ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศเวลส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 64:
เวลส์มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับ[[ประเทศอังกฤษ]] ทิศเหนือและทิศตะวันตกอยู่ติดกับ[[ทะเลไอริช]] ส่วนทางทิศใต้ติดกับ[[ช่องแคบบริสตอล]] จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2011 ประเทศเวลส์มีประชากร 3,063,456 คน และมีพื้นที่ทั้งหมด 20,799 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาว 2,700 กิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยมีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือภูเขาสโนว์ดอน ({{lang-en|Snowdon}}; ''Yr Wyddfa'') ที่มี[[ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล]]มากถึง 1,085 เมตร นับเป็นหนึ่งในภูเขาที่สูงที่สุดในหมู่เกาะ[[บริติชไอลส์]] บริเวณพื้นที่ราบและส่วนที่ประชากรอาศัยหนาแน่นอยู่ทางตอนใต้ มีสภาพ[[ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร]]
 
ความเป็นชนชาติของเวลส์เริ่มจากชาวบริตันเคลต์ (Celtic Briton) โดยหลังจาก[[จักรวรรดิโรมัน]]ได้ถอนตัวออกไปจากการยึดครองเกาะบริเตนในราวศตวรรษที่ 5 ทำให้เวลส์กลายมาเป็นหนึ่งใน 6 ของ[[กลุ่มชาติเคลติก]]สมัยใหม่ ({{lang-en|Celtic Nations}}) ได้แก่บริทานี, คอร์นวอลล์, [[ไอล์ออฟแมน]], [[ไอร์แลนด์]], เวลส์ และ[[สก๊อตแลนด์]]

ในปีเดือนธันวาคม ค.ศ. 1282 เวลส์และอังกฤษ ได้สู้รบกันในยุทธการที่โอเรวินบริดจ์ (Battle of Orewin Bridge) โดยเจ้าชายรเวลิน อัพ กรีฟีส ({{lang-cy|Llywelyn ap Gruffudd}})
ซึ่งเป็นเจ้าชายองค์สุดท้ายของเวลส์ และเป็นหลานชายของพระเจ้า[[รเวลินมหาราช]] และพระประมุของค์สุดท้ายได้ถูกสังหารโดยสตีเฟน เดอ แฟรงตัน ทหารม้าของเวลส์สิ้นพระชนม์ลงฝ่ายอังกฤษ ทำให้[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ]]สามารถพิชิตเวลส์ได้อย่างราบคาบ

ในตอนต้นศตวรรษที่ 15 เวลส์กลับมามีอิสรภาพได้ชั่วขณะภายใต้การนำของ[[โอเวน กลินดอร์]] (Owain Glyndwr) แต่ก็ตกกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีก และถูกผนวกเข้ามาเป็นแผ่นดินเดียว และภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกับอังกฤษ โดยการออกพระราชบัญญัติ ''Laws in Wales Acts 1535 and 1542.'' การเมืองที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของเวลส์เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 อุดมการณ์เสรีนิยมแบบเวลส์ซึ่งมีอิทธิพลในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ถูกแทนที่ด้วยการขยายตัวของอุดมการณ์สังคมนิยม และ[[พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)|พรรคแรงงาน]] ความรู้สึกทางชาตินิยมของเวลส์ถูกปลุกให้ฟื้นขึ้นมาในศตวรรษนี้เอง. ''[[ไพลด์คัมรี]]'' ({{lang-cy|Plaid Cymru}}) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1925 และมีการจัดตั้ง "สมาคมภาษาเวลส์" ขึ้นต่อมาในปี ค.ศ. 1962 เพื่อฟื้นฟูภาษาถิ่นที่กำลังจะสูญหายไปของเวลส์. สมัชชาแห่งชาติเวลส์ (National Assembly for Walses) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1998 โดย Government of Wales Act 1998 โดยมีความรับผิดชอบในการสร้างและดำเนินนโยบายที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจมาจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร
 
คำว่า [[ราชรัฐเวลส์]] ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 1825]] (ค.ศ. 1282) โดย[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ]]ทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจาก[[คายร์นาร์วอน]] (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่[[คาร์ดิฟฟ์]]ในปี [[พ.ศ. 2498]] (ค.ศ. 1955)