ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12:
 
| image1 = [[ไฟล์:Chatchai.jpg|150px]]
| leader1 = [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พลตรีเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]]
| party1 = พรรคชาติไทย
| party_colour1 = red
บรรทัด 100:
| before_election = [[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]]
| before_party =
| after_election = [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พลตรีเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]]
| after_party = พรรคชาติไทย
}}
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531''' ถือเป็น '''การเลือกตั้งครั้งที่ 17 ของประเทศไทย''' โดยเกิดจากการที่ พลเอก [[เปรม ติณสูลานนท์]] ได้ตรา[[ยุบสภา|พระราชกฤษฎีกายุบสภา]]เมื่อวันที่ [[29 เมษายน]] [[พ.ศ. 2531]] อันเนื่องจาก[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44 ของไทย|รัฐบาล]]มีความขัดแย้งกันเอง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ [[24 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน
 
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า [[พรรคชาติไทย]] โดย พลตรีเอก [[ชาติชาย ชุณหะวัณ]] หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเสียง 87 ที่นั่ง รองลงไปคือ [[พรรคกิจสังคม]] มี 54 ที่นั่ง และ[[พรรคประชาธิปัตย์]] 48 ที่นั่ง ซึ่งไม่มี[[พรรคการเมือง]]ใดได้รับเสียงเกินครึ่งของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] ที่มีทั้งหมด 357 เสียง<ref>[http://www.democrat.or.th/th/about/history/ ประวัติพรรคประชาธิปัตย์]</ref>
 
แกนนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับแรก 5 พรรคประกอบไปด้วย '''ชาติไทย''' , '''กิจสังคม''' , '''ประชาธิปัตย์''' , '''รวมไทย''' และ '''ประชากรไทย''' ได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า พล.อ.เปรม มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ จึงเข้าพบกับ พล.อ.เปรม ถึง[[บ้านสี่เสาเทเวศร์]] ซึ่งเป็นบ้านพัก ในเวลาค่ำของวันที่ [[27 กรกฎาคม]] แต่ พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อ โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลารวมทั้งหมด 8 ปี 5 เดือน ที่ตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเพียงพอแล้ว อีกทั้งบ้านเมืองก็มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับที่น่าพึงพอใจ พล..ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ [[4 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ [[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 45 ของไทย|คณะรัฐมนตรี]] เมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน
 
ในส่วนของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[สภาองคมนตรีไทย|องคมนตรี]] ในเวลาต่อมาไม่นาน