ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซีเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "เฟลนส์บูร์ก" → "เฟล็นส์บวร์ค" +แทนที่ "เฟลนซบูร์ก" → "เฟล็นส์บวร์ค" +แทนที่ "ลุทซ์ กรัฟ ชเวริน ฟอน โครซิจค์" → "ลุทซ์ กราฟ ชเวรีน ฟ็อน โครซิค" +แทนที่ "ฮิมม์เลอร์" → "ฮิมเลอร์" +แทนที่ "แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง" → "แฮร์มัน เกอริง" +แทนที่ "ชเวริน ฟอน โครซิกค" → "ชเวรีน ฟ็อน โครซิค" +แทนที่ "บูร์ก" → "บวร์ค" +แทนที่ "พอตสดัม" → "พ็อทซ์ดัม" +แทนที่ "ไรน์ลันด์" → "ไรน์ลันท์" +แทนที่ "บรันเดนบวร์ค" → "บรันเดินบวร์ค" +แทนที่ "โพเมอราเนีย" → "พอเมอเรเนีย" +แทนที่ "มาร์ทิน" → "มา...
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "เนือร์นแบร์ก" → "เนือร์นแบร์ค" +แทนที่ "เคอนิกซเบิร์ก" → "เคอนิชส์แบร์ค" +แทนที่ "ฟรานซิสโก" → "ฟรันซิสโก" +แทนที่ "คุร์ท" → "ควร์ท" +แทนที่ "ควร์ท ฟอน ชไลเชอร์" → "ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์" +แทนที่ "โบอูแลร์" → "บูเลอร์" ด้วยสจห.
บรรทัด 110:
เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึด[[ออสเตรีย]]และ[[เชโกสโลวาเกีย]]ในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำ[[สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ|สนธิสัญญาไม่รุกราน]]กับ[[โจเซฟ สตาลิน]] และ[[การบุกครองโปแลนด์|บุกครองโปแลนด์]]ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉาก[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและ[[ฝ่ายอักษะ]]ที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคาม[[สหราชอาณาจักร]] ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกใน[[ค่ายกักกันนาซี|ค่ายกักกัน]]และค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากใน[[ฮอโลคอสต์]]
 
หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่ม[[การขจัดนาซี|นโยบายขจัดความเป็นนาซี]] (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามใน[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์ค]] ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ [[ฝรั่งเศส]] [[สหภาพโซเวียต]] [[สหรัฐอเมริกา]] และ[[สหราชอาณาจักร]]<ref>{{Citation
| last = Keegan
| first = John
บรรทัด 159:
ในสมัยนี้ ประเทศเยอรมนียังตกอยู่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้าย ประชาชนหลายล้านคนว่างงานและการขาดดุลการค้ายังน่ากลัว ฮิตเลอร์ทราบว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจสำคัญ ในปี 1934 มีการใช้โครงการโยธาสาธารณะขาดดุล ชาวเยอรมันรวม 1.7 ล้านคนถูกส่งไปทำงานในโครงการต่าง ๆ ในปี 1934 ปีเดียว{{sfn|McNab|2009|p=54}} ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงและต่อสัปดาห์เริ่มเพิ่มขึ้น{{sfn|McNab|2009|p=56}}
 
ข้อเรียกร้องเพิ่มอำนาจทางการเมืองและทหารของเอสเอก่อให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้นำทางทหาร อุตสาหกรรมและการเมือง ฮิตเลอร์สนองโดยกวาดล้างผู้นำเอสเอทั้งหมดใน[[คืนมีดยาว]] ซึ่งกินเวลาระหว่างวันที่ 30 มิถุนายนถึง 2 กรกฎาคม 1934 ฮิตเลอร์กำหนด[[แอร์นสท์ เริม]]และผู้นำเอสเออื่นเป็นเป้าหมาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ตลอดจนศัตรูการเมืองของฮิตเลอร์อีกจำนวนหนึ่ง (เช่น เกรกอร์ ชตรัสเซอร์และอดีตนายกรัฐมนตรี คุร์ท[[ควร์ท ฟอนฟ็อน ชไลเชอร์]]) ถูกล้อมจับและยิง{{sfn|Evans|2005|pp=31–34}}
 
