ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาชญากรรมสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวล[[กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ]]ที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่าง[[รัฐอธิปไตย]] การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่[[ประมวลกฎหมายลีแบร์]]ในสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 1863 และในระดับนานาชาติ เช่น การตกลงรับสนธิสัญญาใน[[อนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1899 และ 1907]] นอกจากนี้ การพิจารณาคดีในศาลระดับชาติ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ยังช่วยสร้างความกระจ่างให้แก่กฎหมายเหล่านี้<ref name="Cassese"/> ครั้นสิ้น[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามยิ่งมีพัฒนาการสำคัญ การพิจารณาคดีมากมายเกี่ยวกับอาชญากรสงครามของ[[ฝ่ายอักษะ]]นั้นส่งผลให้เกิด[[หลักการเนือร์นแบร์ก]]ซึ่งวางข้อความคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามอย่างใดจะกลายเป็น[[กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ|ความผิดอาญาในระดับโลก]] นอกจากนี้ เมื่อมี[[อนุสัญญาเจนีวา]]ใน ค.ศ. 1949 สนธิสัญญาฉบับบนี้ได้ให้นิยามใหม่เกี่ยวกับอาชญากรรมสงคราม และกำหนดให้รัฐทั้งหลายมี[[เขตอำนาจสากล]]ในการดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าว<ref name="Cassese"/> ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นหลายแห่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการกำหนดรูปแบบอาชญากรรมสงครามเพิ่มเติมให้ครอบคลุม[[การขัดกันด้วยอาวุธ]]ประเภทอื่น ๆ เช่น [[สงครามกลางเมือง]] นอกเหนือไปจากการสู้รบกันระหว่างรัฐกับรัฐ<ref name="Cassese"/>
 
 
== อาชญากรสงครามในประเทศไทย ==
เส้น 21 ⟶ 20:
* [[อาชญากรรมสงครามโดยสหภาพโซเวียต]]
* [[อาชญากรรมสงครามโดยสหรัฐ]]
 
 
== อ้างอิง ==