขาวเหลืองดังมุก
 
ในคติฮินดู พระพฤหัสบดี เป็นบุตรของฤๅษีอังคิรส กับนางสมฤติ [[พระพรหม]]ทรงแต่งตั้งให้เป็นคุรุแห่งเหล่าเทวดา ทรงเป็นทั้งเทวฤๅษี เทวคุรุ และเทวดานพเคราะห์ เป็นเทพประจำดาวพฤหัสบดี เป็นเทพแห่งสติปัญญา ความรู้ พลังญาณ การศึกษาเล่าเรียน เป็นเทพประจำเหล่าครูบาอาจารย์และฤๅษีมุนี พระพฤหัสบดี มีพี่ชาย ๒ องค์ คือ ฤๅษีอุตัถยะ และ ฤๅษีสังวรรตนะ พระพฤหัสบดีและนางมัมตา ชายาของฤๅษีอุตัถยะ ลักลอบเป็นชู้กัน เมื่อฤๅษีอุตัถยะรู้ จึงสาปให้บุตรในท้องของนางมัมตากลายเป็นคนตาบอด และสาปพระพฤหัสบดีว่า ในอนาคตชายาของพระพฤหัสบดีก็จะเป็นชู้กับผู้อื่น บุตรที่ตาบอดนั้น ชื่อว่า ฤๅษีทีรฆตมัส ส่วนบุตรอีกคนของนางมัมตากับพระพฤหัสบดี คือ ฤๅษีภรัทวาช และพระพฤหัสบดีก็ทรงอวตารลงมาเกิดเป็นบุตรของบุตรของตนเอง คือ [[โทรณาจารย์]] อาจารย์ประจำราชสำนักกรุง[[หัสตินาปุระ]]