ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองยอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เมืองยอง''' เป็นเมือง หรือจังหวัดหนึ่งใน [[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]] เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทั้งเกี่ยวข้องกับ [[พม่า]] [[ล้านนา]] [[สยาม]] [[ลาว]] และ เขต[[สิบสองปันนา]] ของ[[จีน]] ผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง จะถูกเรียกว่า [[ชาวไทยอง]]
 
คนเมืองยองสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมือง[[เชียงรุ่ง]]และเมืองอื่น ๆ ในสิบสองพันนา ซึ่งเป็นคนลื้อหรือ[[ไทลื้อ]] และเมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูนในปี พ.ศ. 2348 คนทั่วไปจึงเรียกว่า คนเมืองยอง เพราะในสมัยนั้นรัฐประชาชาติหรือรัฐชาติ (Nation State) แบบตะวันตกยังไม่เกิดขึ้น ในสมัยนั้นผู้คนต่างบ้านหลายเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จึงเรียนขานกันตามชื่อบ้านเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมือง[[เชียงตุง]] เป็นต้น ฉะนั้นคนไทยอง จึงไม่ใช่คนไทยที่เป็นชาติพันธุ์ยอง แต่เป็นคนไทลื้อ ที่อาศัยอยู่เมืองยอง
 
== ภูมิลักษณะ ==
บรรทัด 32:
เมืองยองในยุคต้นของตำนาน จึงมีความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมกับเมืองเชียงรุ่งอย่างใกล้ชิด
 
ในกรณีของคนเมืองยองต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า "ฅนยอง" ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นชาติพันธุ์ เมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว คนยองก็คือคนเผ่าไทลื้อนั่นเอง ในปัจจุบันชาวเมืองยองใน[[รัฐฉาน]] และในจังหวัด[[น่าน]] ยังเรียกตัวเองว่า เป็น[[คนลื้อ]][[เมืองยอง ]]
 
===ยุคอาณาจักรล้านนา===
บรรทัด 54:
ในปี [[พ.ศ. 2345]] ทำให้[[พระเจ้ากาวิละ]]เป็นที่ยอมรับของหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนาและหัวเมืองทางตอนบน อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้จากในคราวที่พระเจ้ากาวิละยกกองทัพไปตีเชียงแสน
 
ในปี พ.ศ. 2345-2347 ก็ได้รับการสนับสนุนกำลังทหารจากกรุงเทพฯ เวียงจันทน์ เมืองลำปาง เมืองน่าน และครั้งที่ยกไปตีและกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองครั้งใหญ่ ในปี [[พ.ศ. 2348]] นั้นก็ได้รับการสนับสนุนกองทัพจากเมือง[[ลำปาง]] เมือง[[แพร่]] เมือง[[น่าน]] และเชียงตุง ที่มีกำลังคนนับ 19,999 คน นับเป็นการยกทัพครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยพระเจ้ากาวิละ หลังจากทัพพม่าที่เชียงแสนถูกทัพจากเชียงใหม่ตีแตกในปี [[พ.ศ. 2347]] แล้ว ทัพเชียงใหม่ได้ยกขึ้นไปตีเมืองยองก่อนเมืองอื่น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะของเมืองยองในปี [[พ.ศ. 2348]] ว่าเป็นศูนย์อำนาจย่อยของหัวเมืองบริเวณใกล้เคียง ดังเช่นในสมัย[[พระเจ้าสุทโธธรรมราชา]](พ.ศ. 2148-2191) พม่าได้มอบหมายให้เจ้าฟ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ถึง 12 หัวเมืองแถบสิบสองปันนาตอนล่างไปจนสุดน้ำโขงที่ที่เมือง[[เชียงลาบ]]มาก่อน การที่ทัพเชียงใหม่ยกมาครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่เมืองยอง โดยเห็นได้จากภายหลังที่เมืองยองยอมสวามิภักดิ์แล้ว มีผลทำให้หัวเมืองอื่น ๆ ในบริเวณแถบนี้ยอมสวามิภักดิ์ต่อเชียงใหม่เช่นเดียวกัน ทำให้กองทัพเชียงใหม่สามารถขยายอิทธิพลเข้าไปถึงสิบสองพันนาและหัวเมืองอื่น ๆ ที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของพม่าได้สะดวก