วันที่ 2 สิงหาคม 1934 ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คถึงแก่อสัญกรรม แต่หนึ่งวันก่อน คณะรัฐมนตรีได้ตรา "กฎหมายว่าด้วยตำแหน่งรัฐสูงสุดแห่งไรช์" ซึ่งมีใจความว่า ครั้นฮินเดินบวร์คถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งประธานาธิบดีจะถูกยุบและรวมอำนาจเข้ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฉะนั้นฮิตเลอร์จึงกลายเป็นประมุขแห่งรัฐเช่นเดียวกับหัวหน้ารัฐบาล เขาได้รับแต่งตั้งเป็น "[[ฟือเรอร์|ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีไรช์]]" อย่างเป็นทางการ บัดนี้ ประเทศเยอรมนีเป็นรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยมีฮิตเลอร์เป็นประมุข ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์ กฎหมายใหม่เปลี่ยนคำสาบานความภักดีของทหารให้ยืนยันความภักดีต่อฮิตเลอร์ที่เป็นบุคคลมิใช่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารหรือรัฐ วันที่ 19 สิงหาคม ผู้มีสิทธิออกเสียงร้อยละ 90 ลงประชามติอนุมัติการรวมตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี
บรรทัด 165:
ชาวเยอรมันส่วนใหญ่โล่งใจว่าความขัดแย้งและการต่อสู้ตามถนนในสมัยไวมาร์ได้ยุติลง ทั้งได้รับการโฆษณาชวนเชื่อที่[[โยเซฟ เกิบเบลส์]]เป็นผู้สั่งการ ซึ่งสัญญาสันติภาพและความบริบูรณ์แก่ประชาชนทุกคนในประเทศเอกภาพปลอดมากซิสต์โดยไม่มีข้อผูกมัดแห่งสนธิสัญญาแวร์ซาย มีการเปิด[[ค่ายกักกันนาซี]]หลักแห่งแรกซึ่งเดิมใช้ขังนักโทษการเมืองที่[[ค่ายกักกันดาเคา|ดาเคา]]ในปี 1933{{sfn|Evans|2003|p=344}} มีการตั้งค่ายเหล่านี้หลายร้อยแห่งหลากขนาดและหลากหน้าที่เมื่อสงครามสิ้นสุด{{sfn|Evans|2008|loc=map, p.&nbsp;366}} เมื่อยึดอำนาจ นาซีใช้มาตรการกดขี่ต่อการคัดค้านทางการเมืองและเริ่มการกีดกันอย่างกว้างขวางต่อบุคคลที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาทางสังคม นาซีรวบอำนาจมหาศาลโดยใช้ข้ออ้างการต่อสู้ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์บังหน้า นอกเหนือจากนี้ การรณรงค์ต่อชาวยิวที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนียังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
 
เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 1933 มีการเริ่มมาตรการต่าง ๆ ซึ่งนิยามสถานภาพยิวและสิทธิของยิวในระดับภูมิภาคและชาติ{{sfn|Walk|1996|pp=1–128}} การริเริ่มและการมอบอำนาจกฎหมายต่อชาวยิวลงเอยด้วยการจัดตั้ง[[กฎหมายเนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์ค]]ปี 1935 ซึ่งริบสิทธิขั้นพื้นฐานของยิว{{sfn|Friedländer|2009|pp=44–53}} นาซีจะยึดความมั่งคั่ง การสมรสกับผู้มิใช่ยิว และสิทธิการเข้าทำงานในสาขาต่าง ๆ (เช่น ด้านกฎหมาย แพทยศาสตร์หรือเป็นครูอาจารย์) จนสุดท้ายประกาศว่ายิวไม่พึงปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับพลเมืองและสังคมเยอรมัน ซึ่งยิ่งลดความเป็นมนุษย์ของยิว อาจแย้งได้ว่า การกระทำเหล่านี้ทำให้ชาวเยอรมันเฉยชาถึงขั้นว่าทำให้ลงเอยด้วยฮอโลคอสต์ ชาติพันธุ์เยอรมันผู้ปฏิเสธการผลักไสยิวหรือแสดงสัญญาณใด ๆ ของการต่อต้านโฆษณาชวนเชื่อของนาซีจะถูก[[เกสตาโป]]ตรวจตรา ถูกริบสิทธิ หรือถูกส่งไปค่ายกักกัน{{sfn|Fritzsche|2008|pp=76–142}}
 
=== นโยบายต่างประเทศแสนยนิยม ===
[[ไฟล์:Reichsparteitag 1935.jpg|thumb|left|180px|[[การชุมนุมที่เนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์ค]]ปี 1935]]
 
