ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Soponwit Sangsai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
จอมเปลี่ยนทาง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 202:
 
== ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ==
ได้มีการนำพระราชประวัติของพระองค์มาสร้างเป็นภาพยนตร์ 3 ครั้ง ครั้งแรก ใช้ชื่อว่า ''[[นเรศวรมหาราช]]'' ในปี [[พ.ศ. 2500]] ครั้งที่ 2 ใช้ชื่อว่า ''[[มหาราชดำ]]'' ในปี [[พ.ศ. 2522]]<ref>[http://www.siamzone.com/movie/m/117 มหาราชดำ] siamzone.com</ref> และครั้งที่ 3 ใช้ชื่อว่า ''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]'' ในปี [[พ.ศ. 2550]]<ref>[http://www.thaicinema.org/kit28nare.asp ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช]</ref> เช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่อง ''กษัตริยา'' ควบคู่กับ ''มหาราชกู้แผ่นดิน'' ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] มีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ใน [[พ.ศ. 2542]] โดยบริษัท กันตนา จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ ออกฉายทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5]] ในช่วงปี [[พ.ศ. 2545]] ถึง [[พ.ศ. 2546]]<ref>[http://movie.sanook.com/drama/drama_06128.php กษัตริยา] movie.sanook.com</ref>
 
พระราชประวัติของพระองค์ยังได้มีการนำไปสร้างเป็นละครเรื่องโทรทัศน์ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ชื่อว่า ''[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ละครโทรทัศน์)|สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]'' เมื่อ [[พ.ศ. 2530]] ออกอากาศทาง[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] และได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำในปีนั้นถึง 5 รางวัล ภายหลังมีการนำละครเรื่องนี้มาฉายใหม่ทางช่อง [[สทท.11]] อีกครั้ง (ประมาณ พ.ศ. 2540) และครั้งที่ 2 ใช้ชื่อว่า ''[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์]]'' เมื่อ พ.ศ. 2560 ออกอากาศทาง[[โมโน 29]] ซึ่งเรื่องนี้ถ่ายทำเป็นรูปแบบของซีรีส์ และได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำในปี พ.ศ. 2560 จากการออกอากาศใน[[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา|ฤดูกาลแรก]]<ref>[https://pantip.com/topic/37437506 เปิดรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่32 ประจำปี 2561 - Pantip]</ref> เช่นเดียวกับการนำไปสร้างเป็นหนังสือการ์ตูนอยู่หลายครั้ง เช่น ''[[มหากาพย์กู้แผ่นดิน]]'' ผลงานของ[[มนตรี คุ้มเรือน]] เป็นต้น<ref>มนตรี คุ้มเรือน. '''มหากาพย์กู้แผ่นดิน บทอวสาน: มหาสงครามยุทธหัตถี'''. กรุงเทพฯ : คลีเนทีฟ, 2550. ISBN 978-974-06-5407-0</ref>
 
[[ไม้ เมืองเดิม]] ได้นำเหตุการณ์ในสมัยนี้ไปใช้เป็นฉากในนวนิยายเรื่อง [[ขุนศึก (นวนิยาย)|ขุนศึก]] ซึ่งตัวเอกของเรื่องคือ เสมา ทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรซึ่งมีชาติกำเนิดเป็นช่างตีเหล็ก นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เช่นกัน<ref>[http://www.siamzone.com/movie/m/1394 ขุนศึก] siamzone.com</ref>