ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวเต็ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
 
ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ [[อักษรจีนตัวย่อ]] ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาล[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]]ของ [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ([[จีนแผ่นดินใหญ่]]) ใน [[พ.ศ. 2492]] อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วน[[อักษรจีนตัวย่อ]] ใช้กันใน [[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[สิงคโปร์]] และชุมชน[[ชาวจีนโพ้นทะเล]]บางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม [[ชาวไทยเชื้อสายจีน]]ส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอน[[ภาษาจีน]]ตามสถานศึกษาใน[[ประเทศไทย]]ส่วนมากจะใช้[[อักษรจีนตัวย่อ]] เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]
==วิวัฒนาการ==
{{multiple image
| align = right
| direction = horizontal
| header =
| header_align = left/right/center
| footer =
| footer_align = left
| image1 = Shang-Orakelknochen excerpt adjusted for contrast.jpg|thumb|upright|]]
| width1 = 150
| caption1 = หลักฐานอักษรจารึกบนกระดูกสัตว์ เจี๋ยกู่เหวิน ปัจจุบันเก็บรักษาที่[[ประเทศเยอรมนี]]
| image2 = Zhou-inscription.png
| width2 = 210
| caption2 = การวาดด้วยมือเปล่าของอักษรจารึกบนกระดูกสมัย[[ราชวงศ์โจว]]
}}
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของอักษรจีนพบหลักฐานปรากฏมาจากแหล่งโบราณคดีปั้นปอ [[เมืองซีอาน]]ของ[[มณฑลส่านซี]]ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน สามารถนับย้อนหลังกลับไปได้กว่า 5,000 ปี โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่สลักเป็นลักษณะรูปวงกลมเสี้ยวพระจันทร์และภูเขาห้ายอดบนเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งนับเป็นยุคต้นของศิลปะการเขียนอักษรจีน อักษรภาพที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ต่อมาเป็นที่เรียกกันว่า '''อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์''' หรือ '''[[เจี๋ยกู่เหวิน]]''' (甲骨文)เป็นอักษรการที่ใช้มีดแกะสลักหรือจารลงบนกระดองเต่า หรือกระดูกสัตว์ ปรากฏแพร่หลายใน[[ราชวงศ์ชาง]] เมื่อ 1,300–1,100 ปีก่อนคริสตกาล แกษรที่จารึกบนกระดูกสัตว์ได้พัฒนาไปเป็นอักษรหลอมหรือจารึกบนโลหะหรือ อักษรโลหะ หรือ [[จินเหวิน]](金文) เป็นอักษรที่ใช้ในสมัยซางต่อเนื่องถึงราชวงศ์โจว (1,100 – 771 ปีก่อนคริสตศักราช) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จงติ่งเหวิน’(钟鼎文)หมายถึงอักษรที่หลอมลงบนภาชนะทองเหลืองหรือสำริด เนื่องจากตัวแทนภาชนะสำริดในยุคนั้นได้แก่ ‘ติ่ง’ซึ่งเป็นภาชนะคล้ายกระถางมีสามขา
 
ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็น [[อักษรต้าจ้วน]](大篆) ซึ่งอักษรต้าจ้วนเป็นอักษรจีนที่ใช้ตั้งแต่ยุคปลาย[[ราชวงศ์โจวตะวันตก]](西周)เกือบเข้ายุคประมุของค์สุดท้ายของโจวตะวันตก จนถึง[[ยุคชุนชิว|ยุคชุนชิวจ้านกั๋ว]](春秋戰國)
 
อักษรจีนได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาถึงในสมัย[[ราชวงศ์ฉิน]] ในรัชสมัย[[จักรพรรดิจิ๋นซี]](秦始皇)เสนาบดี [[หลี่ซือ]](李斯) ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบอักษรโดยย่ออักษรจีนมาเป็นอักษรชุดใหม่ที่เรียกว่า '''[[เสี่ยวจ้วน]]''' (小篆) โดยย่ออักษรจีน ต้าจ้วน(大篆)อักษรจีนแบบเสี่ยวจ้วนที่เสนาบดีหลี่ซือประดิษฐ์ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี
 
หลังจากจักรพรรดิจิ๋นซีผนวก6รัฐเข้ากับรัฐฉิน ออกราชโองการให้ดินแดนที่เคยเป็นรัฐทั้ง6เปลี่ยนมาใช้อักษรแบบเดียวกันหมด ทุกรัฐต้องใช้อักษรเหมือนกัน โดยใช้เสี่ยวจ้วนที่เสนาบดีหลี่ซือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ก่อนหน้าที่มีอักษรเสี่ยวจ้วน คนจีนใช้อักษร ต้าจ้วน(大篆)เป็นหลัก
 
[[File:KaishuOuyangxun.jpg|right|thumb|อักษรแบบข่ายซู สมัย[[ราชวงศ์ซ่ง]]]]
 
ในสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี มีทาสคนนึงนามว่า เฉิงเหมี่ยว(程邈) ประดิษฐ์อักษรชุดหนึ่ง ซึ่งภายหลังอักษรนี้ถูกใช้คู่กับเสี่ยวจ้วนในสมัยราชวงศ์ฉิน และเป็นแบบอักษรมาตรฐานในสมัยราชวงศ์ฮั่น(漢)จนถึงยุคสามก๊ก(三國) อักษรชุดใหม่ที่ทาสผู้นี้ประดิษฐ์เรียกว่า ลี่ซู(隸書) อักษรลี่ซูพบหลักฐานตั้งแต่สมัยจ้านกั๋ว แต่พบไม่มาก ต่อมาเฉิงเหมี่ยวประดิษฐ์อักษรชุดนี้เพิ่มจนเป็นอักษรที่ใช้คู่กับอักษรเสี่ยวจ้วนของเสนาบดีหลี่ซือ
 
หลังจากราชวงศ์ฉินถูกโค่นโดย[[หลิวปัง]](劉邦) หลิวปังก่อตั้ง[[ราชวงศ์ฮั่น]] อักษรลี่ซูที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ฉินเป็นอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้ในยุคราชวงศ์ฮั่นจนถึงยุค[[สามก๊ก]]
[[File:Kangxi Dictionary 1827.JPG|right|thumb|[[พจนานุกรมคังซี]]]]
ต่อมาอักษรลี่ซูได้พัฒนาไปเป็น [[อักษรข่ายซู]] ซึ่งเป็นอักษรแบบเส้นสัญลักษณ์ที่ประกอบกันขึ้น ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยม หลุดพ้นจากรูปแบบอักษรภาพของตัวอักขระยุคโบราณอย่างสิ้นเชิง
อักษรข่ายซูมีต้นกำเนิดในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภายหลังราชวงศ์วุ่ยจิ้น (สามก๊ก) (คริสตศักราช 220 – 316) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากการก้าวเข้าสู่ขอบเขตขั้นก้าวพ้นจากข้อจำกัดของลายเส้นที่มาจากการแกะสลัก เมื่อถึง[[ราชวงศ์ถัง]] (คริสตศักราช 618 – 907) จึงก้าวสู่ยุคทองของอักษรข่ายซูอย่างแท้จริง อักษรข่ายซูยังเป็นอักษรมาตรฐานของอักษรจีนจวบจนปัจจุบัน
 
ในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีการรวบรวมแบบอักษรจีนดั้งเดิมที่สืบมาจากอักษรข่ายซูไว้ใน '''[[สารานุกรมหย่งเล่อ]]''' ที่จดบันทึกเกี่ยวกับศาสตร์วิชาต่างๆ จนถึงสมัย[[ราชวงศ์ชิง]] ในรัชสมัย[[จักรพรรดิคังซี]] ได้มีการทำพจนานุกรมรวบรวมอักษรจีนขึ้นอย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่า '''[[พจนานุกรมคังซี]]''' อักษรจีนได้สืบทอดการใช้จนมาถึงยุค[[สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)|สาธารณรัฐจีนสมัยแผ่นดินใหญ่]] ได้ใช้เป็นอักษรทางการหรือเรียกว่า '''อักษรจีนตัวเต็ม''' การใช้อักษรจีนตัวเต็มอย่างเป็นทางการได้ยุติลงเมื่อรัฐบาล[[พรรคก๊กมินตั๋ง]]แห่งสาธารณรัฐจีนแพ้[[สงครามกลางเมืองจีน]] ทำให้[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]]ปกครองแผ่นดินใหญ่แทนและสถาปนา[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ชึ้น ในยุครัฐบาลคอมมิวนิสต์ไดเประกาศใช้ตัว[[อักษรจีนตัวย่อ]]ที่เตรียมมา ส่วนฝ่ายสาธารณรัฐจีนที่ไปไต้หวันก็ยังคงรักษารูปแบบอักษรจีนตัวเต็มไว้เป็นอักษรทางการและต่อต้านการใช้อักษรจีนตัวย่อ
== ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเรียกชื่อ ==
ชาวจีนแต่ละที่จะเรียกชื่ออักษรจีนตัวเต็มนี้ต่างกัน รัฐบาล[[สาธารณรัฐจีน]] หรือ[[ไต้หวัน]] เรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ''ตัวอักษรมาตรฐาน'' (อักษรจีนตัวเต็ม: 正體字; [[อักษรจีนตัวย่อ]]: 正体字; [[พินอิน]]: zhèngtǐzì ''เจิ้งถี่จื้อ'') โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มเป็นอักษรดั้งเดิมที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้ใช้[[อักษรจีนตัวย่อ]] จะเรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ''ตัวอักษรซับซ้อน'' (อักษรจีนตัวเต็ม: 繁體字; [[อักษรจีนตัวย่อ]]: 繁体字; [[พินอิน]]: fántǐzì ''ฝานถี่จื้อ'') หรือเรียกว่า ''ตัวอักษรเก่า'' (老字; [[พินอิน]]: lǎozì ''เหล่าจื้อ'') โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มถูกแทนที่แล้ว และไม่ได้นำมาใช้อีก