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1933 ฮิตเลอร์ประกาศว่าจะต้องสร้างเสริมอาวุธยุทธภัณฑ์ โดยทีแรกกระทำในทางลับ เนื่องจากการดังกล่าวเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย ปีต่อมาเขาบอกผู้นำทหารว่าปี 1942 เป็นวันที่เป้าหมายสำหรับการเข้าสู่สงครามในทางตะวันออก{{sfn|Evans|2005|pp=338–339}} เขาพาประเทศเยอรมนีออกจาก[[สันนิบาตชาติ]]ในปี 1933 โดยอ้างว่า ข้อกำหนดการลดกำลังรบขององค์การฯ ไม่ยุติธรรม เนื่องจากมีผลบังคับต่อเฉพาะประเทศเยอรมนี{{sfn|Evans|2005|p=618}} ซาร์ลันด์ซึ่งถูกกำหนดภายใต้การควบคุมดูแลของสันนิบาตชาติเป็นเวลา 15 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุด ออกเสียงลงคะแนนในเดือนมกราคม 1935 เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี{{sfn|Evans|2005|p=623}} ในเดือนมีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ประกาศว่าไรช์สเวร์จะเพิ่มกำลังเป็น 550,000 นายและเขาจะตั้งกองทัพอากาศ{{sfn|Kitchen|2006|p=271}} บริเตนเห็นชอบว่าชาวเยอรมนีควรได้รับอนุญาตให้สร้างกองทัพเรือโดยการลงนามความตกลงนาวีอังกฤษ-เยอรมันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1935{{sfn|Evans|2005|p=629}}
 
เมื่อการบุกครองเอธิโอเปียของอิตาลีนำสู่การประท้วงเพียงเล็กน้อยจากรัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศส วันที่ 7 มีนาคม 1936 ฮิตเลอร์ใช้สนธิสัญญาความช่วยเหลือกันฝรั่งเศส-โซเวียตเป็นข้ออ้างในการสั่งกองทัพบกให้เคลื่อนกำลัง 3,000 นายเข้าสู่เขตปลอดทหารใน[[ไรน์ลันท์]]เป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย{{sfn|Evans|2005|pp=633}} เนื่องจากดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี รัฐบาลบริเตนและฝรั่งเศสจึงไม่รู้สึกว่าการพยายามบังคับใช้สนธิสัญญาฯ จะคุ้มความเสี่ยงสงคราม{{sfn|Evans|2005|pp=632–637}} ในการเลือกตั้งพรรคเดียวซึ่งจัดในวันที่ 29 มีนาคม พรรคนาซีได้รับการสนับสนุนร้อยละ 98.9{{sfn|Evans|2005|pp=632–637}} ในปี 1936 ฮิตเลอร์ลงนาม[[กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น]]กับประเทศญี่ปุ่น และความตกลงไม่รุกรานกับนายกรัฐมนตรี[[เบนิโต มุสโสลินี]] แห่งฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งไม่นานเรียกว่า "อักษะโรม-เบอร์ลิน"{{sfn|Evans|2005|p=641}}
 
ฮิตเลอร์ส่งหน่วยอากาศและยานเกราะสนับสนุนพลเอก [[ฟรานซิสโกฟรันซิสโก ฟรังโก]] และกำลังชาตินิยมใน[[สงครามกลางเมืองสเปน]]ซึ่งปะทุในเดือนกรกฎาคม 1936 สหภาพโซเวียตส่งกำลังที่เล็กกว่าเข้าช่วยรัฐบาลสาธารณรัฐนิยม ฝ่ายชาตินิยมของฟรังโกชนะในปี 1939 และกลายเป็นพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการของนาซีเยอรมนี{{sfn|Steiner|2011|pp=181–251}}
 
=== ออสเตรียและเชโกสโลวาเกีย ===
ในเดือนกุมภาพันธ์ 1938 ฮิตเลอร์เน้นย้ำความจำเป็นของเยอรมนีในการรักษาความปลอดภัยเขตแดนแก่นายกรัฐมนตรีออสเตรีย คุร์ทควร์ท ชุชนิกก์ชุสชนิจ (Kurt Schuschnigg) ชุชนิกก์จัดการลงประชามติว่าด้วยเอกราชของออสเตรียในวันที่ 13 มีนาคม แต่ฮิตเลอร์เรียกร้องให้ยกเลิก วันที่ 11 มีนาคม ฮิตเลอร์ยื่นคำขาดแก่ชุชนิกก์เรียกร้องให้เขายื่นอำนาจทั้งหมดแก่พรรคนาซีออสเตรียหรือเผชิญการรุกราน แวร์มัคท์ยาตราเข้าออสเตรียวันรุ่งขึ้นและได้รับการต้อนรับอย่างกระตือรือร้นจากประชาชน{{sfn|Evans|2005|pp=646–652}}
 
สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียเป็นที่พำนักของชนกลุ่มน้อยเยอรมันจำนวนพอสมควรซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน[[ซูเดเทินลันด์]] ภายใต้แรงกดดันจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพรรคเยอรมันซูเดเทิน รัฐบาลเชโกสโลวาเกียเสนอสัมปทานเศรษฐกิจแก่ภูมิภาคดังกล่าว{{sfn|Evans|2005|p=667}} ฮิตเลอร์ตั้งสินใจผนวกทั้งประเทศเชโกสโลวาเกียมิใช่เพียงซูเดเทินลันด์เข้าสู่ไรช์{{sfn|Kershaw|2008|p=417}} นาซีดำเนินการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อเพื่อพยายามปลุกเร้าการสนับสนุนการบุกครอง{{sfn|Kershaw|2008|p=419}} ผู้นำสูงสุดของกองทัพไม่เห็นชอบกับแผนดังกล่าวเพราะเยอรมนียังไม่พร้อมทำสงคราม{{sfn|Evans|2005|pp=668–669}} วิกฤตการณ์ดังกล่าวนำให้บริเตน เชโกสโลวาเกียและฝรั่งเศส (พันธมิตรของเชโกสโลวาเกีย) ตระเตรียมสงคราม ในความพยายามเลี่ยงสงคราม นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร [[เนวิล เชมเบอร์ลิน]]จัดการประชุมหลายครั้งซึ่งผลลัพธ์คือ [[ความตกลงมิวนิก]] ซึ่งลงนามในวันที่ 29 กันยายน 1938 รัฐบาลเชโกสโลวาเกียถูกบีบให้ยอมรับการผนวกซูเดเทินลันด์เข้ากับประเทศเยอรมนี เชมเบอร์ลินได้รับการต้อนรับด้วยเสียงสันบสนุนเมื่อเขาลงจอดในกรุงลอนดอน เขาว่าเป็น "สันติภาพสำหรับยุคของเรา"{{sfn|Evans|2005|pp=671–674}} ความตกลงดังกล่าวกินเวลาหกเดือนก่อนฮิตเลอร์ยึดดินแดนเช็กเกียที่เหลือในเดือนมีนาคม 1939{{sfn|Evans|2005|p=683}} มีการตั้งรัฐหุ่นใน[[สโลวาเกีย]]{{sfn|Beevor|2012|p=24}}
บรรทัด 202:
เดอนิตช์พยายามที่จะติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขอยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข<ref>William Shirer. ''The Rise and Fall of the Third Reich''. Fawcett Crest. New York. 1983. ISBN 0-449-21977-1</ref> เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945 ได้มีการยอมจำนนอย่างเป็นทางการ<ref>Donnelly, Mark. ''Britain in the Second World War'', pg. xiv</ref> ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดการคงอยู่ของนาซีเยอรมนี<ref>''"...also based on the fact that after the debellatio of Germany, the Allied powers have been the local sovereigns in Germany.".'' United Nations War Crimes Commission. [http://books.google.co.uk/books?id=Z-xlVF_5Hu8C&pg=PA13&dq=debellatio+allies+germany&sig=ACfU3U0E77AgKBDsfN3L4u4_0OjN_qwZhw#v=onepage&q=debellatio&f=false Law reports of trials of war criminals]. William S. Hein & Co., Inc. p. 14</ref>
 
ในเดือนสิงหาคม ได้มีการจัด[[การประชุมพ็อทซ์ดัม]]ระหว่างผู้นำมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อกำหนดข้อตกลงและแนวทางสำหรับอนาคตของเยอรมนี รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของเยอรมนีอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับ[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์ค|การพิจารณาคดีอาชญากรสงคราม]]ผู้นำและนายทหารระดับสูงของนาซีที่[[เนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์ค]]<ref>Richard Overy. [http://www.bbc.co.uk/history/worldwars/wwtwo/nuremberg_article_01.shtml World Wars in-depth Nuremberg: Nazis On Trial]. ''[[BBC]]''. สืบค้นเมื่อ 07-02-2010.</ref> จำเลยทั้งหมดถูกพิจารณาคดีเกี่ยวกับข้อกล่าวหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งมีจำนวนหนึ่งที่ถูกตัดสินประหารชีวิตและบางส่วนถูกตัดสินจำคุก
 
