ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
The Royal Lineage (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ตำแหน่งในราชการ: เพิ่มตำแหน่งนายกสมาคม รยสท. ท่านที่ 9 ระหว่าง พ.ศ.2493-2499
The Royal Lineage (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 49:
ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 ขณะอายุได้ 31 ปี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาประสิทธิ์ศุภการ ขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฎว่า "เจ้าพระยารามราฆพ พัชรพัลลภมหาสวามิภักดิ์ สมัครพลวโรปนายก สุรเสวกวิศิษฏ์คุณ พึ่งบุญพงศ์บริพัตร นฤปรัตนราชสุปรีย์ ศรีรัตนไตรสรณธาดา เมตตาภิรัตมัทวสมาจาร สัตยวิธานอาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ คชนาม" มีศักดินา 10000 ไร่ ได้รับพระบรมราชโองการต่อจาก[[เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)]] และก่อน[[เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร)]] กล่าวกันว่าเจ้าพระยารามราฆพเป็นเจ้าพระยาที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแต่งตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์
 
=== ตำแหน่งในราชการ และความสำคัญอื่นๆ ===
* ผู้สำเร็จราชการ[[มหาดเล็ก]]
* องคมนตรี
บรรทัด 68:
* สภานายกและกรรมการคณะ[[สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์|ฟุตบอลแห่งสยาม]]<ref>http://www.siamfootball.com/index.php/2-uncategorised/66-2017-07-30-11-28-45</ref>
* สภานายก[[ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์|ราชตฤณมัย]] แห่งสยาม
* นายกสมาคมราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์<ref>http://www.raat.or.th/raat/?page_id=304&lang=th</ref>
 
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว เจ้าพระยารามราฆพ จึงออกไปศึกษาต่อที่[[ประเทศอังกฤษ]] จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงพ.ศ. 2477 จึงเดินทางกลับประเทศไทย ได้พำนักอยู่ที่บ้านบุญญาศรัย ถนนราชดำริ 1 ปี จึงมาพำนักที่[[ทำเนียบรัฐบาลไทย|บ้านนรสิงห์]] ถึงปี พ.ศ. 2484 ขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล แล้วย้ายไปพำนักที่บ้านท่าเกษม ตำบลบางขุนพรหม ถึงปี พ.ศ. 2505 จึงขายบ้านท่าเกษมให้กับ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] (เป็นโรงพิมพ์ธนบัตร ในปัจจุบันนี้) ท้ายที่สุด ใน[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|รัชกาลที่ 9]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านให้พำนัก ที่ถนนเจริญนคร ฝั่งธนบุรี ท่านขนานนามบ้านนี้ว่า "บ้านพระขรรค์ชัยศรี" และพำนัก ณ ที่นี้จนถึงอสัญกรรม