ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเสริม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19:
== ประวัติ ==
 
ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระราชธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์[[ล้านช้าง]]เวียงจันทน์ (ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นพระราชธิดาของสมเด็จ[[พระไชยเชษฐาธิราช]]มหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง-ล้านนา) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอด[[พระพุทธศาสนา]] แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า [[พระสุก]] '''พระเสริม''' และ[[พระใส]] พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำองค์กลาง ส่วนพระใสประจำองค์สุดท้อง
 
ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านเมืองและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะเป็นเวลา 7 วัน แล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือญาครู (หลวงตา) กับ[[สามเณร]]น้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ได้ปรากฏชีปะขาว (ตาผ้าขาว) ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ ญาครู (หลวงตา) กับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ฝ่ายญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระดูแล้วพระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดูก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า ส่วนชีปะขาวได้หายตัวไปไร่ร่องรอย
บรรทัด 29:
[[ไฟล์:Luangphosermwatpatumwanaram.jpg|250px|thumb|[[พระเสริม]] [[วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร]] [[กรุงเทพมหานคร]] อัญเชิญมาจากกรุง[[เวียงจันทน์]]]]
 
ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขงบริเวณปากงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้ง [[อ.โพนพิสัย]] [[จ.หนองคาย]] ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง [[พระสุก]]ได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริมและ[[พระใส]]มาถึง[[หนองคาย]] ชาวลาวและชาวอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่าพระสุกไม่ปรารถนาจะไปประดิฐานอยู่กรุงเทพมหานคร สำหรับพระเสริมนั้นสยามได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ [[วัดโพธิ์ชัย]] ส่วน[[พระใส]]ได้อัญเชิญไปไว้ยังวัดหอก่องหรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน
 
ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยัง[[กรุงเทพ]]มหานคร ขุนวรธานีจะอัญเชิญ[[พระใส]]ไปพร้อมกับพระเสริมด้วยแต่เกิดปาฏิหาริย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตามจนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญ[[พระใส]]มาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ซึ่งอัญเชิญไป[[กรุงเทพ]]มหานคร เมื่ออธิษฐานดังกล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญ[[พระใส]]มาได้ นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่า ชาวลาวเมืองหนองคายและเวียงจันทน์พากันชุมนุมขัดขวางไม่ยอมให้อัญเชิญพระใสไปกรุงเทพมหานคร
 
ส่วนพระเสริมที่อัญเชิญไป[[กรุงเทพ]]มหานคร เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจาก[[หนองคาย]]เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ใน[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อนรับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม จากหลักฐานในชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงระบุว่า[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมือง[[หนองคาย]]ไปประดิษฐานยัง[[พระบวรราชวัง]] ตั้งพระทัยว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานใน[[วัดบวรสถานสุทธาวาส]]