ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวฮั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 249:
== การวิเคราะห์ DNA ==
 
Haplogroup O3 (Y-DNA) คือ เครื่องหมายดีเอ็นเอที่มีร่วมกันในชาวฮั่น ดังที่มันปรากฏในจีนในช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ มันถูกพบในผู้ชายชาวจีนมากกว่า 50% และถึงมากกว่า 80% ในบางกลุ่มย่อยของชาติพันธุ์ จีน - ทิเบต [https://en.wikipedia.org/wiki/Haplogroup_O-M122] อย่างไรก็ตามไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ (mtDNA) ของชาวฮั่นมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นเมื่อมองจากจีนทางเหนือไปทางใต้ ซึ่งบ่งบอกว่าเพศชายบางส่วนได้อพยพจากจีนตอนเหนือ แต่งงานกับผู้หญิงพื้นเมืองทางใต้หลังจากมาถึงกวางตุ้ง, ฝูเจี้ยนและพื้นที่อื่นๆอื่น ๆ ของจีนตอนใต้ อย่างไรก็ดีการทดสอบเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมของชาวฮั่นเหนือ, ชาวฮั่นใต้และชาวพื้นเมืองทางใต้ระบุว่า Haplogroup O1b-M110, O2a1-M88 และ O3d-M7 ซึ่งแพร่หลายในคนพื้นเมืองทางใต้พบได้ในชาวฮั่นใต้บางส่วนเท่านั้น (เฉลี่ย 4%) แต่ไม่พบในชาวฮั่นเหนือ ดังนั้นนี่จึงพิสูจน์ได้ว่าการมีส่วนร่วมของผู้ชายพื้นเมืองทางใต้ไปสู่ชาวฮั่นใต้มีจำกัด ในทางกลับกันมีความเหมือนของพันธุกรรมที่สอดคล้องกันอย่างมากในการกระจายตัวของโครโมโซม Y Haplogroup ระหว่างประชากรจีนทางเหนือและทางใต้ และผลของการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis) ระบุว่าประชากรฮั่นเกือบทั้งหมดสร้างการจับกลุ่มกันในโครโมโซม Y ของพวกเขา อีกทั้งการประมาณการมีส่วนร่วมของชาวฮั่นเหนือไปสู่ชาวฮั่นใต้นั้นมีมากมายทั้งเชื้อสายทางบิดาและมารดา สำหรับ mtDNA นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามภูมิศาสตร์ ผลที่ได้คือชาวฮั่นเหนือเป็นผู้ให้หลักสู่ยีนพูลของชาวฮั่นใต้ อย่างไรก็ตามน่าสังเกตว่ากระบวนการแผ่ขยายเป็นการนำโดยเพศชายเป็นหลักดังที่แสดงให้เห็นจากการมีส่วนร่วมอย่างมากมายในโครโมโซม Y มากกว่าใน mtDNA จากชาวฮั่นเหนือไปสู่ชาวฮั่นใต้ การสังเกตลักษณะพันธุกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ของคลื่นอพยพขนาดใหญ่ของผู้ที่อยู่อาศัยทางเหนือของจีนเพื่อหลบหนีภัยสงครามและความอดอยากไปจีนตอนใต้ นอกจากคลื่นผู้อพยพเหล่านี้แล้ว การอพยพขนาดเล็กกว่าไปทางใต้ก็เกิดขึ้นอยู่เกือบตลอดเวลาสองพันปีที่ผ่านมา ยิ่งกว่านั้นการศึกษาของสถาบันวิทยาศาสตร์จีนในเรื่องข้อมูลทางพันธุกรรมในฮั่นกลุ่มย่อยและชนกลุ่มน้อยในจีนแสดงว่าประชากรฮั่นกลุ่มย่อยในพื้นที่ต่างๆมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับคนพื้นเมืองนั้นๆนั้น ๆ และนั่นหมายความว่าในหลายกรณีเลือดของชนกลุ่มน้อยได้ผสมกับชาวฮั่น ในขณะเดียวกันเลือดของชาวฮั่นก็ผสมกับชนกลุ่มน้อยนั้น ล่าสุดเมื่อเร็วๆเร็ว ๆ นี้การศึกษา Genome-Wide Association มากมายเกี่ยวกับประชากรฮั่นแสดงให้เห็นว่าการกระจายของพันธุกรรมเชิงภูมิศาสตร์จากเหนือสู่ใต้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยมาก ในท้ายที่สุดด้วยข้อยกเว้นในบางสาขาของภาษาพูดของชาวฮั่น เช่น ผิงหัว ประชากรฮั่นทั้งมวลล้วนมีโครงสร้างพันธุกรรมที่สอดคล้องกัน
 
== ความหลากหลายของฮั่น ==