ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 72:
ในรายงานการค้นพบเซดนา ไมก์ บราวน์ และเพื่อนร่วมงานของเขา บรรยายไว้ว่าเซดนาเป็นวัตถุแรกที่อยู่ในบริเวณ[[เมฆออร์ต]] ซึ่งเป็นเมฆสมมติของ[[ดาวหาง]]ที่เชื่อกันว่ามีอยู่ไปไกลถึงเกือบหนึ่งปีแสงจากดวงอาทิตย์ พวกเขาสังเกตว่าจุดใกล้ที่สุดของเซดนา (76 AU) นั้นไกลเกินกว่าที่จะถูกกระจายโดยอิทธิพลความโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน แตกต่างจากวัตถุ[[แถบหินกระจาย]] เช่น [[อีริส]]<ref name="Mike"/> เนื่องจากเซดนาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เกินกว่าที่คาดไว้สำหรับวัตถุเมฆออร์ต ประกอบกับมี[[ความเอียงของวงโคจร|วงโคจรที่เอียง]]ในระนาบใกล้เคียงกับวัตถุอื่นในแถบไคเปอร์และดาวเคราะห์ พวกเขาจึงบรรยายวัตถุค้นพบใหม่ชิ้นนี้เป็น "วัตถุเมฆออร์ตชั้นใน" ซึ่งเริ่มตั้งแต่บริเวณแถบหินกระจายในแถบไคเปอร์ไปจนถึงบริเวณที่เป็นทรงกลมของเมฆออร์ต<ref name="Swiss" /><ref name="LykDyn"/>
 
ถ้าเซดนากำเนิดขึ้นในตำแหน่งปัจจุบัน [[จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด]]ดั้งเดิมของดวงอาทิตย์ต้องแผ่ออกไปไกลถึง 75 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) ในอวกาศ<ref name="SternAJ2005"/> วงโคจรดั้งเดิมของเซดนาก็ต้องเกือบเป็นวงกลมเช่นกัน มิเช่นนั้น การกำเนิดโดยการชนกันจากวัตถุขนาดเล็กกว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า[[ความเร็วสัมพัทธ์]]ที่มากระหว่างชิ้นส่วนเล็ก ๆ จะถูกรบกวนเกินไป ดังนั้น เซดนาจะต้องถูกเหวี่ยงมายังวงโคจรปัจจุบันด้วยแรงโน้มถ่วงของวัตถุบางอย่าง<ref name="scattered"/> ในรายงานแรกของพวกเขานั้น บราวน์ ราบิโนวิตซ์ และเพื่อนร่วมงาน เสนอว่ามีสามตัวเลือกที่เป็นไปได้ที่จะเป็นวัตถุที่มารบกวนนี้ ได้แก่ ดาวเคราะห์ที่ยังไม่ค้นพบที่อยู่ถัดออกไปจากแถบไคเปอร์ ดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา หรือหนึ่งในดาวฤกษ์แรกเกิดที่ตรึกอยู่กับดวงอาทิตย์ในกระจุกดาวฤกษ์ครั้งที่ดวงอาทิตย์กำเนิดมา<ref name="Mike"/>
 
ไมก์ บราวน์ และทีมงานของเขาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเซดนาถูกเหวี่ยงมาให้อยู่ในวงโคจรปัจจุบันด้วยดาวฤกษ์จาก[[กระจุกดาวเปิด]]ของดวงอาทิตย์ ให้เหตุผลด้วยว่าจุดที่ไกลที่สุดของเซดนาที่ประมาณ 1,000 AU ซึ่งใกล้มากเมื่อเทียบกับจุดที่ไกลที่สุดของดาวหางคาบยาวทั้งหลาย ไม่ไกลเพียงพอที่จะได้รับผลกระทบจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา ณ ตำแหน่งปัจจุบันจากดวงอาทิตย์ พวกเขาเสนอว่าวงโคจรของเซดนาสามารถถูกอธิบายได้ดีที่สุดด้วยการที่ดวงอาทิตย์กำเนิดในกระจุกดาวเปิดของดาวฤกษ์จำนวนมากที่ค่อย ๆ แยกจากกันไปตามเวลา<ref name="Mike"/><ref name="Brown2004AAS205"/><ref name="PlanetarySociety"/> สมมติฐานนั้นยังถูกทำให้ก้าวหน้าต่อโดยทั้ง[[อาเลสซานโดร มอร์บีเดลลี]] และ [[สกอตต์ เจย์ เคนยอน]]<ref name="Morbidelli2004"/><ref name="Kenyon2004"/> แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดย[[ฮูลิโอ เอ. เฟร์นันเดซ]]และเอเดรียน บรูนีนี เสนอว่าการโคจรผ่านของดาวฤกษ์แรกเกิดหลายครั้งในกระจุกดาวเปิดแบบนั้นอาจทำให้วัตถุต่าง ๆ ถูกดึงจนมีวงโคจรแบบเซดนา<ref name="Mike"/> การศึกษาของมอร์บีเดลลีและ[[ฮาโรลด์ เอฟ. เลวิสัน|เลวิสัน]]เสนอว่าคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับวงโคจรของเซดนา คือ มันต้องเคยถูกรบกวนจากดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งในระยะใกล้ (ประมาณ 800 AU) ใน 100 ร้อยล้านปีแรกหรือมากกว่านั้นจากตอนที่ระบบสุริยะกำเนิดขึ้น<ref name="Morbidelli2004"/><ref name="challenge"/>