ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เห็ดเผาะ เชิญยิ้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วันเกิด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
→‎ประวัติ: วันเกิด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 46:
 
== ประวัติ ==
เห็ดเผาะ เชิญยิ้ม เกิดเมื่อปีวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2525 ที่[[เทศบาลตำบลโพธิ์พระยา|ตำบลโพธิ์พระยา]] [[อำเภอเมืองสุพรรณบุรี|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] ในครอบครัวลิเก เป็นลูกคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน เห็ดเผาะเริ่มต้นการเป็นนักแสดงตั้งแต่ยังเด็กอายุเพียง 5 ขวบ จากการที่เป็นเด็กชอบแสดงออก และชอบร้องเพลง โดยสามารถร้องเพลงเลียนเสียงของนักร้องหญิงชื่อดังได้หลายคน เช่น [[พุ่มพวง ดวงจันทร์]], [[คัทลียา มารศรี]], [[ศิริพร อยู่ยอด]]<ref>{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=p07D1QsV20g|title=ประชันเงาเสียง คัทลียา มารศรี สุดฮา จากรายการกิ๊กดู๋ |date=13 August 2013|accessdate=2 May 2014|publisher=กิ๊กดู๋สงครามเพลง}}</ref> จึงถูกให้แสดงเป็นแขกในช่วงออกแขกโหมโรงก่อนที่ลิเกจะแสดง จากความสามารถในการแสดงออกและร้องเพลงนี้ทำให้กิตติศัพท์นี้ได้รับรู้ถึงผู้เป็นลุงเขย คือ ผู้เป็นสามีของพี่สาวพ่อ โดยมารับเอาตัวไปเลี้ยงต่อที่[[กรุงเทพมหานคร]] โดยหมายให้เป็นตลกคาเฟ่ตั้งแต่เด็ก
 
เห็ดเผาะ มาอยู่กับลุงเขยที่ย่าน[[ฝั่งธนบุรี]]แถว[[แยกพาณิชยการธนบุรี|ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13]] ชนิดที่ผู้เป็นแม่ไม่ทราบมาก่อน ถึงกับร้องไห้และไปแจ้งความกับผู้ใหญ่บ้านเมื่อรู้ว่าลูกของตนหายไป ด้วยความเป็นเด็กและสามารถร้องเพลงได้ ทำให้เห็ดเผาะเป็นตัวดึงดูดแขกในคาเฟ่หลายแห่งที่ได้เล่นในย่านฝั่งธนฯ โดยใช้ชื่อว่า "เชอรี่ ดอกโสน" เห็ดเผาะสามารถทำเงินให้กับคณะได้เป็นอย่างมาก แต่ลุงเขยก็เก็บเอาไปหมด เหลือไว้ให้เจ้าตัวเพียงวันละไม่กี่บาท ขณะนั้นเห็ดเผาะต้องเล่นตลกตั้งแต่เวลา 21.00 จนถึง 05.30 น. ของวันใหม่ทุกวัน ด้วยความเป็นเด็กก็มีการโยเยหรือง่วงนอน รวมถึงไม่ได้เรียนหนังสือด้วยทั้งที่อายุเลยเกณฑ์ที่จะเข้าโรงเรียนแล้ว ผู้เป็นลุงเขยก็ได้ทุบตีด้วยความรุนแรงหลายต่อหลายครั้ง บางครั้งก็กระทำต่อหน้าแขกที่คาเฟ่บนเวที ต่อมาชื่อเสียงของตลกเด็กคณะนี้เริ่มเป็นที่รู้จัก ทำให้มีหลายคนตั้งข้อสังเกตถึงการทารุณกรรมเด็ก มีหลายคนเข้ามาถามไถ่หรือแสดงความเป็นห่วง หลายคนเป็นบุคคลในวงการบันเทิง เช่น [[กรุง ศรีวิไล]] และ[[ช.อ้น ณ บางช้าง]] โดยเฉพาะในรายของ ช.อ้น ถึงกับรับอุปการะเห็ดเผาะเสมือนลูกบุญธรรม ทำให้ลุงเขยไม่กล้าทุบตีเป็นเวลานานถึง 1 ปี