ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การโกงเลือกตั้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
YURi (คุย | ส่วนร่วม)
ดังที่ใช้กันทั่วไป
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''การโกงการเลือกตั้ง'''เป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งกระบวนการเลือกตั้ง ไม่ว่าโดยการเพิ่มสัดส่วนคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่ง ลดสัดส่วนคะแนนเสียงของผู้สมัครคู่แข่ง หรือทั้งสองอย่าง การกระทำใดเข้าข่ายการโกงการเลือกตั้งบ้างนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
 
การโกงการเลือกตั้งหลายชนิดถูกห้ามตามกฎหมายเลือกตั้ง แต่การโกงการเลือกตั้งบางอย่างเป็นการละเมิดกฎหมายทั่วไป เช่น กฎหมายห้ามการทำร้ายร่างกาย การก่อกวนหรือหมิ่นประมาท คำว่า "การโกงการเลือกตั้ง" ในทางเทคนิคแล้วครอบคลุมเฉพาะการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายเท่านั้น แต่บางทียังใช้อธิบายการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ยอมรับไม่ได้ในทางศีลธรรม อยู่นอกเหนือจิตวิญญาณของ[[การเลือกตั้ง]]หรือละเมิดหลักการ[[ประชาธิปไตย]] การเลือกตั้งปาหี่ (show election) หมายถึงการเลือกตั้งที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว บางทีจัดเป็นการโกงการเลือกตั้งด้วย แม้อาจเป็นไปตามกฎหมายและมีลักษณะเหมือน[[การลงประชามติ]]มากกว่า
 
ในการเลือกตั้งระดับชาติ การโกงการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จสามารถมีผลของ[[รัฐประหาร]]หรือการฉ้อราษฎร์บังหลวงของประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งที่มีผลต่างคะแนนเสียงไม่มาก การโกงเพียงเล็กน้อยอาจเพียงพอเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้ แต่ถึงแม้ไม่เปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง แต่การเปิดเผยการโกงดังกล่าวสามารถมีผลเสียหายได้เพราะจะลดความเชื่อมั่นในประชาธิปไตยของผู้ออกเสียงลงคะแนน
 
==การชักใยบรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้ง==
การโกงการเลือกตั้งสามารถเกิดได้ล่วงหน้าการเลือกตั้งหากมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การชักใยดังกล่าวอาจชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแตกต่างกันตามเขตอำนาจศาลต่าง ๆ การชักใยผลการเลือกตั้งโดยเจตนาถือว่าเป็นการละเมิดหลักการแห่งประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง
 
===การชักใยประชากรศาสตร์===
บรรทัด 22:
 
===การแบ่งแยกเสียงสนับสนุนของฝ่ายค้าน===
ศาสตราจารย์เบียทริซ มากาโลนีแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดอธิบายแบบจำลองว่าด้วยพฤติกรรมของระบอบอัตตาธิปไตย เธอเสนอว่าพรรครัฐบาลสามารถธำรงการควบคุมทางการเมืองภายใต้ระบบประชาธิปไตยโดยไม่ต้องชักใยคะแนนเสียงหรือบังคับขู่เข็ญบรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้งใด ๆ เลย ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้อง สามารถชี้นำระบบประชาธิปไตยให้เข้าสู่สมดุลซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่แตกกันให้กระทำเป็นผู้สมคบการปกครองพรรคเียวโดยไม่รู้ตัว การนี้ทำให้พรรครัฐบาลไม่ต้องโกงการเลือกตั้งที่ผิดกฎหมาย
 
ระบบการออกเสียงลงคะแนนแบบเรียงลำดับความชอบ (Preferential voting system) เช่น การออกเสียงแบบคะแนน (score voting) การออกเสียงแบบผู้สมัครรอบสองทันที (instant-runoff voting) และระบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (single transferable vote) มีการออกแบบมาเพื่อป้องกันการชักใยบรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างเป็นระบบและการผูกขาดทางการเมืองโดยพรรคการเมืองไม่กี่พรรค
บรรทัด 32:
 
==บัตรเลือกตั้งที่ทำให้หลงผิดหรือสับสน==
บัตรเลือกตั้งยังอาจถูกใช้เพื่อทำให้คะแนนเสียงไปถึงพรรคการเมืองพรรคหนึ่งหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งน้อยลง โดยใช้การออกแบบหรือลักษณะอย่างอื่นเพื่อทำให้ผู้ออกเสียงสับสนจนลงคะแนนให้ผู้สมัครอีกคนหนึ่ง การออกแบบบัตรเลือกตั้งที่เลวหรือทำให้หลงผิดปกติไม่ขัดต่อกฎหมายจึงไม่ใช่การโกงการเลือกตั้งในทางเทคนิค กระนั้นถือว่าเป็นการบ่อนทำลายหลักการแห่งประชาธิปไตย
 
อีกวิธีหนึ่งในการทำให้ประชาชนสับสนจนลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนอื่นที่ไม่ใช่คนที่ตั้งใจไว้คือการให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือตั้งพรรคการเมืองที่มีชือหรือสัญลักษณ์คล้ายกับผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม เป้าหมายคือเพื่อทำให้ผู้ออกเสียงลงคะแนนหลงผิดลงคะแนนให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองผิดจนมีอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้ง วิธีนี้มีประสิทธิภาพเป็นพิเศษเมื่อผู้ออกเสียงลงคะแนนสัดส่วนใหญ่มีการรู้หนังสือจำกัดในภาษาที่ใช้ในบัตรเลือกตั้ง วิธีนี้ก็ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่ทำลายหลักการแห่งประชาธิปไตยเช่นกัน
 
[[หมวดหมู่:การโกงการเลือกตั้ง| ]]