ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์พระร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เกษแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เกษแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 42:
ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อเริ่มสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นแล้ว รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้ราชบัณฑิตฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลรวบรวมเรื่องราวเก่าแก่ต่างๆแล้วประมวลไว้เรียกว่า "พระราชพงศาวดารเหนือ" อันเป็นเรื่องราวของกลุ่มเมืองเหนือที่หมายถึงราชอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื้อเรื่องที่รวบรวมได้ขณะนั้นเกี่ยวกับราชวงศ์พระร่วงเกินกว่าครึ่งเป็นแบบมุขปาฐะยกเว้นบางเนื้อเรื่องที่พอจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง แต่ทำให้มองเห็นได้ว่าคนครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์รับทราบเป็นอย่างดีว่าก่อนหน้ากรุงศรีอยุธยาขึ้นไปมีกลุ่มคนที่เรียกว่าพระร่วงปกครองอยู่ที่กรุงสุโขทัยมาก่อน สมัยรัชกาลที่ 3 จึงหยิบยืมมาเป็นฉากสำคัญที่เท้าหลังกลับไปไกลในวรรณกรรมตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือเรื่องนางนพมาศเป็นต้น ซึ่งตำรับนี้เป็นความรับรู้ตกทอดมาจากกรุงศรีอยุธยาอีกชั้นก่อนจะเพิ่มเรื่องราวร่วมสมัยรัชกาลที่ 3 ลงไปด้วย
 
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2376 เมื่อเจ้าฟ้าพระวชิรญาณหรือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครั้งยังทรงผนวช เสด็จธุดงค์ขึ้นไปยังเมืองเหนือถึงยังอดีตราชธานีเดิมที่สวรรคโลกเก่าและสุโขทัยเก่าซึ่งตัวเมืองหลวงมีสภาพกลายเป็นป่าปกคลุมกับมีหมู่บ้านชุมนุมชนอาศัยอยู่ด้วยไม่มากนัก เสด็จไปพบหลักฐานสำคัญที่ยังคงเป็นที่เคารพในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชนในพื้นที่ คือ พระแท่นขดานหินที่เรียกว่ามนังศิลาบาตรและหลักศิลาจารึกตัวอักษรโบราณอยู่ใจกลางบริเวณดงตาล ซึ่งโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงไปไว้ยังพระนคร ณ วัดราชาธิวาส ศูนย์กลางสำนักธรรมยุตินิกายที่พระองค์ประทับอยู่ เนื่องจากเจ้าฟ้าพระวชิรญาณทรงได้รับวิธีคิดและการศึกษาเลียนอย่างชาวตะวันตกที่มักนิยมค้นคว้าในเรื่องต่างๆ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ศึกษาถ่ายทอดเรื่องราวจากตัวอักษรโบราณที่ทรงนำมาจากสุโขทัยออกมา จึงเริ่มทำให้ทราบว่ากลุ่มราชวงศ์พระร่วงที่เคยครองอยู่ที่สุโขทัยมีพระนามอย่างใดบ้าง จารึกหลักแรกนี้หรือต่อมาเรียกว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฏพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นางเสือง พ่อขุนบาลเมือง และที่สำคัญคือพ่อขุนรามคำแหง ผู้โปรดฯให้กระทำหลักศิลาจารึกดังกล่าวขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของสุโขทัยอย่างมากมาย ได้มีการค้นพบศิลาจารึกต่างๆอีกหลายหลักซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้การปรากฏรับทราบเกี่ยวกับราชวงศ์พระร่วงแบบในทางวิชาการค่อยๆแจ่มชัดขึ้นมาเป็นลำดับ และเมื่อมีการผนวกนับรวมสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดรัฐไทยที่ชัดเจนเป็นแห่งแรก ราชวงศ์พระร่วงจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นราชวงศ์ไทยราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ของชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปรากฏการสืบสายราชสันตติวงศ์อย่างเป็นลำดับชั้นต่อเนื่องในห้วงระยะเวลาถึง 200 ปี จาก พ.ศ.1781 ไปจนถึง พ.ศ.1981
 
== รายนามและพระนามผู้ที่อยู่ในราชวงศ์พระร่วง-สุโขทัย ==