ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
บรันเดนบูร์ก ---> บรันเดินบวร์ค
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ชเลสวิก→ชเลสวิช
บรรทัด 91:
ในลอแรน เจ้าหญิงคริสตินาทรงเป็นที่ปรึกษาให้พระโอรส โดยเฉพาะในการฟื้นฟูการคลังของลอแรนหลังจากสงคราม และหลังจากได้รับความจงรักภักดีจากขุนนางท้องถิ่น พระนางทรงช่วยพระสุณิสารับแขกเมืองในฐานะเจ้าบ้าน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1560 พระนางทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งลอแรนอีกครั้งในช่วงที่พระโอรสและพระสุณิสาเสด็จเยือนราชสำนักฝรั่งเศส เจ้าหญิงคริสตินาทรงเป็นพระราชอาคันตุกะในพระราชพิธีราชาภิเษกของ[[พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศส]]ที่[[แร็งส์]]ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1561 และพิธีราชาภิเษกของ[[จักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ใน[[แฟรงก์เฟิร์ต]]ปีค.ศ. 1562 ดยุกชาร์ล พระโอรสได้เสด็จยังเมืองน็องซีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1562 และสิ้นสุดการสำเร็จราชการอย่างเป็นทางการ แต่ดยุกชาร์ลก็ยังคงพึ่งพาพระราชมารดาอยู่ในฐานะที่ปรึกษาในกิจการของรัฐ ในปีค.ศ. 1564 พระนางทรงทำข้อตกลงกับบิช็อปแห่งตูล์ ให้ยอมรับตำแหน่งของดยุกแห่งลอแรนและด้วยความยินยอมขององค์สันตะปาปา ในฐานะที่ปรึกษาทางการเมือง พระโอรสทรงมักจะมอบหมายราชกิจทางการเมืองให้พระมารดา เนื่องจากเจ้าหญิงคริสตินาทรงอยู่ในตำแหน่งที่มีอิทธิพลในราชสำนักดยุกลอแรน เนื่องจากเจ้าหญิงโคลด พระสุณิสาทรงโปรดที่จะประทับในราชสำนักฝรั่งเศสของพระนางเองมากกว่า โดยจะทรงเสด็จกลับบ่อยๆ แต่เจ้าหญิงคริสตินาก็ทรงเกรงกลัวอิทธิพลของ[[แคทเธอรีน เดอ เมดีชี|แคทเธอรีน เดอ เมดีชี สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งฝรั่งเศส]] ซึ่งเจ้าหญิงคริสตินาสงสัยว่าพระพันปีหลวงฝรั่งเศสทรงพยายามใช้อิทธิพลเหนือลอแรน และพยายามทำลายความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับพระโอรส เพื่อขับไล่พระองค์ออกจากการดูแลราชกิจของลอแรน
 
[[พระเจ้าคริสเตียนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก]] พระราชบิดาของพระนางได้เสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1559 ในที่คุมขัง ทรงเป็นนักโทษมานานกว่า 36 ปี สิริพระชนมายุ 77 พรรษา เจ้าหญิงโดโรเธีย พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิงคริสตินา ทรงประกาศพระองค์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก<ref name="Julia Cartwright 1590"/> แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหญิงโดโรเธียทรงเป็นม่ายและไร้โอรสธิดา และทรงมีพระชนมายุเกินวัยที่จะมีทายาทได้แล้ว ดังนั้นเจ้าหญิงโดโรเธียไม่ทรงมีประโยชน์ในทางการเมือง กลุ่มผู้จงรักภักดีต่ออดีตกษัตริย์คริสเตียนที่ 2 นำโดย [[เปเดอ โอเซ]] ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าเจ้าหญิงคริสตินา เพื่อทูลขอให้พระนางไปเกลี้ยกล่อมให้เจ้าหญิงโดโรเธียสละสิทธิในราชบัลลังก์ให้แก่พระนางและพระโอรสของพระนาง<ref name="Julia Cartwright 1590"/> เจ้าหญิงคริสตินาทรงแต่งตั้งให้โอเซเป็นสมาชิกสภาของดยุกแห่งลอแรน และในปีค.ศ. 1561 เจ้าหญิงคริสตินาได้เสด็จไปเยี่ยมเจ้าหญิงโดโรเธีย พระเชษฐภคินี และมีรายงานว่าทรงทำตามคำขอของโอเซ ในการเกลี้ยกล่อมให้เจ้าหญิงโดโรเธียสละสิทธิให้แก่พระนาง<ref name="Julia Cartwright 1590"/> หลังจากเหตุการณ์นี้ เจ้าหญิงคริสตินาทรงประกาศพระองค์เองเป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก นอร์เวย์และสวีเดน ตามสิทธิอันชอบธรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1563 พระนางทรงอวยพระยศเป็น "คริสตินา ด้วยความดีงามของพระผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์, พระประมุขแห่งชาวกอธ แวนดัล และสลาโวเนียน, ดัชเชสแห่งชเลสวิกชเลสวิช ดิตมาร์ช ลอแรน บาร์ และมิลาน, เคานท์เตสแห่งออลเดนบูร์กและบลามอนท์ และท่านหญิงประมุขแห่งทอร์โทนา"<ref name="Julia Cartwright 1590"/>
 
