ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิโกลัส มาดูโร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nomedizas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nomedizas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
 
หลังชาเบซถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 มาดูโรสืบทอดอำนาจและความรับผิดชอบในตำแหน่งประธานาธิบดี มีการจัดการเลือกตั้งพิเศษขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน เพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งมาดูโรชนะด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 50.62 ในฐานะผู้สมัครจากสหพรรคสังคมนิยม คู่แข่งหลักของเขาในการเลือกตั้ง คือ เอนริเก กาปริเลส (Henrique Capriles) ผู้ว่าการ[[รัฐมีรันดา]] ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการเถลิงอำนาจและการเลือกตั้งเขาเข้ารับตำแหน่งถูกฝ่ายค้านตั้งคำถาม<ref name=guardian.co.uk>{{cite web |title=Venezuelan opposition challenges Nicolás Maduro's legitimacy |url=http://www.guardian.co.uk/world/2013/mar/09/venezuela-maduro-challenge |publisher=The Guardian |date=9 March 2013 |author1=Carroll, Rory |author2=Lopez, Virginia}}</ref><ref name=bbc.co.uk>{{cite web |title=Venezuela poll: Maduro opponent Capriles demands recount |url=http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-22153667#FBM227248|publisher=BBC News |date=15 April 2013 }}</ref>
 
แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้มาดูโรสละตำแหน่งประธานาธิบดีหลังครบวาระแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 แต่เขาก็สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ในพิธีที่ดำเนินการโดยศาลยุติธรรมสูงสุดแห่งเวเนซุเอลา ส่งผลให้มีการตำหนิติเตียนอย่างกว้างขวาง ไม่กี่นาทีหลังจากมาดูโรสาบานตน สภาถาวรแห่ง[[องค์การรัฐอเมริกา]]ได้ผ่านมติในสมัยประชุมวิสามัญ ประกาศให้มาดูโรเป็นประธานาธิบดีของเวเนซุเอลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่<ref name=":7">{{cite news|last=|first=|title=La OEA aprobó la resolución que declara ilegítimo al nuevo gobierno de Nicolás Maduro|url=https://www.infobae.com/america/venezuela/2019/01/10/en-vivo-la-oea-debate-en-sesion-extraordinaria-la-asuncion-de-nicolas-maduro/|date=10 January 2019|accessdate=|work=Infobae|location=|page=|number=}}</ref> สภานิติบัญญัติแห่งชาติระบุว่าประเทศกำลังเผชิญ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]และบางชาติได้ถอนคณะทูตของตนออกจากเวเนซุเอลา ด้วยความเชื่อว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม สภานิติบัญญัติอ้างว่ามาดูโรจะเปลี่ยนเวเนซุเอลาเป็นรัฐเผด็จการ[[โดยพฤตินัย]]หากเขาขึ้นครองอำนาจอีกครั้ง<ref>{{cite news|url=https://www.reuters.com/article/us-venezuela-politics/venezuelas-maduro-starts-new-term-as-u-s-decries-him-as-usurper-idUSKCN1P40DH?il=0|newspaper=Reuters|title=Venezuela's Maduro starts new term, as US describes him as "usurper"|accessdate=10 January 2019|date=10 January 2019}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.el-nacional.com/noticias/mundo/alemania-apoya-para-que-asuma-poder_265634|title=Alemania apoya para que asuma poder|trans-title=Germany supports Assembly taking power off Maduro|website=El Nacional|accessdate=10 January 2019|date=9 January 2019}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.aljazeera.com/news/2019/01/peru-paraguay-recall-diplomats-maduro-inauguration-190110180310100.html|title=Peru, Paraguay, etc. recall diplomats after Maduro inauguration|website=Al Jazeera|accessdate=10 January 2019}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.asambleanacional.gob.ve/noticias/_an-se-declara-en-emergencia-ante-la-usurpacion-de-nicolas-maduro-en-el-cargo-de-la-presidencia-de-la|title=National Assembly declares State of Emergency with the usurpation of Maduro as President|website=Asamblea Nacional|accessdate=10 January 2019}}</ref>
 
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 [[ฮวน กวยโด]] ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับการประกาศให้เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวโดยสภานั้น เขาได้รับการรับรองทันทีในฐานะประธานาธิบดีชอบด้วยกฎหมายจากชาติและองค์การต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสหรัฐ บราซิล และองค์การรัฐอเมริกา มาดูโรคัดค้านการอ้างเป็นประธานาธิบดีของกวยโดและประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับหลายชาติที่รับรองการอ้างดังกล่าว<ref>{{Cite news|url=https://www.bbc.com/news/world-latin-america-46980913|title=US says it now backs Venezuela opposition|last=|first=|date=2019-01-24|work=BBC News|access-date=2019-01-24|language=en-GB}}</ref>
 
== อ้างอิง ==