ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัชรยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
การใช้งานได้ทันท่วงทีละคนก็คงไม่มีอะไรให้มันเป็นเรื่องที่ไม่เคยได้รับการสนับสนุน
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่า[[หีนยาน]]และ[[มหายาน]]
 
 
== ความเป็นมาของวัชรยาน ==
 
พุทธศาสนิกชนฝ่ายวัชรยานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน ซึ่งมีความหมายว่า ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ ๆ ไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ได้แก่
บรรทัด 23:
คำสอนวัชรยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งได้ เป็นที่รู้กันว่าในทิเบต ท่านมิลาเรปะได้บรรลุธรรมในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ การปฏิบัติวัชรยานสามารถ ทำให้เราบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้ เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่[[ภาษาทิเบต]] เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็น[[ภาษาสันสกฤต]]ได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว
 
พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์ซงซัน กัมโปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ทิเบตว่ามีการสังคายนาพระพุทธศาสนา ณ นครลาซา โดยผ่านการโต้วาทีธรรมระหว่างนิกายเซนของจีนและวัชรยานจากอินเดีย ผลปรากฏว่า ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชรยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนาวัชรยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าตรีซง เตเซ็น ได้ทรงนิมนต์ท่านศานตรักษิต ภิกษุชาวอินเดียและพระคุรุปัทมสมภวะเข้ามาเพื่อเผยแผ่พระธรรม โดยเฉพาะพระคุรุปัทมสมภวะได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 ของชาวทิเบต ท่านได้ร่วมกับท่านศานตรักษิตสร้าง[[วัดสัมเย่]]ขึ้นในปี ค.ศ. 787 และเริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ตรีซง เตเซ็น ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมายแปลพ
 
== การเผยแผ่ของพุทธวัชรยาน (พุทธทิเบต) ==