การแบ่งแยกปกครองเยอรมนีเริ่มต้นขึ้นภายใต้การจัดตั้ง[[สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร]] และแบ่งเยอรมนีและกรุงเบอร์ลินออกเป็น 4 ส่วน ให้อยู่ในการควบคุมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต โดยส่วนที่ปกครองโดยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส รวมตัวกันเป็น[[เยอรมนีตะวันตก]] และส่วนที่สหภาพโซเวียตปกครองกลายมาเป็น[[เยอรมนีตะวันออก]] เยอรมนีทั้งสองเป็นสนามรบของ[[สงครามเย็น]]ในทวีปยุโรป ก่อนที่จะมีการรวมประเทศอีกครั้งในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
บรรทัด 229:
พรมแดนโดยพฤตินัยของนาซีเยอรมนีเปลี่ยนแปลงมานานก่อนการล่มสลายในเดือนพฤษภาคม 1945 เพราะกองทัพแดงคืบหน้ามาทางตะวันออก พร้อมกับที่ประชากรเยอรมันหลบหนีมายังแผ่นดินเยอรมนี และสัมพันธมิตรตะวันตกรุกคืบมาทางตะวันออกจากฝรั่งเศส เมื่อสงครามยุติ มีเพียงผืนดินเล็ก ๆ จากออสเตรียถึงโบฮีเมียและโมราเวีย และภูมิภาคที่ถูกโดดเดี่ยวอื่น ๆ เท่านั้นที่ยังไม่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาสถาปนาเขตยึดครอง ดินแดนเยอรมนีก่อนสงครามทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-นีซเซ (อันประกอบด้วย [[ปรัสเซียตะวันออก]] [[ไซลีเซีย]] [[ปรัสเซียตะวันตก]] ราวสองในสามของ[[พอเมอเรเนีย]] และบางส่วนของ[[บรันเดินบวร์ค]]) และสเทททิน และบริเวณโดยรอบ (เกือบ 25% ของดินแดนเยอรมนีก่อนสงครามเมื่อปี 1937) อยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์และโซเวียต โดยแบ่งให้โปแลนด์และโซเวียตผนวก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังได้ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของ[[แคว้นซาร์]] ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมถ่านหินที่สำคัญของเยอรมนีที่เหลืออีกด้วย ดินแดนส่วนใหญ่ที่เยอรมนีเสียไปนี้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ยกเว้น [[อัปเปอร์ไซลีเซีย]] ซึ่งเป็นศูนย์อุตสาหกรรมหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของเยอรมนี ฝ่ายสัมพันธมิตรขับไล่ผู้อยู่อาศัยชาวเยอรมัน ในปี 1947 สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเลิกปรัสเซียด้วยกฎหมาย ที่ 46 (20 พฤษภาคม 1947) ตามการประชุมพอทสดัม ดินแดนปรัสเซียทางตะวันออกของแนวโอเดอร์-นีซเซถูกแบ่งแยกและปกครองโดยโปแลนด์และ[[มณฑลคาลินินกราด]] ตามสนธิสัญญาสันิภาพขั้นสุดท้าย ภายหลัง โดยการลงนาม[[สนธิสัญญากรุงวอร์ซอ]] (ค.ศ. 1970) และ[[สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี]] (ค.ศ. 1990) เยอรมนีสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่เสียไประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
 
การเปลี่ยนแปลงดินแดนดังกล่าวส่งผลกระทบให้ชาวเยอรมันราว 14 ล้านคน<ref name="expelled">de Zayas, Alfred-Maurice: ''A Terrible Revenge: The Ethnic Cleansing of the Eastern European Germans 1944-1950'', New York: St. Martin's Press, 1994</ref> ถูกขับออกจากดินแดนซึ่งอยู่นอกพรมแดนประเทศเยอรมนีใหม่ มีผู้เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์นี้ประมาณ 1-2 ล้านคน<ref name="expelled"/> เช่นเดียวกับเมืองใหญ่น้อยทั้งหลาย เช่น [[สเทททิน]], [[เคอนิกซเบิร์กอนิชส์แบร์ค]], [[เบรสเลา]], [[เอลบิง]] และ[[ดันท์ซิช]] ที่ได้ขับชาวเยอรมันออกจากเมืองเช่นกัน
 
