ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์พระร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fahsaimekloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Fahsaimekloi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
แบบแผนในราชสำนักราชวงศ์พระร่วงไม่เหลือหลักฐานที่เป็นบันทึกตกทอดมาให้ทราบถึงในปัจจุบันแต่มีเค้ารอยบางอย่างปรากฏอยู่ในวรรณกรรมที่เรียกว่าไตรภูมิพระร่วงบ้าง ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์บ้าง สุภาษิตพระร่วงบ้าง ศิลาจารึกบางหลักบ้าง กฏมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รวมทั้งเค้ารอยจารีตในแบบแผนตำราพิธีพระราชพิธีครั้งกรุงเก่า กรุงรัตนโกสินทร์ กับ แบบการปฏิบัติบางอย่างของคนที่ยังตกทอดกันมา บุคคลในราชสำนักราชวงศ์พระร่วงศิลาจารึกสมัยสุโขทัยเรียกกลุ่มคนดังกล่าวว่า "ลูกเจ้าลูกขุน" บ้าง "ชาวแม่ชาวเจ้า" บ้าง เทียบได้กับฝ่ายหน้าและฝ่ายในของราชสำนัก โดยมี "พ่อขุน/พญา/พระญา/พระบาทกมรเดง/พ่ออยู่หัว" ทรงเป็นพระประมุขสูงสุด และเข้าใจว่าคงจะมีตำแหน่งลำดับชั้นต่างๆอยู่ในราชสำนักของสุโขทัยดังปรากฏตำแหน่งพระราชชนนีว่าศรีธรรมราชมาตา ตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีว่าศรีจุฬาลักษณ์ เป็นต้น
 
ราชวงศ์พระร่วงยุคเอกราชในพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับราชวงศ์ของอาณาจักรต่างๆรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นราชวงศ์มังรายของอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์ภูกามยาวของรัฐพะเยา ราชวงศ์ลาวกาวของรัฐน่าน ราชวงศ์ชวาเชียงทองของรัฐชวาล้านช้างร่มขาว ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชของอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นต้น ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านการทูต การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม และ ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างอาณาจักร เน้นผูกสัมพันธ์กับเครือรัฐไทด้วยกันในแคว้นต่างๆ
 
ต่อมาภายหลังเมื่อราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงอันเป็นผลจากการเติบโตและคุกคามของราชอาณาจักรศรีอยุธยาที่อยู่ทางตอนใต้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ราชวงศ์พระร่วงก็ได้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติผ่านการแต่งงานระหว่างราชวงศ์ทั้งกับราชวงศ์อู่ทอง (ละโว้) ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในระยะแรก และ ระยะต่อมาได้สัมพันธ์กับราชวงศ์สุพรรณภูมิอย่างชนิดแน่นแฟ้นใกล้ชิดหลายรัชกาลติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งยังผลให้ราชอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับอยุธยาในนาม "ราชอาณาจักรสยามหรือสยามประเทศ" (Kingdom of Siam) โดยเบื้องต้นราชวงศ์พระร่วงยังคงมีอำนาจอยู่พอสมควรปกครองกรุงสยามฝ่ายเหนือซึ่งอยุธยาเรียกว่าราชธานีฝ่ายเหนืออยู่ ณ เมืองพิษณุโลก องค์รัชทายาทแห่งกรุงศรีอยุธยาครั้งราชวงศ์สุพรรณภูมิก่อนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยาหลายพระองค์ล้วนเคยครองอยู่เมืองเหนือกับมีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงแทบทั้งสิ้น ซึ่งราชสำนักเมืองเหนือที่พิษณุโลกถูกยุบลดความสำคัญลงไปเมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (เจ้าฟ้าสองแคว) และ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จลงไปสถาปนาราชวงศ์สุโขทัยปกครองกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางแต่เพียงแห่งเดียวในต้นพุทธศตวรรษที่ 22