ในปีค.ศ. 1561 เจ้าหญิงคริสตินาทรงตั้งพระทัยที่จะให้พระราชธิดาคือ เจ้าหญิงเรเนตา อภิเษกสมรสกับ[[พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์ก]]<ref name="Julia Cartwright 1590"/> พระญาติซึ่งเป็นเชื้อสายศัตรูที่ช่วงชิงราชบัลลังก์ของพระราชบิดาไป แต่เมื่อเกิด[[สงครามทางตอนเหนือเจ็ดปี]]ระหว่างเดนมาร์กและสวีเดนในปีค.ศ. 1563 เจ้าหญิงคริสตินาจึงทรงล้มเลิกแผนการนี้ พระนางทรงได้รับการสนับสนุนจากเปเดอ โอเซ และนักผจญโชคชาวเยอรมันคือ [[วิลเฮล์ม ฟอน กรัมบาช]] และกองทัพพันธมิตรของเขา ในการวางแผนบุกเดนมาร์กเพื่อชิงบัลลังก์จากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 เปเดอ โอเซได้แนะนำให้พระนางทรงเป็นผู้นำกองทัพในการรุกรานคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งพระนางจะทรงได้รับการต้อนรับจากเหล่าขุนนางเดนมาร์ก ที่เป็นปรปักษ์กับกษัตริย์องค์ปัจจุบัน ตั้งแต่ปีค.ศ. 1565 ถึง ค.ศ. 1567 เจ้าหญิงคริสตินาทรงเจรจากับ[[พระเจ้าอีริคที่ 14 แห่งสวีเดน]] เพื่อสร้างพันธมิตรร่วมกันระหว่างสวีเดนและเดนมาร์ก โดยทรงเสนอให้กษัตริย์อีริคอภิเษกสมรสกับเรเนตาแห่งลอแรน พระราชธิดา<ref name="Julia Cartwright 1590"/> แผนการยึดครองเดนมาร์กของเจ้าหญิงคริสตินาได้รับการสนับสนุนจากสวีเดน กษัตริย์อีริคทรงเห็นชอบด้วยถ้าหากเจ้าหญิงคริสตินาทรงสามารถโน้มน้าวให้จักรพรรดิและเนเธอร์แลนด์สนับสนุนพระนางด้วย<ref name="Julia Cartwright 1590"/> ในปีค.ศ. 1566 เจ้าหญิงคริสตินาทรงสร้างเหรียญเครื่องเกียรติยศให้แก่พระนางเอกในฐานะสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก องค์ที่สองนับตั้งแต่[[สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก]] โดยทรงตั้งคติพจน์ประจำรัชกาลว่า "''Me sine cuncta ruunt''" (Without me all things perish แปลว่า "ถ้าปราศจากข้าพเจ้า ทุกสิ่งบนโลกจะพินาศ")<ref name="Julia Cartwright 1590"/> แต่[[จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ทรงคัดค้านแผนการนี้อย่างถึงที่สุด เนื่องจากแผนการนี้จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อเสถียรภาพทางอำนาจในดินแดนเยอรมนี ซึ่งรัฐแซ็กโซนี ที่เจ้าหญิงโดโรเธีย พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิงคริสตินาทรงเคยเป็นดัชเชสพระมเหสี ได้เป็นผู้สนับสนุนเจ้าหญิงคริสตินาอย่างแข็งขัน ดังนั้นจักรพรรดิจึงต่อต้านสิทธิของเจ้าหญิงคริสตินา และพระนางเองไม่สามารถขอกำลังสนับสนุนจากพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนได้ แผนการอภิเษกเรเนตาแห่งลอแรนให้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดนต้องล้มเหลวเมื่อ กษัตริย์อีริคที่ 14 ทรงละเมิดสัญญาและหันไปอภิเษกสมรสในปีค.ศ. 1567 กับ[[สมเด็จพระราชินีคาริน แมนสด็อทเทอร์แห่งสวีเดน|คาริน แมนสด็อทเทอร์]] ซึ่งไม่ใช่ผู้มาจากตระกูลขุนนาง<ref name="Julia Cartwright 1590"/> ในปีค.ศ. 1569 เจ้าหญิงคริสตินายังทรงพยายามที่จะยึดราชบัลลังก์เดนมาร์กอยู่ แต่ทรงได้รับคำตอบจาก[[อองตวน เปรเรโนต์ เดอ เกรนเวลล์|พระคาร์ดินัลด์เกรนเวลล์]] ว่าเนเธอร์แลนด์จะไม่เป็นศัตรูกับเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสิ่งที่จักรพรรดิต่อต้าน เมื่อสงครามทางตอนเหนือเจ็ดปีสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1570 เจ้าหญิงคริสตินาจำต้องไม่ทรงดำเนินแผนการนี้ต่อไปอีก