== การเมืองการปกครอง ==
บรรทัด 250:
** [[คณะรัฐมนตรีชเวรีน ฟ็อน โครซิค]]
* '''สำนักงานแห่งชาติ'''
** ทำเนียบฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรี ([[ฟีลิพฟิลิป โบอูแลร์บูเลอร์]])
** สำนักงานที่ทำการพรรค ([[มาร์ทีน บอร์มัน]])
** สำนักทำเนียบประธานาธิบดี ([[ออทโท ไมส์ซแนร์]])
บรรทัด 261:
** กระทรวงการคลัง ([[ลุทซ์ กราฟ ชเวรีน ฟ็อน โครซิค]])
** กระทรวงยุติธรรมไรช์ ([[ฟรันซ์ เกือร์ทแนร์]], [[ออทโท ไทรัค]])
** กระทรวงเศรษฐกิจไรช์ ([[อัลเฟรด ฮูเกนแบร์ก]], [[คุร์ทควร์ท ชมิทท์]], [[ฮยัลมาร์ ชัคท์]], แฮร์มันน์ เกอริง, [[วัลเทอร์ ฟังค์]])
** กระทรวงโภชนาการและการเกษตรไรช์ ([[รีชาร์ด วัลเทอร์ ดาร์เร]], [[แฮร์เบิร์ท บาคเคอ]])
** กระทรวงแรงงานไรช์ ([[ฟรันซ์ เชลด์เทอ]])
บรรทัด 402:
 
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 146-1970-083-42, Magdeburg, zerstörtes jüdisches Geschäft.jpg|thumb|230px|ร้านค้าที่ยิวเป็นเจ้าของกิจการถูกทำลายย่อยยับในเหตุการณ์คริสทัลล์นัคท์]]
ช่วงปีหลังนาซีเถลิงอำนาจ ยิวหลายคนถูกกระตุ้นให้เดินทางออกนอกประเทศและทำเช่นนั้น ในปี 1935 มีการตรา[[กฎหมายเนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์ค]]ขึ้น มีใจความเพิกถอนสัญชาติเยอรมันของยิว และปฏิเสธการจ้างงานภาครัฐ ขณะนี้ชาวยิวส่วนมากที่ชาวเยอรมันว่าจ้างเสียตำแหน่งงาน ซึ่งถูกแทนที่โดยชาวเยอรมันที่ว่างงาน นอกจากนี้ การสมรสระหว่างยิวกับอารยันถูกห้าม ยิวสูญเสียสิทธิเพิ่มขึ้นในช่วงอีกไม่กี่ปีถัดมา ยิวถูกแยกออกไปจากหลายวิชาชีพ และมิให้จับจ่ายซื้อของในร้านค้าจำนวนมาก หลายเมืองติดป้ายห้ามมิให้ยิวเข้า ที่โดดเด่น คือ ความพยายามของรัฐบาลในการส่งชาวยิวเยอรมันที่มีเชื้อสายโปแลนด์ 17,000 คนกลับประเทศโปแลนด์ จนทำให้ในเดือนพฤศจิกายน 1938 แฮร์เชล กรึนซพัน ชายหนุ่มชาวยิวในกรุงปารีส ลอบสังหารแอร์นสท์ ฟอม รัท เอกอัครราชทูตเยอรมัน เพื่อเป็นการประท้วงการปฏิบัติต่อครอบครัวของเขาในเยอรมนี พรรคนาซีใช้ความพยายามดังกล่าวปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังชุมชนยิวในเยอรมนี เป็นบริบทของ[[โพกรม]]เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1938 ซึ่งเจาะจงธุรกิจยิวเป็นพิเศษ เอสเอได้รับมอบหมายให้โจมตี[[สุเหร่ายิว]]และทรัพย์สินของยิวทั่วประเทศเยอรมนี ระหว่าง[[คืนกระจกแตก|คริสทัลล์นัคท์]] ("คืนกระจกแตก" หรือความหมายตามตัวอักษรว่า คืนคริสตัล) เหตุที่ใช้การเกลื่อนคำดังกล่าวเพราะหน้าต่างที่แตกจำนวนมากทำให้ถนนมองดูเหมือนปกคลุมด้วยคริสตัล เหตุการณ์นี้ทำให้มีชาวยิวเยอรมันเสียชีวิตอย่างน้อย 91 คน และทรัพย์สินยิวถูกทำลายถ้วนหน้า การกีดกันระยะนี้ทำให้เป็นที่ชัดเจนมากว่ายิวในเยอรมนีจะเป็นเป้าหมายในอนาคต เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ชุมชนยิวถูกปรับหนึ่งล้านมาร์คและได้รับการบอกกล่าวว่า พวกเขาจะไม่ได้รับเงินตอบแทนจากความสูญเสีย จนถึงเดือนกันยายน 1939 ยิวกว่า 200,000 คนเดินทางออกนอกประเทศเยอรมนี โดยรัฐบาลยึดทรัพย์สินใด ๆ ที่พวกเขาทิ้งไว้เบื้องหลัง
 
นาซียังดำเนินโครงการที่พุ่งเป้าไม่ยังผู้ที่ "อ่อนแอ" หรือ "ไม่มีสมรรถภาพ" เช่น โครงการ[[อัคซีโยน เท4|การุณยฆาตเท4]] ซึ่งคร่าชีวิตผู้พิการและชางเยอรมันที่ป่วยหลายหมื่นคน ในความพยายามที่จะ "ธำรงความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติปกครองอารยัน" ({{lang-de|Herrenvolk}}) ดังที่นักโฆษณาของนาซีอธิบาย เทคนิคการสังหารจำนวนมากที่พัฒนาในความพยายามเหล่านี้ภายหลังถูกใช้ใน[[ฮอโลคอสต์]] ภายใต้กฎหมายที่ผ่านในปี 1933 ระบอบนาซีดำเนินการบังคับทำหมันปัจเจกบุคคล 400,00 คน ที่ถูกหมายว่ามีความบกพร่องทางพันธุกรรม ซึ่งมีตั้งแต่การป่วยทางจิตไปจนถึงติดแอลกอฮอล์
บรรทัด 452:
ระบอบนาซีมุ่งฟื้นฟูค่านิยมดั้งเดิมในวัฒนธรรมเยอรมัน ศิลปวัฒนธรรมที่นิยามสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ถูกปราบปราม ทัศนศิลป์ถูกเฝ้าสังเกตอย่างเข้มงวดและเป็นแบบประเพณี เน้นยกตัวอย่างแก่นเยอรมัน ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ แสนยนิยม คตินิยมวีรบุรุษ อำนาจ ความเข้มแข็งและความเชื่อฟัง ศิลปะนามธรรมสมัยใหม่และ[[อาวองการ์ด|ศิลปะอาวองการ์ด]]ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ และถูกจัดแสดงเป็นพิเศษว่าเป็น "ศิลปะเสื่อม" ที่ซึ่งผลงานเหล่านี้จะถูกเยาะหยัน ในตัวอย่างที่โดดเด่นครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1937 ฝูงชนขนาดใหญ่ยืนเข้าแถวเพื่อชมการจัดแสดงพิเศษ "ศิลปะเสื่อม" ในมิวนิก รูปแบบศิลปะที่ถูกมองว่าเสื่อม มี[[คติดาด]] [[บาศกนิยม]] [[ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์]] [[คติโฟวิสต์]] [[ลัทธิประทับใจ]] [[ปรวิสัยใหม่]] และ[[ลัทธิเหนือจริง]] วรรณกรรมที่เขียนโดยชาวยิว ชนที่มิใช่อารยันอื่น พวกรักร่วมเพศหรือผู้ประพันธ์ที่คัดค้านนาซีจะถูกรัฐบาลทำลาย การทำลายวรรณกรรมที่ฉาวโฉ่ที่สุด คือ การเผาหนังสือโดยนักเรียนเยอรมันในปี 1933
 
แม้ความพยายามอย่างเป็นทางการในการสร้างวัฒนธรรมเยอรมันบริสุทธิ์ พื้นที่หลักหนึ่งของศิลปะและสถาปัตยกรรมภายใต้การชี้นำส่วนตัวของฮิตเลอร์เป็น[[ลัทธิคลาสสิกใหม่]] ซึ่งเป็นรูปแบที่อิงสถาปัตยกรรมโรมโบราณ รูปแบบนี้ขัดและค้านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ใหม่กว่า เป็นเสรีนิยมกว่า และได้รับความนิยมกว่าในสมัยนั้นอย่าง[[อลังการศิลป์]] อาคารโรมันจำนวนมากได้รับการพิจารณาโดยสถาปนิกของรัฐ อัลแบร์ท ชแปร์ สำหรับแบบสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐ ชแปร์ก่อสร้างอาคารขนาดมหึมาและโอ่อ่า เช่น ในลานชุมนุมพรรคนาซีในเนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์คและอาคาร[[ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์]]หลังใหม่ในกรุงเบอร์ลิน แบบหนึ่งที่ไม่ได้สร้างจริงเป็น[[พาร์เธนอน]]ในกรุงโรม เรียกว่า "โฟล์คชัลเลอ" เป็นศูนย์กลางกึ่งศาสนาของระบอบนาซีในกรุงเบอร์ลินที่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เยอรมาเนีย" ซึ่งจะเป็น "เมืองหลวงของโลก" (เวลเทาพท์สทัดท์) นอกจากนี้ ที่จะก่อสร้าง คือ ประตูชัยที่ใหญ่กว่าในกรุงปารีสหลายเท่า ซึ่งอาศัยแบบคลาสสิกเช่นกัน การออกแบบจำนวนมากสำหรับเยอรมาเนียไม่สามารถก่อสร้างได้จริง เพราะขนาดและดินเลนใต้กรุงเบอร์ลิน ภายหลัง วัสดุที่จะใช้ก่อสร้างถูกเปลี่ยนไปใช้ในความพยายามของสงครามแทน
 
=== ภาพยนตร์และสื่อ ===
ภาพยนตร์เยอรมันแห่งยุคส่วนมากตั้งใจให้เป็นผลงานการบันเทิงเป็นหลัก การนำเข้าภาพยนตร์ถูกกฎหมายห้ามหลังปี 1936 และอุตสาหกรรมเยอรมัน ซึ่งถูกโอนเป็นของรัฐในปี 1937 จำต้องชดเชยสำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศที่ขาดไป การบันเทิงยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อโรงภาพยนตร์เป็นสิ่งหย่อนใจจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรและความพ่ายแพ้ติด ๆ กันของเยอรมนี ในปี 1943 และ 1944 การยอมรับโรงภาพยนตร์ในเยอรมนีเกินหนึ่งพันล้าน<ref name="spio"/> และภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดยามสงคราม คือ ''ดีกรอเซอลีเบอ'' (1942) และ''วุนชคอนแซร์ท'' (1941) ซึ่งทั้งสองเรื่องประกอบด้วยส่วนที่เป็นดนตรี นิยายวีรคติยามสงครามและโฆษณาชวนเชื่อรักชาติ ''เฟราเอนซินด์ดอคเบสเซเรอดีโพลมาเทน'' (1941) ดนตรีตลกซึ่งเป็นหนึ่งในภาพยนตร์สีเรื่องแรก ๆ ของเยอรมนี และวีนแนร์บลุท (1942) การดัดแปลง[[จุลอุปรากร]]ตลกของโยฮันน์ สเทราสส์ ความสำคัญของโรงภาพยนตร์ในฐานะเครื่องมือของรัฐ ทั้งคุณค่าการโฆษณาชวนเชื่อ และความสามารถในการทำให้ประชาชนได้รับความบันเทิงอย่างต่อเนื่อง พบเห็นได้ในประวัติการถ่ายทำภาพยนตร์ ''[[โคลแบร์ก (ภาพยนตร์)|โคลแบร์ก]]'' (1945) ของไฟท์ ฮาร์ลัน ภาพยนตร์ที่แพงที่สุดแห่งยุค สำหรับการถ่ายทำ ซึ่งทหารหลายหมื่นนายถูกเปลี่ยนจากตำแหน่งทางทหารมาแสดงเป็นตัวประกอบ<ref name="industry1"/>
 
แม้การอพยพออกนอกประเทศของผู้ผลิตภาพยนตร์จำนวนมากและการจำกัดทางการเมือง แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเยอรมนีก็มิได้ขาดนวัตกรรมทางเทคนิคและสุนทรีย์ การริเริ่มการผลิตภาพยนตร์อักฟาโคลอร์เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นอันหนึ่ง ความสำเร็จทางเทคนิคและสุนทรีย์ยังอาจมาถึงคราวสิ้นสุดในไรช์ที่สามได้เหมือนกัน ที่เห็นได้ชัดในผลางานของเลนี รีเฟนสทาล ''ไทรอัมฟ์ออฟเดอะวิล'' (1935) ของรีเฟนสทาล ซึ่งบันทึกเหตุการณ์[[การชุมนุมที่เนือร์นแบร์กเนือร์นแบร์ค]] (1934) และ''โอลิมเปีย'' (1938) ที่บันทึกเหตุการณ์[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1936]] บุกเบิกเทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องและการตัดต่อที่มีอิทธิพลต่อภาพยนตร์สมัยหลังจำนวนมาก ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไททรอัมฟ์ออฟเดอะวิล ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างสูง เพราะคุณค่าสุนทรีย์นั้นแยกขาดจากการโฆษณาชวนเชื่ออุดมคติชาติสังคมนิยมไม่ได้ ศิลปินที่ไม่สามารถแทนกันได้ที่ดูเหมาะกับอุดมคติชาติสังคมนิยม เช่น มารีคา รอคค์ และโยฮันเนส เฮสแทร์ส ถูกนำขึ้นรายการกอทท์เบกนาเดเทน ("ผู้มีพรสวรรค์จากพระเจ้า") โดยเกิบเบิลส์ระหว่างสงคราม<ref name="Movienews"/>
 
=== ศาสนา ===